คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 171 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจหลังพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518ในมาตรา 4 (4) เป็นว่า พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95 วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2534 มาตรา 55 วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สมาชิกภาพสหภาพแรงงานของพนักงานรัฐวิสาหกิจสิ้นสุดลงตามกฎหมายใหม่
โจทก์เป็นพนักงานของการท่าเรือแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจฟ้องขอให้บังคับ จำเลยรับจดทะเบียนให้โจทก์เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานรวมพนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทยในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ในมาตรา 4(4) เป็นว่าพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่กิจการรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 95วรรคสอง เป็นว่า ห้ามมิให้พนักงานและฝ่ายบริหารตามกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน กับได้มีพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มาตรา 55วรรคแรก บัญญัติว่า บรรดาสหภาพแรงงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นอันสิ้นสุดลง โจทก์จึงไม่อาจเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ คดีของโจทก์ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป จึงต้องจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายพนักงานรัฐวิสาหกิจหลังการจัดตั้งใหม่ จำเลยมีอำนาจใช้ดุลพินิจในการรับเข้าทำงาน
ตาม พ.ร.ฎ. จัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยมิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้จำเลยรับช่วงโอนกิจการและหนี้สินของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นของจำเลย คงมีบทบัญญัติกำหนดให้จำเลยพิจารณาบรรจุและแต่งตั้งพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดซึ่งมีอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับเป็นพนักงานของจำเลยตามที่เห็นสมควร ฉะนั้นตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการกำหนดให้จำเลยใช้ดุลพินิจ ในการรับพนักงานและลูกจ้างของบริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดมาเป็นพนักงานของจำเลยตามที่จำเลยเห็นสมควร ดังนี้โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้โจทก์จะมีฐานะเป็นลูกจ้างจำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยใช้ดุลพินิจ รับโจทก์เข้าทำงานแล้วการที่โจทก์มิได้แสดงความจำนงขอเข้าทำงานกับจำเลย และจำเลยมิได้พิจารณารับโจทก์เข้าเป็นพนักงานโจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างจำเลยแต่ต้น จึงไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยต้องรับโจทก์กลับเข้าทำงานและเรียกค่าจ้างระหว่างพักงานจากจำเลยในฐานะนายจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจถือเป็นการเลิกจ้าง มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ซึ่งมีอายุครบ60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจฯผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงานมิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุพนักงานรัฐวิสาหกิจ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 กำหนดให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้น มีความหมายว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งทันที ดังนี้เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างดำเนินการให้โจทก์ออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าบริการของรัฐวิสาหกิจ: พิจารณาจากฐานะผู้ค้าบริการตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7)
ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยพ.ศ. 2497 องค์การโทรศัพท์โจทก์มีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการโทรศัพท์และธุรกิจที่ต่อเนื่องใกล้เคียงกันหรือซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการโทรศัพท์ และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า เพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวในมาตรา 6 ให้องค์การโทรศัพท์มีอำนาจรวมถึง...(3) กำหนดอัตราค่าเช่า ค่าดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ค่าบริหารอื่น ๆ ของกิจการโทรศัพท์และจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระค่าต่าง ๆ ดังกล่าว ดังนั้นการที่โจทก์เรียกค่าเช่าค่าบริการที่จำเลยค้างชำระจึงถือว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันพึงได้รับในการนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความ2 ปี ไม่ใช่อายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 157/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเกษียณอายุของพนักงานรัฐวิสาหกิจ: การพิจารณาว่าเป็นเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
พระราชบัญญัติ ญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 มาตรา 11 ที่บัญญัติให้พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์พ้นจากตำแหน่งนั้นมีความหมายว่าเมื่อพนักงานรัฐวิสาหกิจผู้ใดมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์อันเป็นการขาดคุณสมบัติแล้วก็ให้รัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ผู้นั้นออกจากงาน มิได้หมายความว่าพนักงานผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งในทันที เมื่อจำเลยดำเนินการให้โจทก์ทั้งยี่สิบหกคนออกจากงานเพื่อให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 หาใช่เป็นการออกจากงานโดยผลของกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ, การคำนวณหน่วยไฟฟ้าผิดพลาด, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ: มติคณะรัฐมนตรี vs. พระราชกฤษฎีกา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้วผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้างผู้คัดค้านต่อไป กรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ: การยุบเลิกกิจการโดยมติคณะรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีผลต่อการเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้าง ผู้คัดค้านต่อไปกรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้อง ขอ อนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.
of 18