พบผลลัพธ์ทั้งหมด 587 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ต้องพิจารณาสภาพรถ ณ เวลาจดทะเบียน ไม่ใช่การดัดแปลงภายหลัง
ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตท้าย พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2534 ได้ระบุไว้ว่า รถยนต์นั่ง หมายความว่า รถยนต์เก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตู หรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด ส่วนรถยนต์กระบะ หมายความว่ารถยนต์ ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุกซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา ถ้อยคำที่ปรากฏตามตัวอักษรดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายโดยแจ้งชัดว่าการเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น ต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่ มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่
จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงาน ขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้องจึงอนุญาตให้จดทะเบียนรถยนต์ดังกล่าวได้ จำเลยก็ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาล เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่งดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ลำพังแต่ การกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสองเสียภาษี สรรพสามิตตามฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6951/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีสรรพสามิต: การพิจารณาประเภทรถยนต์ตามสภาพและลักษณะการใช้งาน ไม่ใช่แค่แชสซีส์
การเสียภาษีสรรพสามิตตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้นต้องดูสภาพและลักษณะของรถยนต์เป็นสำคัญว่าเป็นรถยนต์นั่งหรือไม่มิใช่ถือเอาแชสซีส์ของรถยนต์เป็นสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนรถยนต์ของกลางเป็นรถยนต์ประเภทกระบะบรรทุก และเจ้าพนักงานสำนักงานขนส่งได้ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่าถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต ส่วนกรณีที่รถยนต์ของกลางได้มีผู้ดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่งในเวลาต่อมานั้น โจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ดัดแปลงรถยนต์ของกลางให้มีสภาพเป็นรถยนต์นั่ง ลำพังแต่การกล่าวอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้นำเข้าอะไหล่มาประกอบเป็นรถยนต์แล้วขายไป หาเพียงพอที่จะให้ จำเลยทั้งสองเสียภาษีสรรพสามิตตามฟ้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของมิได้รู้เห็นการกระทำผิด
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.อ.มาตรา 36 ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปี ก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ป.อ.มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้วจึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
ป.อ.มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้วจึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6463/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถยนต์ของกลางที่ศาลสั่งริบต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากวันคำพิพากษาถึงที่สุด แม้เจ้าของรถไม่รู้เห็นเป็นใจ
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบรถยนต์ของกลางไปแล้วก็ชอบที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของแท้จริงและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยจะต้องยื่นคำเสนอขอคืนต่อศาลภายใน1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลางต่อศาลชั้นต้นภายหลังวันคำพิพากษาถึงที่สุดเกิน 1 ปี ย่อมต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางและมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลย ทั้งเพิ่งทราบผลคำพิพากษาเมื่อพ้น 1 ปีก็ตาม ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าการขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบจะต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด บทกฎหมายดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องถือว่าทุกคนรู้ บุคคลใดรวมทั้งผู้ร้องจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ การคิดค่าเสียหาย ค่าขาดประโยชน์ และภาษีมูลค่าเพิ่ม
รถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นรถยนต์เก๋งส่วนบุคคล มิใช่รถยนต์รับจ้างทั่วไป โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์ออกไปทำธุรกิจให้บุคคลทั่ว ๆ ไปเช่าเป็นรายเดือนได้ทุกเดือน ค่าเสียหายหรือค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เป็นรายเดือนที่ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดนี้ ตามปกติย่อมคิดเทียบได้กับดอกเบี้ยซึ่งผู้ให้เช่าซื้อคิดรวมกันไว้ล่วงหน้าตามจำนวนปี หรืองวดที่ผ่อนชำระจากราคารถยนต์ที่แท้จริง
ภายหลังที่ผู้ใช้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาแก่ผู้เช่าซื้อแล้ว ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อ ยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าผู้เช่าซื้อจะส่งมอบรถยนต์คืนผู้ให้เช่าซื้อหรือชดใช้ราคา ค่าเสียหายส่วนนี้ศาลควรกำหนดระยะเวลาที่จำเลยต้องรับผิดไว้ด้วย เพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมต้องเสื่อมสภาพไปตามปกติของการใช้
โจทก์เรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าเสียหายซึ่งประกอบด้วยราคารถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อและ ค่าขาดประโยชน์ แต่เมื่อเลิกสัญญาเช่าซื้อกันแล้วจำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกสัญญา หาใช่เป็นการชำระค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดอันจะก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์ขอ
ภายหลังที่ผู้ใช้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาแก่ผู้เช่าซื้อแล้ว ผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าซื้อ ยังครอบครองใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินอยู่ ผู้เช่าซื้อจึงต้องรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าผู้เช่าซื้อจะส่งมอบรถยนต์คืนผู้ให้เช่าซื้อหรือชดใช้ราคา ค่าเสียหายส่วนนี้ศาลควรกำหนดระยะเวลาที่จำเลยต้องรับผิดไว้ด้วย เพราะรถยนต์ที่เช่าซื้อย่อมต้องเสื่อมสภาพไปตามปกติของการใช้
โจทก์เรียกเก็บค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากค่าเสียหายซึ่งประกอบด้วยราคารถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อและ ค่าขาดประโยชน์ แต่เมื่อเลิกสัญญาเช่าซื้อกันแล้วจำนวนเงินที่ศาลกำหนดให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกสัญญา หาใช่เป็นการชำระค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดชำระแต่ละงวดอันจะก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียค่าภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่โจทก์ขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อที่สูงกว่าความเป็นจริง จำเลยต้องยกข้อเท็จจริงราคาปัจจุบันที่ชัดเจนต่อศาลจึงจะรับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 36,000 บาทให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วยเพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมาก โดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายรถยนต์เช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอนาคต
ศาลชั้นต้นกำหนดราคารถยนต์ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนได้เป็นเงิน 320,000 บาท ค่าขาดประโยชน์เดือนละ 7,000 บาท 9 เดือน เป็นเงิน 63,000 บาท โดยศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดประโยชน์เหลือเดือนละ 4,000 บาท 9 เดือนเป็นเงิน 36,000 บาท ให้จำเลยทั้งสองชดใช้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ที่ศาลชั้นต้นกำหนดและศาลอุทธรณ์แก้ไขในส่วนนี้ จำเลยทั้งสองยังไม่อาจเห็นพ้องด้วย เพราะเป็นราคาที่กำหนดไว้สูงกว่าความเป็นจริงในปัจจุบันมากโดยจำเลยทั้งสองไม่ได้ระบุว่าราคารถยนต์และค่าขาดประโยชน์ในปัจจุบันควรเป็นจำนวนเท่าใด ข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องที่กำหนดให้ศาลรู้ได้เอง ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้ จึงเป็นการไม่ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์เพิ่งมีกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อภายหลังวันทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ให้การไว้ ศาลก็ชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเพราะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อขายต่อเนื่องและการริบรถยนต์ที่ใช้ในการกระทำผิด
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อขายตามพ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 13 ทวิ วรรคหนึ่ง,89 และ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15, 67 เป็นความผิดที่เกิดขึ้นและมีอยู่ต่อเนื่องกันไปตลอดเวลา นับตั้งแต่ได้เมทแอมเฟตามีนของกลางมาจนกระทั่งขนเคลื่อนย้ายไป การที่จำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีน 245 เม็ด ที่ได้มาทั้งหมดไปซุกซ่อนไว้ที่ใต้พวงมาลัยรถยนต์ของกลางแล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 นำรถยนต์ของกลางเคลื่อนที่ไปตามถนนหลวง ล้วนเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นในขณะที่การกระทำความผิดยังต่อเนื่องไม่ขาดตอน ถือได้ว่ารถยนต์ของกลางที่นำมาใช้ลำเลียงเมทแอมเฟตามีนไป เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสี่โดยตรง โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำรถยนต์มาใช้ ด้วยการรู้เห็นของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ครอบครองใช้รถยนต์นั้นอยู่ จึงต้องริบรถยนต์ของกลางตาม ป.อ.มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1780/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์โอนเมื่อซื้อขายสำเร็จ แม้มีข้อตกลงริบมัดจำ
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า" ... หากผู้ซื้อไม่นำเงินมาชำระตามกำหนด ผู้ซื้อยินยอมให้ผู้ขายริบเงินมัดจำและคืนรถทันทีในสภาพเรียบร้อยทุกประการ..." เป็นเพียงการกำหนดวิธีการบังคับเมื่อเกิดกรณีผิดสัญญาขึ้นเท่านั้นหาใช่เงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ไม่ ถือว่าสัญญาซื้อขายระหว่าง พ.กับ ป.เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทย่อมตกเป็นของ ป.ตั้งแต่ขณะที่การซื้อขายสำเร็จแล้ว
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ไช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท จำเลยซึ่งไม่ไช่เจ้าของไม่มีสิทธิที่จะยึดถือใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์พิพาทไว้ ต้องโอนทะเบียนและมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถให้แก่โจทก์
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบใบคู่มือจดทะเบียนรถพร้อมเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนแก่โจทก์ หรือขอให้จำเลยออกเอกสารเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ไม่จำต้องคืนเอกสารแก่โจทก์ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยแยกจากสัญญาเช่าซื้อ ผู้รับประโยชน์มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ แม้รถยนต์จะถูกยึดคืน
ว. เช่าซื้อรถยนต์คันพิพาทจากโจทก์และได้ทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ไว้กับจำเลย โดยระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์สัญญาประกันภัยระหว่าง ว. กับจำเลยเป็นสัญญาอีกสัญญาหนึ่งแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ลักษณะของสัญญาแต่ละสัญญา แม้ว่าสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. จะสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไปก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น ส่วนสัญญาประกันภัยนั้นจะสิ้นสุดลงหรือไม่ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดในสัญญา เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาประกันภัยสิ้นสุดลง สัญญาประกันภัยก็จะมีผลใช้บังคับอยู่ จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาประกันภัย จะปัดความรับผิดชอบตามสัญญาหาได้ไม่ และเมื่อสัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่เป็นลูกหนี้โดยตรงได้ สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ไม่ระงับไป
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย
โจทก์ยึดรถยนต์คืนเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาเช่าซื้อ โจทก์นำรถยนต์ไปเก็บไว้ที่วัดซึ่งเป็นลานจอดรถสาธารณะบุคคลทั่วไปก็สามารถนำรถไปจอดได้ โจทก์ได้ตกลงกับวัด ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้ว่าโจทก์จะไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ก็เห็นได้ว่าในการจัดที่จอดรถให้แก่โจทก์ ทางวัดจะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อจะได้ทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คัน เพื่อที่จะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า โจทก์ได้ใช้ความระมัดระวังพอสมควรแล้วการกระทำของโจทก์ไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยในกรณีรถหายระบุว่าผู้เอาประกันจะต้องแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและแจ้งให้จำเลยผู้รับประกันทราบโดยไม่ชักช้า โจทก์ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 หลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน และได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2534 ถือได้ว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้ว โจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า ในกรณีรถยนต์สูญหายอันเกิดจากการลักทรัพย์ บริษัทจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินจำกัดความรับผิดตามสัญญาข้อ 3.1 ในรายการ 4 ของตารางซึ่งกำหนดไว้ 700,000 บาท จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประโยชน์เป็นเงิน 700,000 บาท มิใช่รับผิดตามราคาท้องตลาดในขณะรถยนต์สูญหาย