พบผลลัพธ์ทั้งหมด 274 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่หลังขาดนัด และผลกระทบต่อคำพิพากษาเดิมและการจดทะเบียนสมรส
ในการไต่สวนขอพิจารณาใหม่ของจำเลยโจทก์ไม่คัดค้านการขอพิจารณาใหม่ศาลจึงมีคำสั่งงดการไต่สวนและมีคำสั่งว่าจำเลยไม่จงใจขาดนัดพิจารณาอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การถือว่าศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่แล้วคำพิพากษาและวิธีการบังคับคดีที่ดำเนินไปแล้วถือเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา209วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6976/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกและการขอพิจารณาคดีใหม่เมื่อไม่มีประเด็นพิพาท
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของ ซ.ผู้ตายเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทจึงไม่มีประเด็นที่พิพาท ในวันไต่สวนคำร้องผู้ร้องขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นอนุญาตและสั่งจำหน่ายคดีไม่ใช่กรณีศาลแสดงว่าผู้ร้องขาดนัดพิจารณาและมีคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาท ผู้ร้องจึงขอให้พิจารณาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 207 ไม่ได้ หลังจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องถอนคำร้องและจำหน่ายคดีแล้วผู้ร้องขอให้ศาลเรียก ร. เข้ามาในคดี และเรียกเอกสารในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1554/2535 ของศาลชั้นต้นมาประกอบการพิจารณาไม่ทำให้คดีนี้มีประเด็นที่พิพาทเพราะการถอนคำร้องลบล้างผลแห่งการยื่นคำร้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 เมื่อผู้ร้องถอนคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วจึงไม่มีคำร้องที่ผู้ร้องจะยกขึ้นมาขอพิจารณาใหม่ได้ แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องอาจยื่นคำร้องใหม่ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: ผลกระทบของการไม่ส่งหมายแจ้งนัดชี้สองสถาน และการพิจารณาคดีใหม่
จำเลยมิได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและคำขอนั้นมิได้โต้แย้งคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นอันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ส่งหมายแจ้งวันนัดชี้สองสถานให้จำเลยทราบซึ่งจะถือว่าจำเลยทราบวันนัดสืบพยานตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในวันชี้สองสถานไม่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาย่อมเป็นกรณีที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาอันเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัด: การคิดดอกเบี้ยทบต้นและการพิจารณาคดีใหม่
ตามระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน ข้อ 2 มีข้อความว่า การฝากเงินผู้ฝากต้องกรอกรายการลงในใบนำฝากตามแบบของธนาคาร ข้อ 6 มีข้อความว่าการถอนเงินต้องกระทำโดยใช้เช็คหรือเอกสารสั่งจ่ายอย่างอื่นที่ธนาคารอนุมัติให้ใช้ได้ ข้อ 11 มีข้อความว่า เมื่อธนาคารจ่ายเงินตามเช็คทั้ง ๆ ที่ยอดเงินในบัญชีมีไม่เพียงพอแล้ว ผู้ฝากตกลงและยินยอมใช้เงินส่วนที่ธนาคารจ่ายเกินบัญชีนั้นคืนให้ธนาคารพร้อมทั้งยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่ง-ประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารเรียกเก็บได้ในขณะนั้นนับแต่วันที่ธนาคารได้จ่ายเงินเป็นต้นไป ข้อ 17 มีข้อความว่า ธนาคารจะจัดส่งรายการเดินสะพัดของบัญชีเงินฝากไปยังผู้ฝากเดือนละครั้ง และข้อ 20 มีข้อความว่า ให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปปฏิบัติมาใช้บังคับถึงการฝากและถอนเงินตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันคดีนี้ด้วยและธนาคารยังได้สงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของผู้ฝากเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ธนาคารจะเห็นสมควร ตามคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน และระเบียบการเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวแสดงว่า นับแต่ที่จำเลยได้เปิดบัญชีเงินฝาก-กระแสรายวันกับโจทก์แล้ว โจทก์จำเลยตกลงให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีตามบัญชี-เงินฝากกระแสรายวันดังกล่าวสืบไปโดยจำเลยใช้ใบฝากเงินตามแบบของโจทก์ในการฝากเงิน และใช้เช็คในการเบิกถอนเงินจากบัญชีของจำเลย หากโจทก์จ่ายเงินตามเช็คไปทั้งที่เงินในบัญชีไม่เพียงพอ จำเลยก็ตกลงจะใช้เงินที่โจทก์จ่ายเกินบัญชีไปคืนให้โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาต นับแต่วันที่โจทก์จ่ายเงินเป็นต้นไป ทั้งนี้โดยโจทก์จะจัดส่งรายการเดินสะพัดทางบัญชีเงินฝากไปยังจำเลยเดือนละหนึ่งครั้งการฝากและการถอนเงินจากบัญชี-กระแสรายวันดังกล่าวนี้โจทก์จำเลยตกลงให้นำวิธีการและประเพณีอันเกี่ยวกับการดำเนินบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปถือปฏิบัติมาใช้บังคับด้วย และโจทก์ยังสงวนสิทธิที่จะหักทอนบัญชีของจำเลยเมื่อใดก็ได้ความผูกพันระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าวมีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไปให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแก่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบกัน และคงชำระแต่ส่วนที่คงเหลือโดยดุลภาค อันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 แล้ว โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันตามฟ้องได้ตามประเพณี-การค้าขายของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่
แต่ปัญหาดังกล่าว ศาลล่างทั้งสองยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้เมื่อปรากฎว่าคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา ฎีกาโจทก์ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีของโจทก์ในประเด็นเรื่องบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวนี้เสียใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินหลังศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ การจดทะเบียนเดิมขัดต่อคำสั่งศาล
การที่เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท เป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในชั้นที่พิจารณาคดีโดยจำเลยขาดนัดและถือเป็นวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้ว เมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่แล้ว การจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงต้องถูกเพิกถอนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 209วรรคแรก เมื่อจำเลยมีคำขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวมาด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินเพิกถอนรายการจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยขาดนัด
เดิมจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นให้พิจารณาคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวและพิพากษาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโดยลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จากนั้นจำเลยจึงได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ดังนี้ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 วรรคแรก บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลโดยคู่ความขาดนัด คำพิพากษาหรือคำสั่งอื่น ๆ ของศาลสูงในคดีเดียวกันนั้นและวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วนั้น ให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัว แต่ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมดังเช่นก่อนการบังคับคดีได้ เมื่อศาลเห็นว่าไม่จำเป็นที่จะบังคับเช่นนั้นเพื่อประโยชน์แก่คู่ความหรือบุคคลภายนอกให้ศาลมีอำนาจสั่งอย่างใด ๆตามที่เห็นสมควรได้ ฉะนั้น การจดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทจึงต้องถูกเพิกถอนไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ทั้งจำเลยก็ได้มีคำขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนที่เจ้าพนักงานที่ดินลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทมาในคำให้การที่ศาลอนุญาตให้จำเลยยื่นได้ในชั้นที่จำเลยขอพิจารณาคดีใหม่ด้วยแล้ว ศาลจึงมีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินซึ่งจดทะเบียนลงชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินพิพาทเพิกถอนรายการจดทะเบียนดังกล่าวนั้นได้เพราะเป็นการสั่งเพิกถอนการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการบังคับคดีนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารในสำนวนคดีอาญาที่ยังไม่ได้รวมสำนวน ไม่ถือเป็นเหตุให้ต้องพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 53
การที่พยานหลักฐานรวมอยู่ในสำนวนคดีอื่นซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำสำนวนมาผูกรวมกับสำนวนอีกคดีหนึ่ง แต่ยังไม่ได้นำมาผูกรวม มิใช่กรณีเอกสารในสำนวนสูญหายหรือบุบสลายทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีเสร็จสิ้นแล้วย่อมไม่มีกรณีเป็นการขัดข้องต่อการพิจารณาพิพากษาคดี ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 53 ที่จะขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอพิจารณาคดีใหม่หลังมีคำพิพากษา และการขาดนัดพิจารณาคดีโดยมีเหตุผลอันสมควร
การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา205 (3) เป็นกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว แต่คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 205 (3) และปัญหาว่าคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่นี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะเพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง จำเลยจึงยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยได้
จำเลยและทนายจำเลยได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดีนี้ แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดี เพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความในคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยเพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง จำเลยจึงยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลยได้
จำเลยและทนายจำเลยได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาคดีนี้ แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดี เพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความในคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีใหม่, การขาดนัดพิจารณา, และข้อพิพาทเรื่องการซื้อขายฝากไม้ชิงชัน
ปัญหาว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยต้องห้ามตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรวินิจฉัยให้ การยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) เป็นกรณีที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีฝ่ายเดียว การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแล้ว คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205(3) จำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ครั้งหนึ่งแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง เพราะคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่มีข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง เมื่อจำเลยยื่นคำร้องใหม่โดยทำให้ถูกต้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับให้จำเลย ศาลชั้นต้นชอบที่จะรับไว้พิจารณา เดิมจำเลยมี ส. เป็นทนายความ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 2 กรกฎาคม 2530 เวลา 9.00 น. แต่ตามวันเวลาดังกล่าวส.มีกิจธุระซึ่งส. เพิ่งทราบในคืนวันที่ 1 กรกฎาคม 2530ส. จึงแจ้งให้ ก. ทนายความสำนักงานเดียวกันทราบเมื่อวันที่2 กรกฎาคม 2530 เวลา 7.30 น. ขอให้ ก. ว่าความแทนและได้แจ้งให้จำเลยทราบ จำเลยแต่งตั้ง ก. เป็นทนายความ แต่ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ก. ต้องว่าความในคดีอื่นซึ่งนัดไว้ก่อนแล้ว ก.จึงให้จำเลยไปรอที่บริเวณประชาสัมพันธ์ของศาลชั้นต้น ส่วน ก.ไปว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยไม่ทราบว่าประชาสัมพันธ์ของศาลได้ประกาศเรียกคู่ความแล้ว จึงไม่ได้แถลงให้ศาลทราบ เมื่อ ก.ว่าความคดีอื่นเสร็จแล้วได้ไปที่ห้องพิจารณา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จแล้ว ดังนี้ จำเลยและทนายได้ไปศาลก่อนศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณา แต่เหตุที่ไม่เข้าไปในห้องพิจารณาคดีเพราะจำเลยไม่ทราบว่าได้มีการประกาศเรียกคู่ความแล้ว ส่วนทนายจำเลยก็ต้องว่าความคดีอื่นก่อน จำเลยจึงไม่จงใจขาดนัดพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิคู่ความจากการสอดคดี: ศาลต้องพิจารณาคดีใหม่โดยมีคู่ความครบถ้วน
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ย่อมมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตาม มาตรา 58 การพิจารณาพิพากษาคดีจึงต้องกระทำโดยมีคู่ความสามฝ่าย ศาลจะแยกพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิจารณาพิพากษาคดีโดยไม่มีผู้ร้องสอดเข้ามาในคดี เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ตามมาตรา 243(2),247.