พบผลลัพธ์ทั้งหมด 199 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน หากเจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนตามแผน
การฟื้นฟูกิจการมีผลให้มีการปรับลดปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ แต่คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง หนี้ส่วนที่ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดย่อมระงับไปเฉพาะส่วนที่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ในส่วนที่ขาดผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวโดยมิได้คำนึงว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และกำหนดให้เจ้าหนี้บางกลุ่มได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 หรือไม่ จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอน ลำพังการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวโดยมิได้คำนึงว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และกำหนดให้เจ้าหนี้บางกลุ่มได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วนย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 หรือไม่ จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอน ลำพังการได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แผนฟื้นฟูกิจการขัดกฎหมายล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดแม้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ไม่เต็มจำนวน
การที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดไปเสียทีเดียวโดยมิได้คำนึงว่าเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ และกำหนดให้เจ้าหนี้บางกลุ่มได้รับชำระหนี้เพียงบางส่วน ข้อกำหนดดังกล่าวจึงขัดต่อ พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/60 วรรคสอง อันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนข้อกำหนดดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
การจะพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยในคดีล้มละลายคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอนดังนั้น ลำพังเพียงการที่จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
การจะพิจารณาว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14 หรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาเหตุเฉพาะตัวของจำเลยในคดีล้มละลายคนนั้น ๆ การที่จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 เป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ไว้วางใจให้จำเลยที่ 2 บริหารแผนซึ่งเป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการของจำเลยที่ 1 และเป็นเรื่องในอนาคตซึ่งไม่มีความแน่นอนดังนั้น ลำพังเพียงการที่จำเลยที่ 2 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บริหารแผนยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะถือว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3546/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตอบแทนกรรมการและสิทธิการรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ต้องมีมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือข้อบังคับรองรับ
การที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นกรรมการของลูกหนี้หรือเป็นประธานกรรมการบริหารของลูกหนี้จะมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนตามข้อบังคับของบริษัทลูกหนี้นั้น ย่อมอาศัยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดฯ มาตรา 90 เมื่อข้อบังคับของบริษัทลูกหนี้ในหมวดที่ 4 ข้อ 14 กำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการได้ข้อบังคับของบริษัทลูกหนี้ในเรื่องค่าตอบแทนจึงสอดคล้องกับบทบัญญัติมาตรา 90 แห่ง พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด ฯ ซึ่งค่าชดเชยการลดเงินเดือนตามหนังสือเรื่องการปรับลดเงินเดือนพนักงานที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 5 อาจจะถือได้ว่าเป็นผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่นตามข้อบังคับของลูกหนี้ในหมวดที่ 4 ข้อ 14 วรรคสอง ที่ระบุให้กรรมการมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทในรูปของเงินรางวัลเบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส หรือผลประโยชน์ตอบแทนในลักษณะอื่นตามข้อบังคับหรือตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะพิจารณา แต่เมื่อไม่มีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นของลูกหนี้เพื่อพิจารณากำหนดค่าชดเชยการลดเงินเดือนตามหนังสือเรื่องการปรับลดเงินเดือนพนักงานหรือได้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าประชุมพิจารณาในการประชุมของคณะกรรมการบริหารของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้อันดับที่ 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้: ห้ามอุทธรณ์
คำสั่งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ที่ไม่อนุญาตให้ยกคดีที่ได้งดการพิจารณาไว้ขึ้นพิจารณาต่อไปเป็นคำสั่งที่มิได้ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เพราะศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯได้มีคำสั่งให้นัดพร้อมเพื่อฟังผลคำสั่งศาลล้มละลายกลางเกี่ยวกับคำร้องขอของโจทก์เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงข้อจำกัดสิทธิตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/13 จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนที่ศาลจะได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวในระหว่างพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในชั้นฟื้นฟูกิจการ การพิจารณาหลักฐานเพิ่มเติม และอำนาจศาลในการวินิจฉัย
ในการยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินและข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้วศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ ไม่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3456/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจสอบสวนและรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/26 วรรคสาม บัญญัติให้นำบทบัญญัติในเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 91 วรรคสอง มาใช้บังคับเกี่ยวกับการขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการโดยอนุโลม ดังนั้น ในชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ ก็ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยชอบแล้ว หากมีผู้โต้แย้งย่อมเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนตามมาตรา 90/32 วรรคสองเพื่อค้นหาความจริงว่าหนี้นั้นขอรับชำระได้หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/27 ทั้งนี้ ย่อมใช้อำนาจดังกล่าวในการค้นหาความจริงได้อย่างกว้างขวางเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม มิใช่เคร่งครัดจำกัดเพียงดูจากหลักฐานในคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ชั้นยื่นคำขอรับชำระหนี้เท่านั้น ดังนั้น นอกจากพยานหลักฐานของฝ่ายเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ที่จะนำอ้างส่งประกอบคำขอรับชำระหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เจ้าหนี้หรือบุคคลอื่นใดนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพิ่มเติมก่อนมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 90/32 วรรคสอง ได้ และในกรณีที่มีการคัดค้านคำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 90/32 วรรคสาม ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยโดยรับฟังพยานหลักฐานทุกอย่างทั้งที่ยื่นในชั้นขอรับชำระหนี้และยื่นเพิ่มเติมในชั้นสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากศาลเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ได้ว่าหนี้รายนั้นขอรับชำระหนี้ได้ หรือต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ หาใช่เป็นกรณีวินิจฉัยและรับฟังพยานหลักฐานเกินกว่าคำขอชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10897/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการ: การปรับหนี้ตามแผน และสถานะเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ โดยรวม เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตามมาตรา 90/42 ทวิ และกำหนดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผน เช่นนี้แม้ว่าจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้แล้ว การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จริงจากการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องนำจำนวนหนี้ดังกล่าวนั้นมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้จะถือว่าตนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและขอบังคับคดีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหาได้ไม่
ผู้ร้องและลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ผู้ร้องเรียกร้องค่าธรรมเนียมอันเกิดจากสัญญายืมใบหุ้นที่ผู้ร้องนำใบหุ้นของตนไปทำสัญญาจำนำกับธนาคาร ก. เพื่อประกันสินเชื่อที่ลูกหนี้มีต่อธนาคารดังกล่าว ในการที่จะวินิจฉัยว่า หนี้นี้มีลักษณะเป็นหนี้การค้าหรือหนี้อื่น ๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จะต้องพิจารณาจากเนื้อความในแผนและความมุ่งหมายของแผนฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อหนี้การค้าจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นตามปกติการค้าของการประกอบธุรกิจและจะมีการชำระหนี้ส่วนนี้คืนตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงเดิมที่มีอยู่ ที่ผู้ร้องให้บริษัทในเครือเดียวกันยืมใบหุ้นไปจำนำเพื่อประกันหนี้นั้นมีลักษณะเป็นการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือลูกหนี้ทางด้านการเงิน ถือว่าเป็นหนี้อื่น ๆ มิใช่เจ้าหนี้การค้า
ผู้ร้องและลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ผู้ร้องเรียกร้องค่าธรรมเนียมอันเกิดจากสัญญายืมใบหุ้นที่ผู้ร้องนำใบหุ้นของตนไปทำสัญญาจำนำกับธนาคาร ก. เพื่อประกันสินเชื่อที่ลูกหนี้มีต่อธนาคารดังกล่าว ในการที่จะวินิจฉัยว่า หนี้นี้มีลักษณะเป็นหนี้การค้าหรือหนี้อื่น ๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จะต้องพิจารณาจากเนื้อความในแผนและความมุ่งหมายของแผนฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อหนี้การค้าจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นตามปกติการค้าของการประกอบธุรกิจและจะมีการชำระหนี้ส่วนนี้คืนตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงเดิมที่มีอยู่ ที่ผู้ร้องให้บริษัทในเครือเดียวกันยืมใบหุ้นไปจำนำเพื่อประกันหนี้นั้นมีลักษณะเป็นการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือลูกหนี้ทางด้านการเงิน ถือว่าเป็นหนี้อื่น ๆ มิใช่เจ้าหนี้การค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการและการปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลาย
ตามแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับแผน และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยนั้น ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เจ้าหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ ที่ไม่มีประกัน กลุ่มที่ 2 เจ้าหนี้เงินบาทที่ไม่มีประกัน กลุ่มที่ 3 เจ้าหนี้บริษัทที่มีความเกี่ยวข้องกัน กลุ่มที่ 4 เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ๆ กลุ่มที่ 5 เจ้าหนี้ภาระหนี้ ที่อาจเกิดขึ้น กลุ่มที่ 6 เจ้าหนี้ที่ปรึกษาทางการเงิน, ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และที่ปรึกษาอื่น ๆ ของเจ้าหนี้ สำหรับ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 แผนได้ระบุไว้ว่าจะกำหนดยอดหนี้มาจาก (ก) ข้อตกลงระหว่างผู้ทำแผนและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง (ข) คำชี้ขาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (ค) คำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุด (ง) คำสั่งศาล นอกจากนี้ในกรณีที่ภาระหนี้ซึ่งอาจเกิดขึ้นกลายเป็นภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระและต้องจ่าย ภาระหนี้เหล่านี้จะได้รับการจัดกลุ่มตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะและสกุลเงินของภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระนั้น ภาระหนี้จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับหนี้ในกลุ่มที่โอน ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในกลุ่มนั้น ๆ เสมือนภาระหนี้ได้รับการจัดกลุ่มตั้งแต่วันที่ศาลพิจารณาเห็นชอบด้วยแผน ทั้งนี้ผู้ทำแผนได้ชี้แจงเพิ่มเติมในรายงานการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนด้วยว่า หากศาลมี คำพิพากษาถึงที่สุดหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสมอาจอยู่ในกลุ่มที่ 1 หรือกลุ่มที่ 2 แล้วแต่สกุลเงินขณะนั้น โดยผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ในคดีนี้ได้ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทไทยวา พลาซ่า จำกัด ออกให้แก่ผู้คัดค้านจำนวน 22,950,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา มูลหนี้เดียวกันนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ผู้คัดค้านได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีฟื้นฟูกิจการของบริษัทไทยวา พลาซ่า จำกัด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวมีคำสั่งอนุญาตให้ ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้ตามคำขอ ผู้ทำแผนจึงจัดให้ผู้คัดค้านอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลและความเป็นธรรมแล้ว เพราะหนี้ของผู้คัดค้านเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอน ทั้งในเรื่องของจำนวนหนี้และสกุลเงินที่จะได้รับชำระหนี้ โดยเป็นหนี้อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือ คำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุดว่าจะให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้เท่าใดและเป็นเงินสกุลใด การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ที่ ผู้ทำแผนดำเนินการตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42(3)(ข) จึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ทวิ ซึ่งกำหนดไว้ใน (3) ว่า "เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจจัดได้เป็นหลายกลุ่ม โดยให้เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่มีสิทธิเรียกร้องหรือผลประโยชน์ที่มีสาระสำคัญเหมือนกันหรือทำนองเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกัน"
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคท้าย เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้รายใดที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ของผู้ทำแผนแล้ว
สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี ทั้งข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิได้ขัดต่อมาตรา 90/58 (2) และมาตรา 130 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นชอบแล้ว
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ทวิ วรรคท้าย เปิดโอกาสให้เจ้าหนี้รายใดที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้อง แต่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือได้ว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ของผู้ทำแผนแล้ว
สิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี ทั้งข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนเป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลาย มิได้ขัดต่อมาตรา 90/58 (2) และมาตรา 130 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ การจัดกลุ่มเป็นธรรมตามประเภทหนี้และสิทธิเรียกร้อง
ตามแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้จัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้ 6 กลุ่ม เจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 5 ถูกกำหนดโดยยอดหนี้จากข้อตกลงระหว่างผู้ทำแผนและเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องคำชี้ขาดจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คำพิพากษาจากศาลอันเป็นที่สิ้นสุด และคำสั่งศาล และในกรณีที่ภาระหนี้ซึ่งอาจเกิดขึ้นกลายเป็นภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระและต้องจ่ายจะได้รับการจัดกลุ่มตามความเหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะและสกุลเงินของภาระหนี้ที่ครบกำหนดชำระนั้น ภาระหนี้จะได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับหนี้ในกลุ่มที่โอน ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขในกลุ่มนั้น ๆ เสมือนภาระหนี้ได้รับการจัดกลุ่มตั้งแต่วันที่ศาลพิจารณาเห็นชอบด้วยแผนเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้ทำแผนจะจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เหมาะสมแล้วแต่สกุลเงินขณะนั้น การที่ผู้คัดค้านยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันที่ลูกหนี้ได้ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัท พ. ออกให้แก่ผู้คัดค้านจำนวน 22,950,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ตามคำขอ ผู้ทำแผนจึงจัดให้ผู้คัดค้านอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 อันถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ชอบด้วยเหตุผลและความเป็นธรรมแล้ว เพราะหนี้ของผู้คัดค้านเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนทั้งในเรื่องของจำนวนหนี้และสกุลเงินที่จะได้รับชำระ โดยเป็นหนี้ที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้าตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือคำพิพากษาของศาลอันเป็นที่สุดว่าจะให้ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้เท่าใดและเป็นเงินสกุลใด ดังนั้น การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ที่ผู้ทำแผนดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/42(3)(ข) จึงชอบด้วยมาตรา 90/42 ทวิ (3) แล้ว ซึ่งในวรรคท้ายของมาตราดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้ที่เห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่เป็นไปตามที่กำหนด สามารถยื่นคำร้องขอต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้จัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ แต่ผู้คัดค้านก็มิได้ยื่นคำขอต่อศาลเพื่อให้จัดกลุ่มเสียใหม่ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงถือว่าผู้คัดค้านเห็นชอบด้วยกับการจัดกลุ่มของผู้ทำแผนแล้ว ประกอบกับมาตรา 90/42 ตรี กำหนดให้สิทธิของเจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันต้องได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันด้วยแล้ว ยิ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าสิทธิของผู้คัดค้านซึ่งถูกจัดให้อยู่ในเจ้าหนี้กลุ่มที่ 5 ย่อมได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกับเจ้าหนี้อื่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หาทำให้ผู้คัดค้านเสียเปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ ดังนั้น แผนจึงมีข้อเสนอในการชำระหนี้ที่ไม่ขัดต่อมาตรา 90/42 ตรี และข้อเสนอในการชำระหนี้ตามแผนก็เป็นไปตามลำดับที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าด้วยการแบ่งทรัพย์สินในคดีล้มละลายมิได้ขัดต่อมาตรา 90/58(2) และมาตรา 130 แต่อย่างใด ที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง, การบังคับชำระหนี้, สิทธิเจ้าหนี้มีประกัน, การฟื้นฟูกิจการ, ผู้ค้ำประกัน, หนี้ร่วม
การที่ลูกหนี้ซื้อที่ดินบางส่วนจากบริษัท อ. ในขณะที่ที่ดินดังกล่าวได้จดทะเบียนจำนองประกันหนี้ที่บริษัท อ. และ/หรือบริษัท ส. มีต่อธนาคาร ม. จึงเป็นการซื้อขายที่ดินโดยติดจำนองมาด้วย ซึ่งสิทธิจำนองเป็นทรัพย์สิทธิย่อมติดไปกับตัวทรัพย์นั้นโดยไม่ต้องคำนึงว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์จำนองจะโอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ดังนั้น ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองจึงต้องรับภารจำนองมาด้วย เจ้าหนี้จึงยังมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้รับจำนองจนกว่าจะมีเหตุให้จำนองระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 แม้ต่อมาธนาคาร ม. จะจดทะเบียนปลดจำนองเฉพาะส่วนที่ดินของบริษัท อ. แต่ส่วนของลูกหนี้ก็ยังคงติดจำนองอยู่กับธนาคาร ม. และภาระหนี้ยังเป็นของบริษัท ส. ตามเดิมเช่นนี้ ที่ดินส่วนของลูกหนี้ย่อมติดจำนองเพื่อประกันหนี้ของบริษัท ส. ที่มีต่อธนาคาร ม. ต่อไป แต่ภารจำนองของลูกหนี้ย่อมไม่เกินวงเงินจำนองพร้อมดอกเบี้ย เจ้าหนี้จึงมีบุริมสิทธิเหนือที่ดินส่วนของลูกหนี้ในวงเงินดังกล่าว โดยไม่เกินจำนวนหนี้ที่บริษัท ส. ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนองจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
การที่ลูกหนี้ซื้อทรัพย์ซึ่งติดจำนองมา เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นได้ ลูกหนี้มีฐานะเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองอันมีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 12 หมวด 5 หาทำให้ลูกหนี้มีฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ เพราะการจำนองประกันหนี้ของลูกหนี้จะต้องมีการจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตามมาตรา 714 เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ทราบว่าทรัพย์สินที่จำนองนั้นเป็นประกันหนี้ของผู้ใด วงเงินเท่าใด การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ตกลงกันให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้ซื้อมาโดยติดจำนองนั้นเป็นการจำนองประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้โดยที่ยังไม่มีการจดทะเบียนจำนอง จึงเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะ เจ้าหนี้มิใช่เจ้าหนี้มีประกันในหนี้ส่วนนี้
มูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้นั้น ปรากฏว่านอกจากมีบริษัท ส. เป็นผู้ค้ำประกันหนี้บางอันดับแล้ว ยังมีบุคคลอื่นอีกหลายคนเป็นผู้ค้ำประกันร่วมอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ค้ำประกันคนใดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ย่อมมีผลถึงลูกหนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง เมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จากบริษัท ส. และ/หรือผู้ค้ำประกันร่วมคนอื่นเพียงใดแล้ว สิทธิของเจ้าหนี้ในการได้รับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ย่อมลดลงมาเพียงนั้น ซึ่งในส่วนนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระหนี้ไว้ และศาลล้มละลายกลางก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง กรณีเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้