พบผลลัพธ์ทั้งหมด 380 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานและการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความและพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความโดยงดสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งถือว่าไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไป ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ ปรากฎว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 มิถุนายน 2533 โดยที่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2) แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 844/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาเนื่องจากจำเลยไม่ทราบที่อยู่ใหม่หลังขายบ้าน
จำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้องเพราะจำเลยขายบ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมให้แก่ ช.ไป และได้ย้ายไปอยู่บ้านของภรรยาแล้ว และไม่ได้รับการติดต่อจาก ช. เรื่องที่จำเลยถูกฟ้อง เนื่องจาก ช.ไม่ทราบที่อยู่ใหม่ของจำเลย และจำเลยไม่ได้ไปที่บ้านเดิมอีกเลย กรณีถือได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา
คำร้องของจำเลยระบุว่า การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์รวมทั้งคำบังคับ เนื่องจากโจทก์นำไปส่งที่บ้านที่จำเลยขายไปแล้ว ถือได้ว่าคำขอของจำเลยแสดงเหตุแห่งการล่าช้าอันเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจรู้ได้ ทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำร้องของจำเลยระบุว่า การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา เพราะจำเลยไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง หมายนัดสืบพยานโจทก์รวมทั้งคำบังคับ เนื่องจากโจทก์นำไปส่งที่บ้านที่จำเลยขายไปแล้ว ถือได้ว่าคำขอของจำเลยแสดงเหตุแห่งการล่าช้าอันเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือที่จำเลยไม่อาจรู้ได้ ทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลชั้นต้นลดโทษจำเลย และการพิจารณาคดีนอกเหนือจากการอุทธรณ์
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4502/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษคดีประมาท ผู้ตายมีส่วนประมาทหรือไม่ พิจารณาจากเหตุผลประกอบหลายประการ
การรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กฎหมายให้ศาลพิจารณาหลายเหตุ แม้เหตุที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่เป็นเหตุหนึ่งที่จะนำมาใช้ประกอบดุลพินิจว่าสมควรรอการลงโทษให้จำเลยหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีนี้ จำเลยกระทำผิดโดยประมาท มิได้เกิดจากเจตนาร้าย จำเลยมีอาชีพรับราชการเป็นอาจารย์ 1 ระดับ 4 มีฐานะที่จะเลี้ยงตัวและบุตรให้อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีเป็นเหตุอันสมควรที่จะรอการลงโทษจำเลยไว้ เมื่อมีเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวเพียงพอที่จะพิจารณารอการลงโทษให้จำเลยแล้ว คดีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยในปัญหาตามฎีกาของโจทก์ร่วมที่ว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่อีกแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาพยานหลักฐานในคดีตัวแทน จำหน่ายสินค้าคงเหลือ ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "จำเลยในฐานะตัวแทนมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินสดที่จำเลยในฐานะตัวแทนได้รับไว้ รวม 2 รายการ คือ ก.ลูกหนี้ 58,301.35 บาท " ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวในฟ้องว่ามีเงินสดจำนวนดังกล่าวอยู่ที่จำเลยแล้ว ส่วนรายการ "ข.สินค้าคงเหลือมีข้อความระบุว่า" ตลอดจนเงินสดตามบัญชีเงินสดดังกล่าวว่าด้วยลูกหนี้และสินค้าคงเหลือซึ่งท่านได้จำหน่ายไปหมดสิ้นแล้วจำนวน 116,189.30 บาท จำหน่ายสินค้าคงเหลือจำนวน116,189.30 บาท คืน" ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ยืนยันแล้วว่าจำเลยได้จำหน่ายสินค้าคงเหลือเป็นตัวเงินแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาเพียงจากสภาพคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า รายการในบัญชีเงินสดลูกหนี้และสินค้าคงเหลือในทางบัญชีย่อมหมายความว่าเป็นรายการที่บุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ค้างชำระอยู่ จำเลยยังหาได้รับเงินจากลูกหนี้ไม่จึงไม่มีเงินสดอยู่ในความครอบครองของจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด และพิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ โดยไม่พิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งกันก่อนถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกรณีมีเหตุย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบด้วย243(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3271/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ยื่นคำให้การ ต้องดำเนินการก่อนศาลมีคำพิพากษา หากมิได้ทำตาม จะเสียสิทธิ
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เป็นการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ก็มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว สิทธิในการอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันยุติ ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดพิจารณาคดีแรงงานและผลกระทบต่อฟ้องแย้ง: ศาลยังต้องพิจารณาฟ้องแย้งต่อไป
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ในคดีแรงงานนัดแรก ทนายจำเลยมาศาลส่วนโจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง ถือว่าโจทก์ขาดนัด-พิจารณา แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 201 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ให้ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์เสียจากสารบบความก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ จำเลยจึงมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องแย้งและโจทก์เดิมจึงตกเป็นจำเลยตามฟ้องแย้ง ต้องถือว่าโจทก์ตามฟ้องแย้งมาศาลแล้ว และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 บัญญัติว่า ถ้าได้ส่งหมายกำหนดวันนัดสืบพยานให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว จำเลยขาดนัดพิจารณา ให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา แล้วให้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีนั้นไปฝ่ายเดียว ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับแก่การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลแรงงานเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.โดยอนุโลม แม้การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีโจทก์อันทำให้ไม่มีคำฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวน-พิจารณาต่อไปก็ตาม แต่ก็ยังมีตัวโจทก์ที่ยังคงเป็นจำเลยของฟ้องแย้งอยู่ต่อไปจึงมีคู่ความครบถ้วนทั้งสองฝ่ายที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ ดังนี้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งจำหน่ายคดีทั้งหมด รวมทั้งคดีตามฟ้องแย้งของจำเลยออกเสียจากสารบบความเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และเขตอำนาจศาลในชั้นคุ้มครองชั่วคราว
แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 254 (2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 21 (3)
เรื่องเขตอำนาจศาลไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่าย-คดีออกจากสารบบความ คู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
เรื่องเขตอำนาจศาลไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องชี้ขาดในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่าย-คดีออกจากสารบบความ คู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานมีอาวุธปืนต้องพิจารณาอาวุธที่ใช้ในการกระทำผิด ไม่ใช่อาวุธที่ยึดได้ภายหลัง
อาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 3 เป็นอาวุธปืนคนละกระบอก กับที่จำเลยที่ 3 ใช้ในการกระทำผิดในวันเกิดเหตุ ซึ่งตามฟ้องโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนกระบอกที่ยึดได้นี้แต่อย่างใดจึงลงโทษจำเลยที่ 3 ฐานมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1592/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยยกเหตุผลใหม่ในชั้นฎีกา ซึ่งศาลอุทธรณ์ยังมิได้พิจารณา
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการพักอาศัยไม่มีเจตนาเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ลงโทษตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เท่านั้นส่วนในชั้นอุทธรณ์ จำเลยอุทธรณ์เป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยตามฟ้องมิใช่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ประกอบพาณิชยกรรม ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาที่ศาลอุทธรณ์มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยไว้ ถือไม่ได้ว่าฎีกาดังกล่าวเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย