พบผลลัพธ์ทั้งหมด 308 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามเช็ค - ความเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา - มูลหนี้จากการยืมเงิน - การรับรองเช็ค
ในคดีส่วนอาญาจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามเช็คอันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯจึงไม่ใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาจะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์คดีเช็ค, การฟ้องคดีเช็ค และการพิสูจน์มูลหนี้ที่แท้จริง
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิดผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม. แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ดังนั้น เมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม. ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9653/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งมอบสินค้าไม่ตรงตามสัญญาถือเป็นการไม่ชำระหนี้ ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่อง
โจทก์ส่งกระดาษให้แก่จำเลยมีน้ำหนักไม่ถูกต้องตามขนาดที่ตกลงกันไว้เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ตกลงกันตามสัญญาถือได้ว่าโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป ฎีกาโจทก์ที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยในประเด็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยตามฟ้องแย้งซึ่งเป็นเรื่องความชำรุดบกพร่องขาดอายุความแล้วหรือไม่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่ากรณีพิพาทในคดีนี้เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้ข้อฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9546/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลายไม่ทำให้หนี้จากการสั่งจ่ายเช็คเป็นโมฆะ การกระทำผิดเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย
กรณีที่ศาลมีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์บุคคลใดหรือมีคำพิพากษาให้บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเกี่ยวกับสิทธิและสภาพของบุคคล บุคคลผู้ล้มละลายจะจัดการทรัพย์สินได้หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเองหรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างพิทักษ์ทรัพย์อยู่ ถ้าหากไปก่อหนี้สินขึ้นในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จะถือเอามูลหนี้นั้นไปขอรับชำระหนี้ไม่ได้ แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้หนี้สินนั้นสูญสิ้นไป โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย จำเลยที่ 2 กระทำผิดโดยสั่งจ่ายเช็ครวม 4 ฉบับ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2534 ถึงวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 ซึ่งธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2534 จำนวน 1 ฉบับ และเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2534 จำนวน 3 ฉบับ แต่จำเลยที่ 1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2535การกระทำผิดได้เกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลังแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตฟ้องแย้ง: เงินยืมทดรองจ่าย, เงินยืมจากลูกค้า, ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ไม่เกี่ยวข้องกับมูลหนี้เดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าจ้างก่อสร้างบ้านกับวัสดุพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยยื่นคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ชำระเงินหลายรายการ สำหรับเงินที่โจทก์เบิกล่วงหน้าเป็นเงินยืมทดรองจ่ายคนละสัญญาตามคำฟ้อง จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ส่วนเงินยืมจากลูกค้าของจำเลยเป็นเรื่องที่ลูกค้าต้องติดตามทวงถามจากโจทก์เอง จำเลยไม่มีสิทธินำมาหักทอนกับเงินค่าจ้างตามฟ้องได้ จึงไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม ส่วนเงินค่าตอกเสาเข็มใหม่และเงินค่าโฆษณาซึ่งเกิดจากการกระทำของโจทก์เป็นเงินที่ไม่เกี่ยวกับมูลหนี้ตามสัญญาในคำฟ้อง จำเลยชอบจะฟ้องร้องต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6760/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ย่อมไม่มีผลบังคับใช้ได้
จำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในการที่ไฟไหม้อาคารและทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย จึงไม่ก่อให้เกิดหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้แก่โจทก์ก็หามีผลให้จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวไม่เพราะเป็นการรับสภาพหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ที่จะให้รับสภาพหนี้จึงไม่มีผลบังคับแก่กันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ไม่ตรงกับมูลหนี้ และการฟ้องซ้ำ: การยกฟ้องและสิทธิอุทธรณ์
สัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารที่ ป.พ.พ.มาตรา 680 วรรคสองบังคับให้ต้องมีมาแสดงตรงตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 94 โจทก์คงมีเพียงเอกสารซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันและผู้ค้ำประกันทำสัญญาค้ำประกันค่าเช่าซื้อให้แก่... ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้ตามสัญญาหรือผู้เช่าซื้อตาย หรือล้มละลาย หรือหนี้... เหตุหนึ่งเหตุใดซึ่งกระทำให้ผู้ให้เช่าต้องเสียหายผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้... ตลอดจนค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น...ซึ่งเป็นสัญญาค้ำประกันการเช่าซื้อมาแสดงต่อศาลเท่านั้น หาใช่สัญญาค้ำประกันมูลหนี้การซื้อขายตามฟ้องมาแสดงต่อศาลไม่ การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 5ทำสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาเอกสารจึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 94 (ข) จึงต้องฟังว่าโจทก์ไม่มีเอกสารสัญญาค้ำประกันมูลหนี้ตามฟ้องมาแสดงต่อศาล โจทก์จึงฟ้องร้องให้จำเลยที่ 5 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2ถึงที่ 6 รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่ง ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 18 และมาตรา 228 (3) ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา 228 แห่ง ป.วิ.พ.
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของตนเองให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน หาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์ คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน
ฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2ถึงที่ 6 รับโอนเกินส่วนไปคืนแก่จำเลยที่ 1 หากจำเลยทั้งหกไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลเป็นการแสดงเจตนาแทนนั้น ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอีกเรื่องหนึ่ง ดังนี้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องของโจทก์ในคำฟ้องส่วนนี้นั้นเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามป.วิ.พ.มาตรา 18 และมาตรา 228 (3) ซึ่งมิได้ทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องหากเสร็จไปแต่ประเด็นบางข้อ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้เมื่อศาลพิพากษาคดีดังกล่าวแล้วตามบทบัญญัติวรรคสามของมาตรา 228 แห่ง ป.วิ.พ.
คำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ในนามของตนเองให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 โอนสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โดยปลอดจำนองเพื่อป้องกันสิทธิของโจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายและหากจำเลยทั้งหกไม่ยอมปฏิบัติตามก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาแทน หาได้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำฟ้องในคดีก่อน ซึ่งโจทก์ฟ้องโดยอาศัยเหตุว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมโอนสิทธิการครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขาย จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิครอบครองที่ดินดังกล่าวแล้วแก่โจทก์ คำฟ้องคดีนี้จึงไม่ซ้ำเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แม้รายละเอียดมูลหนี้ต่างจากฟ้อง
โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาโดยมีมูลหนี้ที่ ป.จะต้องชำระให้แก่โจทก์จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ จำเลยในฐานะทายาท ป.ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบว่า ป.สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ระบุว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าที่ดินไปบ้าง ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดของมูลหนี้ที่นำมาสู่การสั่งจ่ายเช็คพิพาทเท่านั้น แต่ก็เป็นเหตุที่ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบเช่นเดียวกัน ทั้งโจทก์ก็ฟ้องโดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่ ป.เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญ มิได้มุ่งให้รับผิดในมูลหนี้ซื้อขายที่ดินโดยตรง จึงไม่ถึงกับทำให้คดีของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้รายละเอียดมูลหนี้ต่างจากฟ้อง หากฟ้องมุ่งรับผิดตามเช็ค
โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาโดยมีมูลหนี้ที่ป. จะต้องชำระให้แก่โจทก์จริงโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบจำเลยในฐานะทายาทป. ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบว่าป. สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ระบุว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าที่ดินไปบ้างก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดของมูลหนี้ที่นำมาสู่การสั่งจ่ายเช็คพิพาทเท่านั้นแต่ก็เป็นเหตุที่ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบเช่นเดียวกันทั้งโจทก์ก็ฟ้องโดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่ป.เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญมิได้มุ่งให้รับผิดในมูลหนี้ซื้อขายที่ดินโดยตรงจึงไม่ถึงกับทำให้คดีของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบมูลหนี้และการชำระหนี้เกินจำนวนที่ค้างชำระ ศาลบังคับใช้ตามสัดส่วน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไรและเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริงโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวนและได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่งจึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328