พบผลลัพธ์ทั้งหมด 543 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกพิจารณาฟ้องแย้งในคดีแรงงาน: ฟ้องเดิมเรื่องยักยอกทรัพย์ ฟ้องแย้งเรื่องค่าจ้าง
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นเรื่องที่ขอให้บังคับจำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ยักยอกไป ส่วนจำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ขู่บังคับให้จำเลยลาออกโดยมิชอบ ขอให้บังคับโจทก์จ่ายค่าจ้างสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ดังนั้น ฟ้องเดิมเป็นคดีอันเกิดแต่มูลละเมิดเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงานและฟ้องแย้งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานและตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แม้ว่าทั้งฟ้องเดิมและฟ้องแย้งจะเป็นคดีแรงงานก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงตลอดจนหลักฐานที่จะนำสืบเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นแตกต่างกัน ไม่มีความเกี่ยวข้องเกี่ยวพันกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่อาจรับไว้พิจารณารวมกับฟ้องเดิมของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3242/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจฟ้องคดี: อำนาจผู้รับมอบ, ไม่จำกัดชื่อจำเลย/ข้อหา, อายุความละเมิด (ยักยอกทรัพย์)
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว.ส., ป., ก. คนใดคนหนึ่งในสี่คนเป็นผู้แทนของโจทก์และให้มีอำนาจกระทำการแจ้งความดำเนินคดี แต่งตั้งทนายความ ฟ้องต่อสู้และดำเนินคดีเกี่ยวกับกิจการสหกรณ์โจทก์ ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบุคคลใดในข้อหาใดที่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์ได้โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อบุคคลและข้อหาที่จะฟ้องในหนังสือมอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1ผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้จำนองและผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์โดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากจำเลยที่ 1 ซึ่งยักยอกทรัพย์สินของโจทก์ไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความละเมิดตามมาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์ – อายุความ – ยอมความ: การเบียดบังสินค้าคืนจากลูกค้าเป็นความผิดฐานยักยอก การแจ้งความหลังตรวจพบของกลางไม่ขาดอายุความ การรับปากคืนสินค้าไม่ใช่การยอมความ
จำเลยเป็นลูกจ้างขายสินค้าเวชภัณฑ์ ของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายจากโจทก์ร่วมให้ไปเก็บเงินค่าสินค้ายาและรับสินค้ายาคืนจากลูกค้าจำเลยได้รับสินค้ายามาแล้ว แต่ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ร่วม กลับนำไปขายต่อให้ลูกค้ารายอื่น อันเป็นการเบียดบังเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตย่อมมีความผิดฐานยักยอก ว.ตรวจร้านขายยาต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจำเลยรับสินค้ายาคืนมาแล้วไม่นำส่งโจทก์ร่วม จึงแจ้งให้ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของโจทก์ร่วมทราบเมื่อเดือนธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดนับแต่บัดนั้น โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อเดือนมกราคม 2527 คดีจึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นฎีกาได้ การที่จำเลยยอมรับว่าจะนำสินค้ายาตามบันทึกรายการสินค้ายาที่รับคืนมาจากลูกค้ามาคืนให้แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการยอมความอันจะทำให้คดีอาญาระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การยักยอกทรัพย์ การกำหนดสถานที่เกิดเหตุและอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวน
ผู้เสียหายฝากทรัพย์สินกับจำเลยที่ประเทศซาอุดิอาระเบียเพื่อให้จำเลยนำมาให้ภริยาของผู้เสียหายในประเทศไทย เมื่อผู้เสียหายกลับมาประเทศไทยจึงทราบว่าจำเลยไม่ได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหาย และจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากผู้เสียหายจึงร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยมูลแห่งความผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพย์ตามข้อนำสืบของโจทก์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ อันแสดงถึงเจตนาทุจริตเบียดบังทรัพย์เป็นของตน เหตุจึงเกิดที่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย มิใช่เกิดที่ประเทศซาอุดิอาระเบียพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้เมื่อได้มีการสอบสวนโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: เหตุเกิดในไทย แม้ฝากทรัพย์จากต่างประเทศ
จำเลยจะเดินทางจากประเทศซาอุดีอาระเบียกลับประเทศไทยผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยทราบว่าจำเลยมิได้นำทรัพย์สินที่ฝากมาให้กับภริยาผู้เสียหายจึงได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลังแล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์ เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทยมิใช่ที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ที่สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปี พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีจึงมีอำนาจสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาฐานยักยอกทรัพย์: สถานที่กระทำความผิดและภูมิลำเนาจำเลย
จำเลยจะเดินทางกลับประเทศไทย ผู้เสียหายได้ฝากทรัพย์สินมากับจำเลยเพื่อฝากให้ภริยาผู้เสียหายในประเทศไทย ต่อมาผู้เสียหายเดินทางกลับมาประเทศไทยได้ไปทวงถามที่บ้านจำเลยที่อำเภอกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี จำเลยบอกว่าจะคืนให้ภายหลัง แล้วจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝาก มูลความผิดฐานยักยอกทรัพย์เกิดเมื่อจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้รับฝากทรัพย์ เหตุจึงเกิดที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรอำเภอกุมภวาปีมีอำนาจสอบสวนได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้ตนเองโดยทุจริต มีความผิดฐานยักยอกทรัพย์และผิดหน้าที่
การเจรจาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทยังตกลงกันไม่ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล จำเลยมีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน จำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลย รู้ ว่าทรัพย์มรดกส่วนที่เป็นที่ดินจำเลยต้องแบ่งให้แก่ทายาททุกคน เท่า ๆ กันแต่จำเลยจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตน โดยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการ ทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่ด้วยการจดทะเบียน โอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนโดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกยักยอกทรัพย์สิน อ้างความเข้าใจผิด ศาลฎีกาตัดสินว่าเป็นการทุจริต
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางเหลียงตามคำสั่งศาลและจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมด้วยคนหนึ่ง ทายาทเจรจาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างกันแต่ตกลงกันไม่ได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้จัดการมรดก จำเลยมีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน จำเลยไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาล กระทำผิดหน้าที่จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 353ประกอบด้วยมาตรา 354
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทองผ่อนส่งไม่ใช่การมอบทรัพย์สินเพื่อขายในฐานะตัวแทน ยักยอกทรัพย์ไม่สำเร็จ เป็นเพียงผิดสัญญา
จำเลยซื้อทองจากโจทก์โดยวิธีผ่อนส่ง โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในสัญญารับเป็นตัวแทนไว้ แต่การปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยไม่ใช่เรื่องตัวการตัวแทน จำเลยไม่ชำระเงินค่าทองให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายทองผ่อนส่งและการพิสูจน์ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ กรณีไม่มีเจตนาทุจริต
จำเลยซื้อทองจากโจทก์โดยวิธีผ่อนส่ง โดยโจทก์จะทำหลักฐานการผ่อนชำระเงินเป็น 2 ฉบับ โจทก์จำเลยเก็บไว้คนละฉบับ แต่โจทก์ให้จำเลยลงชื่อในสัญญารับเป็นตัวแทนไว้โดยจำเลยมิได้เป็นตัวแทนของโจทก์ การปฏิบัติระหว่างโจทก์จำเลยดังนี้ ไม่ใช่เรื่องตัวการตัวแทน แม้จำเลยยังไม่ได้ชำระเงินค่าทองให้โจทก์ ก็เป็นเรื่องผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์