คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฟ้องคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 831 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4906/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีข่มขืนที่ขาดความชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้อง และความผิดเป็นเรื่องยอมความได้
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราโดยมีหรือใช้อาวุธปืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องข้อหาข่มขืนกระทำชำเราเสียด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสอง โจทก์จะฎีกาในข้อหานี้หาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคแรกเป็นความผิดอันยอมความได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 281 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคสอง แต่ปรากฏจากรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานและคำเบิกความของพนักงานสอบสวนว่าผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ไว้ก่อนเพื่อเป็นหลักฐานเท่านั้น มิได้มอบคดีแต่อย่างใดการรับแจ้งความแม้จะมีคำว่าร้องทุกข์อยู่ด้วย ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) เพราะยังมิได้กระทำโดยเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ การสอบสวนความผิดฐานนี้จึงไม่ชอบ พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานนี้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้าม
คู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าเป็นฉบับที่ถูกต้องแท้จริง จึงได้พิพากษาให้จำเลย(โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวเป็นสัญญากู้ยืมเงินปลอม จึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4719/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาและการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาร่วมค้ากับโจทก์ที่ 2 และที่ 3เพื่อเข้าประมูลงานโครงการออกแบบรวมก่อสร้างระบบน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร เมื่อได้งานแล้วกิจการร่วมค้าได้ทำสัญญาจ้างให้ โจทก์ที่ 1 ให้ออกแบบ เขียนแบบ ให้คำปรึกษาและฝึกอบรมบุคลากร จำเลยที่ 1 ทำใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินเป็นงวด ๆ ตามความก้าวหน้าของงาน เมื่อกรุงเทพมหานครอนุมัติใบเรียกเก็บเงินและจ่ายเงินให้ กิจการร่วมค้าแล้ว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่นำเงินเข้าบัญชีของกิจการร่วมค้าจำเลยที่ 1 กลับร่วมกับจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีให้จำเลยที่ 1 ควบคุม บัญชีแต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่สามารถรู้เห็น จำเลยที่ 1เคยนำเงินส่วนที่เป็นผลงานของโจทก์ที่ 1 มาชำระให้โจทก์ที่ 1 ตามสัญญา แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 หยุดชำระเงินดังกล่าว ขอให้จำเลย ทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย เงินที่จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องชำระแก่โจทก์ที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยเป็นเงินที่โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับตามสัญญา ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิยึดถือเงินดังกล่าว หรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา เมื่อสัญญากำหนด เรื่องการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการไว้ แต่โจทก์ทั้งสามนำคดี มาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและฟ้องคดีอาญา: ความผิดเกิดขึ้นในเขตอำเภออื่น ทำให้การสอบสวนและการฟ้องไม่ชอบ
การที่จำเลยซื้อเมทแอมเฟตามีนให้ผู้อื่นเป็นความผิดฐานขายเมทแอมเฟตามีน แต่จำเลยมีที่อยู่และถูกจับที่บ้านในเขตอำเภอ น. และความผิดของจำเลยมิได้เกิดในเขตอำเภอ ด. พนักงานสอบสวนอำเภอ ด. จึงไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 18 วรรคหนึ่ง ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการสอบสวน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3684-3685/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังการแย่งการครอบครองและผลของการไม่ฟ้องคดีภายใน 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่า จำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น" ตามคำให้การจำเลยที่ 1 สำนวนแรกและคำให้การจำเลยที่ 2 สำนวนที่สอง มีข้อความระบุชัดว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี แล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องขับไล่ภายในกำหนดเวลาปีหนึ่งนับแต่ถูกแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ยกเอาเรื่องแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทและโจทก์มิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในปีหนึ่งขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การแล้ว
จำเลยที่ 2 แสดงเจตนาอันชัดแจ้งเป็นปฏิปักษ์ต่อโจทก์โดยประสงค์จะแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท (ส.ค.1) นับแต่มีการคัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินเป็นต้นมา จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายในปีหนึ่งนับแต่นั้น โจทก์ก็ย่อมขาดสิทธิฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอ้างบทกฎหมายที่ต้องการให้ลงโทษ หากมิได้อ้าง ศาลไม่อาจลงโทษในข้อหานั้นได้
แม้โจทก์จะบรรยายข้อเท็จจริงไว้ในคำฟ้องว่า หลังจากจำเลยขับรถด้วยความประมาทแล้วผู้เสียหายทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจราจรและได้รับแจ้งเหตุให้สกัดจับจำเลยได้ออกมายืนสกัดอยู่กลางถนนและให้สัญญาณมือให้จำเลยหยุดรถเพื่อจับกุมดำเนินคดี อันเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่จำเลยขับรถพุ่งเข้าชนผู้เสียหายทั้งสองโดยเจตนาฆ่า เพื่อขัดขวางการจับกุม ซึ่งเป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตาม ป.อ.มาตรา 138 วรรคสองแต่โจทก์ก็มิได้อ้างบทมาตราดังกล่าวซึ่งโจทก์ถือว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษจำเลยมาในคำขอท้ายฟ้อง คงอ้างเฉพาะมาตรา 289, 80 เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ด้วย จึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิด: การนับอายุความเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอำนาจฟ้องคดี: การลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความถือเป็นการแต่งตั้งทนายความและทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้แต่งทนายความในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความของโจทก์ และ อ. เป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาเรื่อยมา อ. จึงมีฐานะเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) และถือว่าโจทก์เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายสินค้า การเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมการค้า และผลกระทบต่อการเริ่มนับอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าฟ้องเรียกเอาค่าของที่ส่งมอบแก่จำเลย จึงต้องฟ้องภายในกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) เมื่อโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ ทั้ง ๆ ที่มิได้วางบิลเรียกเก็บเงินก่อนเท่ากับเป็นการยกเลิกธรรมเนียมปฏิบัติทางการค้าระหว่างโจทก์และจำเลย ตลอดจนมีผลเป็นการยกเลิกการให้ สินเชื่อทั้งปวงแก่จำเลยด้วย กรณีฟังได้ว่าโจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันส่งมอบสินค้าให้แก่จำเลยเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2538 เกิน 2 ปี นับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบสินค้าตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2534 ถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2536 แก่จำเลย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาโตตุลาการ: การฟ้องคดีก่อนเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้คำปรึกษาในด้านเทคนิคพิเศษและด้านวิชาการเกี่ยวกับโครงการของจำเลย และมี ข้อสัญญาว่า หากคู่สัญญามีกรณีพิพาทเกิดขึ้นจากสัญญาดังกล่าวจะต้องเสนอข้อพิพาทนั้นให้อนุญาโตตุลาการแห่งกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ชี้ขาด ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ตกลงกันว่าจะเสนอข้อพิพาททางแพ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดมีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 เมื่อมีกรณีพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดก่อน
เมื่อสัญญาจ้างมีข้อความระบุชัดว่าคู่สัญญาต้องตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดข้อพิพาททั้งปวงที่เกิดจาก ข้อตกลงตามสัญญาจ้าง ดังนั้น ข้อพิพาทในคดีที่โต้เถียงกันว่าจำเลยต้องชำระค่าจ้างตามสัญญาจ้างให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากข้อตกลงตามสัญญาจ้างซึ่งคู่กรณีจะต้องหาทางระงับข้อพิพาทด้วยการตกลงกัน หากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องเสนอข้อพิพาทนั้นต่ออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด ข้อตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการดังกล่าวหาได้ใช้บังคับแต่เฉพาะเมื่อเกิดปัญหาในเรื่องการตีความข้อความในสัญญาจ้างไม่
ศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้สั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้เป็นที่สุด จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
เมื่อข้อสัญญาในสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 10 โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอ ข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 84