พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเบิกจ่ายเงินศาสนสมบัติยักยอกเงินเข้าตนเอง มีความผิดตามมาตรา 147
จำเลยมีตำแหน่งเป็นครูประชาบาลเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นจัตวา นายอำเภอซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจสั่งให้จำเลยไปปฏิบัติหน้าที่ช่วยราชการแผนกศึกษาธิการ ให้ทำหน้าที่จัดการศาสนสมบัติอันเป็นราชการได้ เมื่อจำเลยเบิกเงินศาสนสมบัติมาแล้วเบียดบังเอาไปเป็นของตนหรือของผู้อื่นโดยทุจริต จึงมีความผิดตามมาตรา 147 แม้เงินศาสนสมบัติที่ยักยอกไปเป็นเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ก็หาใช่ข้อสำคัญแห่งคดีไม่ เพราะฟังได้ว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยเบิกมาตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของเสมียนตราอำเภอที่ยักยอกเงินค่าจำหน่ายพระเครื่อง และการปลอมแปลงเอกสารที่ไม่เข้าข่ายเอกสารราชการ
จำเลยเป็นเสมียนตราอำเภอ มิได้รับแต่งตั้งหรือมอบหมายจากนายอำเภอผู้รับผิดชอบในการจำหน่ายพระเครืองในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ให้จำเลยมีหน้าที่จำหน่ายหรือรักษาเงินจำหน่ายพระเครื่อง หากจำเลยยักยอกเงินที่จำเลยจำหน่ายพระเครื่องได้ไป การกระทำของจำเลยก็มิใช่เจ้าพนักงานกระทำผิดในตำแหน่งหน้าที่ราชการ จำเลยคงมีความผิดฐานยักยอกธรรมดาตามมาตรา 352
การที่จำเลยแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นไว้เป็นส่วนตัวเพื่อแสดงทางได้เงินจากการจำหน่ายพระเครื่องซึ่งจำเลยจำหน่ายไปโดยจำเลยมิได้ออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้มีชื่อในต้นขั้วด้วยนั้น ไม่เป็นการปลอมเอกสาร แต่ถ้าหากจำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อไป แล้วแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินให้น้อยลง การกระทำของจำเลยก็เป็นการแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทำให้เกิดเสียหายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 268
การที่จำเลยแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นไว้เป็นส่วนตัวเพื่อแสดงทางได้เงินจากการจำหน่ายพระเครื่องซึ่งจำเลยจำหน่ายไปโดยจำเลยมิได้ออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้มีชื่อในต้นขั้วด้วยนั้น ไม่เป็นการปลอมเอกสาร แต่ถ้าหากจำเลยออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ซื้อไป แล้วแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินให้น้อยลง การกระทำของจำเลยก็เป็นการแก้ต้นขั้วใบเสร็จรับเงินที่แท้จริงเพื่อแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ทำให้เกิดเสียหายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีผิดฐานปลอมเอกสารตามมาตรา 268
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 822/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ทุจริตเรียกเก็บค่าธรรมเนียมทางหลวง ยักยอกเงินเข้าตนเอง
จำเลยมีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมเป็นรายได้รัฐบาลโดยขายบัตรให้แก่ผู้ใช้ทางหลวงสายพหลโยธินที่ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตจำเลยได้นำบัตรของด่านรังสิตที่ใช้แล้วมาหมุนเวียนขายให้แก่ผู้ใช้ยานยนต์ซึ่งผ่านประตูน้ำพระอินทร์ไปยังด่านรังสิตแล้วยักยอกเอาเงินค่าธรรมเนียมขายบัตรนั้นเป็นประโยชน์ของตนเสียย่อมผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ไม่ผิดตามมาตรา 353
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของพนักงานบัญชีต่อการทุจริตยักยอกเงินของผู้อื่น แม้บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นพนักงานบัญชีประจำธนาคารออมสิน มีหน้าที่ลงบัญชี และมีระเบียบให้ทำหน้าที่ลงราบการในสมุดฝากเงินและบัตรคู่บัญชีด้วย แต่ปรากฎว่าทางปฏิบัติหาได้ถือตามระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ลงรายการในบัตรคู่บัญชีด้วย แต่ปรากฎว่าทางปฏิลัติหาได้ถือตามระเบียบให้จำเลยเป็นผู้ลงรายการในบัตรคู่บัญชีเพียงผู้เดียวโดยเคร่งครัดไม่ บุคคลอื่นเป็นผู้ลงรายการก็มี เมื่อเป็นเหตุให้ผู้จัดการธนาคารออมสินทุจริตยักยอกเงินไป ก็ถือเพียงว่าจำเลยบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น จะฟังว่าจำเลยร่วมกระทำผิดหรือช่วยเหลือให้ความสะดวกในการทุจริตด้วยหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 900/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยยักยอกเงินเบิกจ่ายของราชการ ไม่ถือเป็นตัวแทนของผู้บังคับบัญชา
จำเลยที่ 1 รับราชการแขวงการทางจังหวัด เบิกเงินจากจำเลยที่ 2 ผู้กำกับแขวงการทางซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 เพื่อชำระค่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อจากโจทก์มาใช้ในราชการแขวงการทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินนั้นเสียดังนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้บังคับบัญชาจำเลยที่ 1 ก็เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบการจำเลยที่ 1 หาใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ไม่ จะนำกฎหมายเรื่องตัวการตัวแทนมาใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 และการเรียกร้องดอกเบี้ย
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
(อ้างฎีกาที่ 890/2503)
2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาลเช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้
3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว
4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319
(ข้อ 2 โดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1683/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์กรณีการยักยอกเงินของสนามม้า
นายสนามม้าขององค์การทหารผ่านศึก มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการทั้งหลายของสนามม้า เช่นการอนุญาตให้แข่งม้า รายได้รายจ่ายผลกำไรขาดทุนการตรวจรับรองบัญชีเงิน และปกครองบังคับบัญชาคนงาน เมื่อมีผู้ยักยอกเงินของสนามม้าไป นายสนามม้านั้นย่อมเป็นผู้เสียหายด้วยและมีอำนาจร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงานนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งย้ายและมอบหมายหน้าที่ข้าราชการของ ผู้ว่าราชการจังหวัด และความผิดฐานยักยอกเงิน
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกรมมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งย้ายจำเลยไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอตรีประจำอำเภอเมือง พร้อมกันนั้นก็ได้สั่งให้จำเลยคงทำงานเป็นผู้ช่วยเสมียนตราจังหวัดอยู่ ณ ที่เก่า มีหน้าที่รับเงินอากรการฆ่าสัตว์ที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดนั้นนำส่งแผนกมหาดไทย เพื่อนำฝากคลังตามระเบียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อจำเลยรับเงินประเภทดังกล่าวนั้นแล้ว นำไปหาผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่นำฝากคลัง ก็ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ตามที่แก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องยักยอกเงินโดยไม่ระบุจำนวนเงินที่ยักยอกแต่ละประเภท ศาลไม่อาจสั่งให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ได้
ฟ้องว่ายักยอกเงิน 2 ประเภท กล่าวบรรยายแต่ยอดรวมมาว่า รวมเป็นเงินเท่าใด โดยมิได้แยกออกเป็นรายประเภทไว้ เพราะไม่ปรากฎแน่ชัดว่ายักยอกประเภทละเท่าใด เมื่อฟังว่ายักยอกจริง แต่เงินประเภทหนึ่งได้ขาดอายุความฟ้องร้องเสียแล้วและทางพิจารณาก็ไม่ได้ความว่าประเภทที่ยังไม่ขาดอายุความเป็นเงินเท่าใด ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยศาลกล่าวว่า ในชั้นนี้จำเลยจึงยังไม่ให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์