คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ภาษีเงินได้

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 232 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5521/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์: เจตนาในการได้มาอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
กำหนดเวลาให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30(2)เป็นการกำหนดเวลาให้ฟ้องคดีมิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ และถึงแม้ไม่ได้เป็นระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง อันกำหนดไว้ในป.รัษฎากร ศาลมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวได้ ก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จำเลยฟ้องโจทก์ให้ชำระหนี้ภาษีอากรกรณีเดียวกันนั้นศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยว่า การประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมาย พิพากษายกฟ้อง ขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่า การประเมินชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อศาลใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ แต่ขณะที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ อีกทั้งโจทก์ก็ยังไม่มีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลเพราะในขณะนั้นคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางยังมีผลผูกพันคู่ความอยู่พฤติการณ์ดังกล่าวนับว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือที่โจทก์ไม่อาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ศาลพึงขยายระยะเวลาให้โจทก์ได้ เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันจะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42(9) นั้น ต้องเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแสดงว่าต้องพิจารณาเจตนาของผู้ได้มาในขณะได้มาว่าเป็นการได้มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไรหรือไม่การที่ จ. ซื้อที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 แล้วทิ้งไว้นานจนถึงปี พ.ศ. 2523 จึงได้ขายไปโดยไม่ปรากฏว่า จ. ได้ปรับปรุงสภาพที่ดินให้ดีขึ้นอันเป็นปกติวิสัยของผู้ที่มีเจตนามุ่งในทางการค้าหรือหากำไรพึงกระทำและเหตุที่ จ. ซื้อที่ดินมาก็เพื่อหักหนี้ที่สามีของผู้ขายค้างชำระอยู่ส่วนหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า จ. ซื้อที่ดินมาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร เมื่อขายที่ดินแปลงดังกล่าวไปย่อมได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ในส่วนนี้ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และการแก้ไขการยื่นภาษีจากความสำคัญผิด
ประมวลรัษฎากร มาตรา 48(4) กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรเลือกเสียภาษีเฉพาะเงินได้ประเภทนี้ โดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(1)และ (2) ก็ได้นั้น เป็นการให้สิทธิผู้เสียภาษีและมีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้มีเงินได้ในประเภทดังกล่าว และสิทธิตามมาตรานี้มิได้มีข้อจำกัดไว้ว่าจะหมดไปเมื่อใด ดังนั้น จึงต้องถือว่าสิทธิของผู้เสียภาษีคงมีอยู่ตลอดเวลาที่ภาระในการเสียภาษียังมีอยู่ โจทก์มีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรจึงมีสิทธิตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 48(4) การที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมคำนวณด้วยความเข้าใจผิดเพราะคิดหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้องตามกฎหมายทำให้จำนวนภาษีซึ่งคำนวณตามวิธีที่โจทก์ยื่นเสียภาษีขาดไปเป็นจำนวนถึงสองล้านบาทเศษซึ่งถ้าโจทก์แยกยื่นเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไรแล้ว โจทก์จะมีจำนวนภาษีที่ต้องชำระเพิ่มอีกเพียงเก้าหมื่นบาทเศษเท่านั้นเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยื่นเสียภาษีโดยวิธีรวมยื่นนั้นเกิดขึ้นด้วยความสำคัญผิด เมื่อภาระหน้าที่ในการชำระภาษีของโจทก์ยังมีอยู่โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการยื่นเสียใหม่โดยใช้วิธีการยื่นแยกเฉพาะเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้เพราะไม่ทำให้จำนวนภาษีที่โจทก์จะต้องเสียขาดจำนวนไป การที่เจ้าพนักงานประเมินนำเอาการยื่นรวมที่โจทก์ยื่นด้วยความสำคัญผิดมาเป็นหลักในการประเมินโดยไม่ให้โอกาสโจทก์แก้ไขตามสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายย่อมเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการยินยอมให้ประเมินภาษีจากสินค้าชำรุด
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าว และโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว
บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ.มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆ ของ จ.เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ.ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุด เสื่อมสภาพ การยินยอมของโจทก์มีผลผูกพัน
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์ ผู้ขายส่งสินค้ามาให้ในนามของโจทก์ การเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตก็เปิดในนามของโจทก์ มิได้ระบุว่ากระทำในนามของบริษัท ท. ทั้งการยื่นใบขนสินค้าต่อกรมศุลกากรก็กระทำในนามของโจทก์ เมื่อโจทก์จ่ายเงินให้แก่ธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตลงบัญชีว่าบริษัทท. เป็นลูกหนี้และเมื่อบริษัท ท. จ่ายเงินให้โจทก์ ก็บันทึกลดยอดหนี้ดังกล่าวลงพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศในนามของโจทก์เอง แล้วโอนขายสินค้าดังกล่าวให้กับบริษัท ท. หาใช่เป็นการสั่งซื้อสินค้าแทนบริษัท ท. ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงเป็นการชอบเพราะโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายให้บริษัท ท.หรือมีการขายสินค้าชนิดเดียวกันให้แก่บุคคลอื่น จึงไม่อาจนำมาเปรียบเทียบเพื่อคิดคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. เพื่อให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินเมื่อ จ. ให้การยอมรับผิดและยอมรับว่า เมื่อบริษัทโจทก์ตรวจนับสินค้าคงเหลือไม่ตรงกับบัญชี บริษัทโจทก์ได้ปรับปรุงรายการเหล่านั้นเป็นสินค้าชำรุด และเสื่อมราคาและลงบัญชีซื้อเป็นต้นทุนขายไว้แล้วทั้งสิ้น แต่ยังมิได้ลงบัญชีขาย การที่เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งโจทก์ไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของโจทก์แต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆ เป็นเกณฑ์คำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จึงชอบ โจทก์ฎีกาคัดค้านว่า จำเลยประเมินภาษีการค้าให้โจทก์ชำระโดยมิชอบแต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินไม่ชอบอย่างไรทั้งโจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 512/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรากำไรมาตรฐานและการประเมินสินค้าชำรุดเสียหายเป็นยอดขาย
โจทก์สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเพื่อและในนามของโจทก์เอง มิได้สั่งแทนบริษัท ท. แล้วโจทก์โอนขายสินค้าดังกล่าวให้บริษัท ท. เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับว่ามีการโอนหรือขายสินค้าดังกล่าวและโจทก์ไม่เคยขายสินค้าชนิดเดียวกันนี้ให้แก่ผู้อื่น การที่จำเลยคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์จากอัตรากำไรมาตรฐานของสินค้าตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรจึงชอบแล้ว บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ จ. มาให้ถ้อยคำแก่เจ้าพนักงานประเมินแทนโจทก์โดยโจทก์ยอมรับผิดชอบต่อการกระทำใด ๆของ จ. เสมือนหนึ่งโจทก์ได้กระทำการนั้น ๆ เอง เมื่อ จ.ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าได้ตรวจพบว่าบริษัทโจทก์ลงบัญชีคุมสินค้าว่ามีสินค้าชำรุดและเสื่อมราคาเป็นจำนวนมาก และบริษัทได้ตัดบัญชีสินค้าเหล่านั้นออกจากบัญชีสินค้าคงเหลือโดยมิได้ลงบัญชีขาย จ. ยอมรับผิดและยอมให้เจ้าพนักงานประเมินราคาสินค้าซึ่งไม่ได้ลงบัญชีขายไว้เป็นยอดขายของบริษัทโดยใช้ราคาเฉลี่ยหรือราคาปกติของการขายสินค้าของบริษัทแต่ละประเภทสินค้าในปีนั้น ๆเป็นเกณฑ์คำนวณ ต้องถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยประเมินสินค้าที่โจทก์อ้างว่าชำรุดเสียหายเป็นสินค้าที่โจทก์จำหน่ายไป จำเลยจึงมีอำนาจประเมินเช่นนั้นได้โดยชอบ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าจำเลยประเมินภาษีการค้าของโจทก์โดยไม่ชอบอย่างไร ฟ้องโจทก์คัดค้านเฉพาะการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ทั้งโจทก์มิได้คัดค้านในเรื่องการประเมินภาษีการค้าต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดเพียงแต่ขอให้งดหรือลดเบี้ยปรับสำหรับภาษีการค้าโดยโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้าใจข้อกฎหมายคลาดเคลื่อน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์เกี่ยวกับภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาด เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงตามกฎหมาย
แม้ อ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์จะช่วยเหลือโจทก์โดยค้ำประกันหนี้ของโจทก์ แต่เป็นหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการที่ต้องระมัดระวังจัดการงานให้กิจการห้างหุ้นส่วนดำเนินไปด้วยดีและต้องเป็นผู้เสียสละด้วย การค้ำประกันดังกล่าวเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของหุ้นส่วนผู้จัดการ การที่โจทก์ตอบแทน อ. ด้วยการกู้ยืมเงินจากผู้อื่นหรือเอาเงินของโจทก์ที่มีอยู่ให้ อ. กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำมากเพียงร้อยละ 1.5 และ 1.25 ต่อปี ในขณะที่โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงกว่าให้แก่เจ้าหนี้นั้น จึงเป็นกรณีไม่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินดอกเบี้ยตามราคาตลาดในวันกู้ยืมได้ ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาการประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้า การประเมินเกินกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกสำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินภายในเดือนมีนาคม 2517 ซึ่งเมื่อนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ยื่นรายการจนถึงวันที่เจ้าพนักงานออกหมายเรียกแล้วเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปี การออกหมายเรียกจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร การประเมินของเจ้าพนักงานจึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจศาลชอบที่จะเพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ ปี พ.ศ. 2516เสียได้ ส่วนภาษีการค้าซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84และ 85 ทวิ นั้นปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินได้ภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามมาตรา88 ทวิ(2) การประเมินดังกล่าวจึงไม่เกินกำหนดเวลาตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณภาษีเงินได้ของลูกจ้าง: วิธีการคำนวณที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นค่าภาษีเงินได้ของลูกจ้าง ก่อนที่จะทราบว่าเป็นเงินได้จำนวนเท่าใด ต้องทราบเสียก่อนว่าลูกจ้างนั้นจะต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินของตนเป็นจำนวนเท่าใด และภาษีเงินได้ซึ่งลูกจ้างจะต้องเสีย หากนายจ้างออกให้ก็ต้องนำมารวมกับเงินได้พึงประเมินเดิมของลูกจ้าง เพื่อถือเป็นเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นของลูกจ้างผู้นั้น การที่จำเลยนำเอาจำนวนเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้นั้นมาคำนวณทุกทอดซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้จบ อันเป็นการคำนวณภาษีเงินได้ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษีเงินได้ที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ของ ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะนั้น วิธีการคำนวณของจำเลยจึงไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้: หลักฐานการรับฝากเงินไม่ชัดเจน เจ้าพนักงานประเมินถือยอดฝากจริงได้
โจทก์นำสืบพยานบุคคลที่อ้างว่ารู้เห็นเกี่ยวกับเงินฝากในธนาคารว่าเป็นของผู้อื่นหลายปากเพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยได้แล้วทั้งไม่ได้ความว่าพยานที่โจทก์จะนำสืบมีรายละเอียดเพิ่มเติมจากพยานโจทก์ที่นำสืบมาแล้วอย่างไร ศาลชั้นต้นมีอำนาจไม่อนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานบุคคลในประเด็นดังกล่าวของโจทก์ต่อไป เมื่อฟังไม่ได้ว่าเงินในบัญชีธนาคารเป็นเงินที่โจทก์รับฝากบุคคลอื่น เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงชอบที่จะถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีธนาคารของโจทก์ทั้งหมดเป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยเปรียบเทียบกิจการค้าของโจทก์กับร้านค้าซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกันกับโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้ การถือเอาเงินฝากทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน และการพิสูจน์ที่มาของเงิน
โจทก์อ้างว่าเงินในบัญชีกระแสรายวันของโจทก์รวมเงินอื่นซึ่งไม่ใช่เงินได้พึงประเมินไว้ด้วย เงินดังกล่าวมีเป็นจำนวนมากและเป็นของบุคคลหลายคน บุคคลในฐานะเช่นโจทก์น่าจะจัดทำหลักฐานการรับจ่ายไว้ แต่โจทก์ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับไปกลับมาจนฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าโจทก์ได้จัดทำหลักฐานไว้หรือไม่ ที่อ้างว่าเงินเป็นของบุคคลใดบ้างนั้นก็ล้วนมีข้อพิรุธ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือเอายอดเงินสดที่โจทก์นำเข้าฝากในบัญชีของโจทก์เป็นหลักในการคำนวณภาษีเงินได้ของโจทก์ โดยคิดเปรียบเทียบกับกิจการค้าขายของร้านอื่นซึ่งมีสถานการค้าอยู่ในทำเลเดียวกันและค้าขายสินค้าประเภทเดียวกัน แต่มียอดการเสียภาษีเงินได้แตกต่างกับโจทก์จึงชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) แล้ว
of 24