พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ดิน: การครอบครองโดยไม่มีเจตนาเป็นเจ้าของ และขอบเขตการพิพากษา
จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่น บ้านจำเลยมีลักษณะเป็นการปลูกอย่างชั่วคราวไม่มีเลขบ้าน แสดงว่าอยู่ในลักษณะชั่วคราว มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ
จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของ การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทจึงเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครอง เป็นความผิดฐานบุกรุก
เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดโทษและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ฎีกาซึ่งเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีอำนาจพิพากษาเลยไปถึงจำเลยในคดีที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของ การที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทจึงเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครอง เป็นความผิดฐานบุกรุก
เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดโทษและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ฎีกาซึ่งเป็นเหตุในลักษณะคดี ย่อมมีอำนาจพิพากษาเลยไปถึงจำเลยในคดีที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุกรุกอสังหาริมทรัพย์: การครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีเจตนาเป็นเจ้าของ และขอบเขตการพิพากษา
จำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของผู้อื่นบ้านจำเลยมีลักษณะเป็นการปลูกอย่างชั่วคราวไม่มีเลขบ้านแสดงวาอยู่ในลักษณะชั่วคราวมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีผู้อื่นเป็นเจ้าของการที่จำเลยเข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทจึงเป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองเป็นความผิดฐานบุกรุก เมื่อศาลฎีกาพิพากษาลดโทษและรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ฎีกาซึ่งเป็นเหตุในลักษณะคดีย่อมมีอำนาจพิพากษาเลยไปถึงจำเลยในคดีที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 706/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากลูกจ้างจำเลยกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้สามีโจทก์ถึงแก่ความตายศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ การที่โจทก์กล่าวไว้ท้ายอุทธรณ์ว่า ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสองปฏิบัติตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ ย่อมเข้าใจได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อโจทก์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีออกจากที่ดิน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการพิพากษาให้จำเลยออกจากที่ดินแปลงที่ไม่ปรากฏหลักฐานการบุกรุกเป็นไปโดยไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินส.ค.1เลขที่58และเลขที่63จำเลยบุกรุกนำรถเข้าไปไถในที่นาตามส.ค.1เลขที่58โดยไม่ชอบขอให้บังคับจำเลยออกไปจากที่ดินส.ค.1เลขที่58และที่ดินเลขที่63ห้ามมิให้จำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวทั้งสองแปลงอีกต่อไปคู่ความตกลงกันให้จำเลยเป็นฝ่ายเข้าทำนาในที่นาพิพาทตามส.ค.1เลขที่58จนกว่าคดีจะถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินส.ค.1เลขที่63แต่อย่างใดการที่ศาลพิพากษาให้จำเลยออกจากที่ดินส.ค.1เลขที่63ด้วยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6299/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินหลังการขายทอดตลาด: สุจริตของผู้ซื้อและผลของการพิพากษาก่อนหน้า
เดิมที่ดินพิพาท ท.เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ต่อมา ท.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกได้ ล. ภายหลังศาลชั้นต้นได้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขัดทรัพย์ของโจทก์ในคดีก่อน เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จำเลยซื้อที่ดินพิพาทหลังจากศาลได้มีคำพิพากษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จำเลยซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริตในการขาดทอดตลาดตามคำสั่งศาล สิทธิของจำเลยไม่เสียไป ป.พ.พ.มาตรา 1330จำเลยจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิพากษาลงโทษตามข้อเท็จจริงที่ได้ความ แม้ต่างจากข้อกล่าวหาเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามลักรถจักรยานยนต์ แต่ในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยลักชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของรถจักรยานยนต์คันเดียวกับที่โจทก์ฟ้อง มิใช่เป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญ และทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำผิด จึงไม่ได้หลงต่อสู้ ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ - การพิพากษาค่าฤชาธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง
คดีนี้จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง 6,000 บาท โดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141(5) และ 167 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการขาดนัดยื่นคำให้การ และการแก้ไขข้อผิดพลาดในการพิพากษา
จำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ซึ่งเป็นข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 3
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000 บาท แต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 288,000 บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องแบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน280,000 บาท แต่พิพากษาให้โจทก์แบ่งค่านายหน้าให้แก่ผู้ร้องเป็นเงิน 288,000 บาทเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดไป ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาชอบที่แก้ไขข้อผิดพลาดนี้เสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟ้องแย้งหลังศาลชั้นต้นพิพากษาคดีเดิมแล้ว ศาลฎีกาเห็นว่าไม่มีเหตุรื้อฟื้นพิจารณา
ศาลชั้นต้น ไม่รับฟ้องแย้ง จำเลย อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวแต่ศาลอุทธรณ์มิได้ให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ในระหว่างอุทธรณ์และเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาพิพากษาคดีเดิมเสร็จโดยอยู่ระหว่างอุทธรณ์จึงไม่มีเหตุให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องแย้งและรื้อฟื้นพิจารณาพิพากษาประเด็นตามฟ้องแย้งใหม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าฟ้องแย้งเกี่ยวกับฟ้องเดิมหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รับ ฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ