คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พินัยกรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 953 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก & สิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม: กรณีผู้จัดการมรดกถูกพิพากษาจำคุก & มูลนิธิจัดตั้งตามพินัยกรรม
การที่ศาลใช้ดุลพินิจตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้นนอกจากจะต้องเป็นบุคคลผู้มีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 แล้ว ศาลยังจะต้องพิเคราะห์ถึงเหตุอื่น ๆ เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกที่จะต้องจัดการนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก 10 ปี ในความผิดฐานยักยอกทรัพย์มรดกนอกจากนี้ยังปรากฏว่าหลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวแล้วจำเลยมิได้ดำเนินการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1728(2),1729 และ 1732 อีกด้วย และที่จำเลยอ้างว่าระหว่างที่รับโทษจำเลยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นทำแทนได้นั้นก็ขัดต่อมาตรา 1723 ที่ต้องการให้ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง ดังนั้นจึงเป็นที่เห็นประจักษ์ว่าจำเลยเป็นผู้ไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามนิติบุคคลเป็นผู้จัดการมรดกเมื่อปรากฏว่ามูลนิธิโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม จึงถือว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกย่อมมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดกและมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะจัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำเอกสารแสดงเจตจำนงไม่ใช่พินัยกรรม หากมีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้เชื่อใจและอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้ตายทำเอกสารมีข้อความในตอนต้นว่า"นายก.(หมายถึงผู้ตาย)สัญญากับนางด. (หมายถึงโจทก์)ว่าไม่มีลูกเมียนางด. จึงอยู่กินฉันสามีภริยาฯลฯถ้ามีลูกเมียเมื่อไหร่ยอมให้ยึดทรัพย์สินของข้าพเจ้าและของแม่ทั้งหมดฯลฯ"อันมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์ว่าผู้ตายไม่มีภริยาและบุตรซึ่งความจริงปรากฏว่าผู้ตายมีบุตรกับจำเลยอยู่ก่อนแล้วการที่ผู้ตายปิดบังความจริงและให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์พฤติการณ์เชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพียงเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินเป็นภริยาผู้ตายเท่านั้นหามีเจตนาให้ผูกพันในเรื่องทรัพย์สินไม่แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความในตอนท้ายว่า"ฯลฯถ้าข้าพเจ้าตายทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าและของแม่ให้นางด. เป็นทายาทรับมรดกแต่ผู้เดียวฯลฯ"ก็มีเจตนาสืบเนื่องมาจากเหตุที่จะให้โจทก์หลงเชื่อจึงหามีผลสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยพิจารณาจากเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม ณ ขณะทำพินัยกรรม
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก.เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คน ราคาประมาณ358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก.เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่ 20กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่นา 1 แปลง เนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมาย ล.3 แผ่นที่ 1ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา เมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก.ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517 จะปรากฏว่ามีเนื้อที่58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตาม เพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก.มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของ ก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรมและการยกทรัพย์มรดก โดยเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมและขอบเขตที่ดินตามแจ้งการครอบครอง
โจทก์ทั้งหกฟ้องจำเลยทั้งสามโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าโจทก์ทั้งหกเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกและมีอำนาจขอแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ก. เจ้ามรดก ขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งหกคนละเท่า ๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วน ตีราคาประมาณคนละ 59,750 บาท รวม 6 คนราคาประมาณ 358,500 บาท ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนที่เรียกร้องจากจำเลยทั้งสามจึงไม่เกินสองแสนบาท ย่อมต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งหกฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง พินัยกรรมฉบับพิพาทของ ก. เจ้ามรดกซึ่งทำขึ้นในวันที่20 กุมภาพันธ์ 2510 มีข้อความระบุว่า "(1) ที่มา 1 แปลงเนื้อที่ 36 ไร่ ส.ค.1 เลขที่ 181 อยู่ที่ตำบลบ้านกล้วยอำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ให้แก่จำเลยที่ 1"และแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 เลขที่ 181 เอกสารหมายล.3 แผ่นที่ 1 ซึ่งมีชื่อ ก.เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าวระบุจำนวนเนื้อที่ดินไว้ 36 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวาเมื่อปรากฏว่าในขณะที่ ก. ทำพินัยกรรมนั้นยังมิได้มีการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินดังกล่าว จึงเห็นได้ว่า ก.เจ้ามรดกประสงค์จะยกที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินส.ค.1 เลขที่ 181 ทั้งแปลงให้จำเลยที่ 1 แม้ต่อมาในการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินแปลงดังกล่าวเมื่อ พ.ศ.2517จะปรากฏว่ามีเนื้อที่ 58 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา ก็ตามเพราะขณะทำพินัยกรรมเจ้ามรดกระบุเนื้อที่ดินทั้งแปลงตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดินดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ตีความข้อกำหนดในพินัยกรรมพิพาทว่า ก. มีเจตนายกที่ดินมีโฉนดทั้งแปลงให้แก่จำเลยที่ 1 จึงตรงตามเจตนาของก.ผู้ทำพินัยกรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6065/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม และการพิพากษาเรื่องการจัดการมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านพร้อมกับยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะทรัพย์ตามพินัยกรรมศาลอุทธรณ์จำต้องพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 239 แต่ศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหานี้ไปเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านเพิ่งยื่นในวันนัดสืบพยาน ซึ่งสิ้นสุดระบุเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสองแล้วทั้งคำร้องมิได้ระบุเหตุแห่งความล่าช้าหรือเหตุสมควรอื่นใดตามมาตรา 88 วรรคสี่ จึงไม่อาจพิจารณาสั่งรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: พินัยกรรมไม่ชัดเจน ศาลตั้งบุตรผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่เกิดกับ ต.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้เช่นนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องนั้น เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ขอมาในคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิรับมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่เกิดกับ ต. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้เช่นนี้ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องนั้นเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ขอมาในคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดตัดสิทธิทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1608 วรรคสอง
พินัยกรรมของพ. มีข้อความว่าเมื่อข้าพเจ้าเสียชีวิตลงให้ทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวคำว่าทรัพย์มรดกของข้าพเจ้าแสดงว่าต้องการยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่จำเลยแต่เพียงผู้เดียวแม้ในตอนท้ายของพินัยกรรมจะระบุเลขที่โฉนดที่ดินทรัพย์มรดกไว้ด้วยก็ไม่ทำให้ทรัพย์มรดกอื่นที่มิได้แจ้งรายละเอียดไว้ในพินัยกรรมเป็นทรัพย์มรดกนอกพินัยกรรมไปได้เมื่อพ. ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่จำเลยแล้วจึงถือว่าโจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินภายหลังทำพินัยกรรมยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1696 และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะได้มาในอนาคต ยังคงเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรม แม้จำหน่ายทรัพย์สินเดิมไปแล้ว
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
of 96