พบผลลัพธ์ทั้งหมด 82 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ซื้อผิดสัญญาซื้อขายแป้ง ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำและเรียกค่าเสียหายพิเศษได้
ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อแป้งจากผู้ขายโดยวางมัดจำไว้บางส่วนผู้ขายจึงได้วางมัดจำซื้อแป้งจากบุคคลภายนอกต่อมาผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ซื้อแป้งจากผู้ขาย ผู้ขายย่อมมีสิทธิริบมัดจำเสียทั้งยังเรียกร้องให้ผู้ซื้อใช้เงินทดแทนตามจำนวนที่ผู้ขายได้ถูกบุคคลภายนอกริบเงินมัดจำไปด้วยได้โดยถือว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษทั้งนี้ในเมื่อเป็นพฤติการณ์ที่ผู้ซื้อพึงคาดเห็นล่วงหน้าได้แล้ว
การที่ผู้ซื้อไม่ซื้อแป้งทำให้แป้งเสื่อมคุณภาพต้องขายไปในราคาถูกก็ดีการที่ผู้ขายต้องขาดกำไรที่จะพึงได้จากการขายแป้งก็ดีเหล่านี้เป็นค่าเสียหายตามปกติ
การที่ผู้ซื้อไม่ซื้อแป้งทำให้แป้งเสื่อมคุณภาพต้องขายไปในราคาถูกก็ดีการที่ผู้ขายต้องขาดกำไรที่จะพึงได้จากการขายแป้งก็ดีเหล่านี้เป็นค่าเสียหายตามปกติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมด้วยวาจาต้องแจ้งโดยมิชักช้า หากแจ้งล่าช้าและไม่มีเหตุผลพิเศษ ศาลไม่ถือเป็นพินัยกรรมโดยชอบ
เจ้ามรดกเจ็บครรภ์จะคลอดบุตร นั่งรถ 3 ล้อไปโรงพยาบาล ในระหว่างทางเจ้ามรดกสั่งพยานที่ไปส่งด้วยว่า ถ้าเป็นอะไรให้ยกทรัพย์ให้จำเลย แล้วต่อมาเจ้ามรดกก็ตายที่โรงพยาบาลพยานเพิ่งนำความไปแจ้งแก่กรมการอำเภอภายหลังที่สั่งไว้ถึง 8 วัน ทั้งที่บ้านพยานก็อยู่ใกล้อำเภอเช่นนี้ จะปรับเข้าตามมาตรา 1663 แห่ง ป.ม.แพ่งไม่ได้ เพราะไม่มีเหตุผลที่จะถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษซึ่งเจ้ามรดกไม่สามารถทำพินัยกรรมได้ประการหนึ่ง และเป็นการขัดกับความในววค 3 แห่ง มาตรา 1663 ที่บัญญัติว่า ให้ไปแจ้งโดยมิชักช้า จึงจะถือเป็นนิติกรรมโดยชอบไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163-164/2486
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์โดยไม่วางค่าธรรมเนียม และการขอผัดวางค่าธรรมเนียม
ยื่นฟ้องอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมกับฟ้องอุทธรณ์ เมื่อจะขอผัดต้องยื่นเป็นคำร้องไม่ใช่คำแถลง
ศาลย่อมมีอำนาจที่จะขยายหรือย่นระยะเวลาให้วางค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลย่อมมีอำนาจที่จะขยายหรือย่นระยะเวลาให้วางค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ ในเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษตามมาตรา 23 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอัตราแลกเปลี่ยน: ความคาดเห็นพฤติการณ์พิเศษขณะทำสัญญา
ทำสัญญาซื้อของกันโดยตกลงราคากันเป็นเงินบาทสยามผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระราคาตามกำหนดจนอัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลงไปเงินบาทสยามแลกเงินเหรียญอเมริกันได้น้อยกว่าอัตราเดิม ค่าเสียหายของผู้ขายเนื่องแต่อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นค่าเสียหายพิเศษตาม ประมวลแพ่งฯ ม. 222 วรรค 2 ค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษจะเรียกร้องกันได้ต่อเมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นในขณะทำสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8310/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: ศาลชั้นต้นมีอำนาจวินิจฉัยพฤติการณ์พิเศษ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยซ้ำ
คำร้องขอขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นคำร้องขอขยายเวลาในกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ได้ และได้อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ออกไปตามคำร้องของจำเลยทั้งสอง ซึ่งเป็นการปฏิบัติไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้อำนาจศาลชั้นต้นในการดำเนินการอนุญาตเช่นนั้นได้ เมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาดังกล่าว ประเด็นปัญหาดังกล่าวจึงต้องยุติไปตามคำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยลำพังได้ว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะสั่งให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ดังนั้น อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นภายในกำหนดระยะเวลา ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะต้องรับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7158-7159/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกัน ศาลพิจารณาความสุจริตและพฤติการณ์พิเศษในการใช้เครื่องหมายการค้า
ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากภาพรวมของลักษณะเครื่องหมายการค้าทั้งสองทั้งหมด ลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้า และสำเนียงเรียกขานคำในเครื่องหมายการค้าทั้งสองว่าเหมือนกันหรือคล้ายกันเพียงใด ตลอดจนต้องพิจารณาว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าทั้งสองเป็นสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกที่มีลักษณะอย่างเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ ไม่อาจพิจารณาเฉพาะภาคส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าทั้งสองโดยไม่พิจารณาคำว่า "VALENTINO" ที่จำเลยร่วมได้แสดงปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิในคำนี้เป็นของตนแต่ผู้เดียว เพราะการที่จำเลยร่วมปฏิเสธไม่ขอถือสิทธิในคำว่า "VALENTINO" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมเป็นของตนแต่ผู้เดียวนั้นมีผลเพียงไม่อาจห้ามผู้อื่นมิให้ใช้คำว่า "VALENTINO" เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าได้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้คำว่า "VALENTINO" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วมกลายเป็นคำที่มิได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง
แม้ว่ารายการสินค้าของโจทก์และจำเลยร่วมจะเป็นสินค้าคนละชนิดกัน แต่อยู่ในรายการสินค้าจำพวกที่ 21 เช่นเดียวกัน เพียงแต่เป็นสินค้าอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องครัวกับเป็นสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ จึงเป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือนเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันเพราะผู้ใช้เป็นบุคคลในครัวเรือนกลุ่มเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะการวางตัวอักษร "V" และคำว่า "Valentino" คล้ายกันมาก ส่วนการประดิษฐ์ตัวอักษร "V" แม้จะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเพราะยังคงอ่านได้ว่า "วี" เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า "วี วาเลนติโน่ รูดี้" ส่วนของจำเลยร่วมเรียกขานได้ว่า "วี วาเลนติโน่" ตัวอักษร "V" และคำว่า "Valentino" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วมเป็นส่วนอันเป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เมื่อใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมแล้ว หากคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ขอจดทะเบียนต่อไปว่าสมควรจะรับจดทะเบียนหรือไม่ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ นั้นว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาแล้วโดยสุจริตหรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนสมควรรับจดทะเบียนหรือไม่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เท่านั้น เพราะมาตรา 13 อยู่ในบังคับของมาตรา 27 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่อาจพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ขอจดทะเบียนว่าหลักฐานนั้นยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาเป็นเวลานานหรือมีความแพร่หลายทั่วไปแล้วในประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปได้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการพิจารณาลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ไม่เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 13 และ 27
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 กรณี ดังนี้คือ หากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นต่างคนต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตกรณีหนึ่ง หรือหากนายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียนอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งการที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละคนมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตนั้น ต้องเป็นกรณีที่ต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้น ส่วนกรณีมีพฤติการณ์พิเศษก็ต้องเป็นกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าที่ระบุในคำขอจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นการใช้กับตัวสินค้าหรือเป็นการใช้โดยโฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการคุ้มครองแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องเป็นไปตามหลักดินแดน กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนภายในอาณาเขตประเทศไทยด้วย ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและได้รับความคุ้มครอง
แม้ว่ารายการสินค้าของโจทก์และจำเลยร่วมจะเป็นสินค้าคนละชนิดกัน แต่อยู่ในรายการสินค้าจำพวกที่ 21 เช่นเดียวกัน เพียงแต่เป็นสินค้าอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องครัวกับเป็นสินค้าเครื่องสุขภัณฑ์ที่ใช้ในห้องน้ำ จึงเป็นสินค้าที่ใช้ในครัวเรือนเช่นเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกันเพราะผู้ใช้เป็นบุคคลในครัวเรือนกลุ่มเดียวกัน เครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะการวางตัวอักษร "V" และคำว่า "Valentino" คล้ายกันมาก ส่วนการประดิษฐ์ตัวอักษร "V" แม้จะแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่เป็นความแตกต่างเพียงเล็กน้อยเพราะยังคงอ่านได้ว่า "วี" เหมือนกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เรียกขานได้ว่า "วี วาเลนติโน่ รูดี้" ส่วนของจำเลยร่วมเรียกขานได้ว่า "วี วาเลนติโน่" ตัวอักษร "V" และคำว่า "Valentino" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยร่วมเป็นส่วนอันเป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เมื่อใช้กับสินค้าในจำพวกเดียวกันที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13
เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมแล้ว หากคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ขอจดทะเบียนต่อไปว่าสมควรจะรับจดทะเบียนหรือไม่ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ นั้นว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาแล้วโดยสุจริตหรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียนสมควรรับจดทะเบียนหรือไม่ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 เท่านั้น เพราะมาตรา 13 อยู่ในบังคับของมาตรา 27 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่อาจพิจารณาหลักฐานต่าง ๆ ของผู้ขอจดทะเบียนว่าหลักฐานนั้นยังไม่เพียงพอที่จะแสดงว่าผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาเป็นเวลานานหรือมีความแพร่หลายทั่วไปแล้วในประเทศไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปได้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นการพิจารณาลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่ต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 8 (10) ไม่เกี่ยวกับการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 13 และ 27
ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 27 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าอาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งใน 2 กรณี ดังนี้คือ หากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นต่างคนต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตกรณีหนึ่ง หรือหากนายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียนอีกกรณีหนึ่ง ซึ่งการที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละคนมาแล้วด้วยกันโดยสุจริตนั้น ต้องเป็นกรณีที่ต่างคนต่างได้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้น ส่วนกรณีมีพฤติการณ์พิเศษก็ต้องเป็นกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ยื่นคำขอจดทะเบียนกับสินค้าที่ระบุในคำขอจดทะเบียนไม่ว่าจะเป็นการใช้กับตัวสินค้าหรือเป็นการใช้โดยโฆษณาสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทยมาก่อนที่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันนั้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะการคุ้มครองแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต้องเป็นไปตามหลักดินแดน กล่าวคือ ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าต้องได้ใช้เครื่องหมายการค้าของตนภายในอาณาเขตประเทศไทยด้วย ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจึงจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นและได้รับความคุ้มครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7568/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายระยะเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามพฤติการณ์พิเศษ แม้ไม่ครบตามที่ขอ
การสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 เป็นอำนาจของศาลที่จะกำหนดเพียงใดก็ได้ตามที่ศาลจะเห็นสมควร ทั้งกฎหมายมิได้บังคับว่า ศาลต้องอนุญาตเท่ากับจำนวนวันที่คู่ความร้องขอเสมอไปและไม่จำต้องให้เหตุผลของการอนุญาตหรือไม่อนุญาตอีกด้วย เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกเป็นเวลา 30 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ซึ่งครบวันที่ 29 ธันวาคม 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายได้ถึงวันที่ 12 มกราคม 2546 เป็นเวลาเพียง 14 วัน นับแต่วันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ แม้ไม่ครบ 30 วัน ตามที่โจทก์ขอและศาลชั้นต้นไม่ได้ให้เหตุผลที่อนุญาตไม่ครบจำนวนตามที่โจทก์ขอไว้ก็ตามแต่ก็เป็นการสั่งภายในขอบเขตและหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติมาตรา 23 ดังกล่าว หาเป็นการขัดหรือฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอย่างใดไม่ แต่เจ้าพนักงานศาลกลับแจ้งแก่โจทก์ว่า ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่โจทก์ขอและนัดโจทก์มารับเอกสารที่ขอคัดถ่ายในวันที่ 14 มกราคม 2546 โจทก์จึงทำอุทธรณ์มายื่นในวันที่ 28 มกราคม 2546 กรณีจึงมีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุผลสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีก 16 วัน ตามที่โจทก์มีคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5793/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีอาญา: พฤติการณ์พิเศษและการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 4 โดยอ้างเหตุเดียวกันว่า ขอถ่ายสำเนาคำพิพากษารวมทั้งบรรดาสรรพเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาและสั่งสำนวนในชั้นอุทธรณ์ แต่ยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสาร และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์เพราะเหตุดังกล่าวทั้งสี่ครั้งเป็นเวลานานถึง 5 เดือนก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำสั่งของศาลชั้นต้นในคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ ครั้งที่ 4 ฉบับลงวันที่ 9 เมษายน 2552 ว่า คำพิพากษาจัดพิมพ์เสร็จแล้ว แสดงว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจัดพิมพ์เสร็จก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 แม้โจทก์จะมีระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 จนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 ก็ตาม แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นยกฟ้อง หากโจทก์ในฐานะพนักงานอัยการจะไม่ยื่นอุทธรณ์ต้องส่งสำนวนและคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรณีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีความเห็นแย้งให้ส่งสำนวนและความเห็นไปให้อัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 145 อันเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ซึ่งสอดคล้องกับเหตุผลตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 ของโจทก์ที่ว่า เสนอสำนวนให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณา แต่ยังไม่ทราบผลการพิจารณา ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 5 โดยเพิ่งอ้างเหตุดังกล่าว แสดงว่า เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำพิพากษาและสรรพเอกสารในสำนวนแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการเกี่ยวกับอุทธรณ์คดีนี้ตามกฎหมายทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15626/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานบอกเล่าและการพิสูจน์ความผิดฐานลักทรัพย์ โดยมีพฤติการณ์พิเศษและพยานหลักฐานสนับสนุน
พฤติการณ์การกระทำของจำเลยกับข้อเท็จจริงที่ได้จากเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมซึ่งกระทำการตามหน้าที่และไม่มีเหตุให้กลั่นแกล้งจำเลย น่าเชื่อว่าจะพิสูจน์ความจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามที่จะนำมารับฟังเป็นพยานแวดล้อมกรณี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (1)
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนและพยานหลักฐานอื่นของผู้เสียหายในการยืนยันตัวจำเลย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งโดยหลักต้องห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น และแม้จะเข้าข้อยกเว้น ในการรับฟัง ศาลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมาศาลและพร้อมที่จะเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ระหว่างรอการพิจารณาคดี มีญาติของจำเลยสองคนเข้าไปพูดคุยกับผู้เสียหาย จากนั้นผู้เสียหายออกไปจากศาลโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยานปากผู้เสียหาย การหลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความของผู้เสียหายน่าเชื่อว่าเพื่อช่วยเหลือจำเลย ถือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเอาผู้เสียหายมาเบิกความได้อันเป็นข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (2) และยังถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง
บันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนและพยานหลักฐานอื่นของผู้เสียหายในการยืนยันตัวจำเลย อันเป็นเพียงพยานบอกเล่าซึ่งโดยหลักต้องห้ามมิให้รับฟัง เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้น และแม้จะเข้าข้อยกเว้น ในการรับฟัง ศาลจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง แต่เมื่อปรากฏว่าผู้เสียหายมาศาลและพร้อมที่จะเข้าเบิกความเป็นพยานโจทก์ ระหว่างรอการพิจารณาคดี มีญาติของจำเลยสองคนเข้าไปพูดคุยกับผู้เสียหาย จากนั้นผู้เสียหายออกไปจากศาลโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบ ศาลชั้นต้นออกหมายจับผู้เสียหายเพื่อนำตัวมาเป็นพยานหลายนัด แต่ไม่ได้ตัวมาจนต้องงดสืบพยานปากผู้เสียหาย การหลบหนีและไม่ยอมมาเบิกความของผู้เสียหายน่าเชื่อว่าเพื่อช่วยเหลือจำเลย ถือเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นไม่อาจเอาผู้เสียหายมาเบิกความได้อันเป็นข้อยกเว้นให้ศาลรับฟังพยานบอกเล่าได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226/3 (2) และยังถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดี ศาลย่อมรับฟังพยานบอกเล่าดังกล่าวเพื่อลงโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 186/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: เหตุผลทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นพฤติการณ์พิเศษ
การที่ภาวะเศรษฐกิจราคาน้ำมันแพงทำให้แหล่งเงินที่จำเลยขอกู้และหยิบยืมไม่มีเงินให้จำเลย จึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะนำมาวางเป็นค่าฤชาธรรมเนียมศาลได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาการค้าระหว่าประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ศาลจะมีคำสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในการยื่นอุทธรณ์ได้