พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าเปียกน้ำ และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล เนื่องจากของที่ขนส่งเปียกน้ำ โดยระบุเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายเกิดจากการประมาทเลินเล่อของนายเรือผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะ และส่งสำเนากรมธรรม์มาด้วย ซึ่งตามกรมธรรม์ ข้อ 9 ระบุว่า บริษัทไม่ต้องรับผิดจากภัยอันเนื่องจากการเสียหาย ฯลฯ อันเกิดแต่การเลินเล่อของนายเรือจำเลยมิได้ยกกรมธรรม์ ข้อ 9 ขึ้นมาต่อสู้ เพื่อให้พ้นความรับผิด ก็ไม่มีประเด็นในข้อนี้ ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจหยิบยกกรมธรรม์ ข้อ 9 นั้น ขึ้นวินิจฉัยให้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลระบุว่า ประกันภัยน้ำย่อมกินความถึงการเปียกน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลหรือน้ำจืด ซึ่งทำให้ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหาย
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล ไม่มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายไทย แต่นำเอาอายุความรับขนตาม มาตรา 624 ป.พ.พ. มาใช้ปรับแก่คดีได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลระบุว่า ประกันภัยน้ำย่อมกินความถึงการเปียกน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลหรือน้ำจืด ซึ่งทำให้ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหาย
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล ไม่มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายไทย แต่นำเอาอายุความรับขนตาม มาตรา 624 ป.พ.พ. มาใช้ปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีทรัพย์สินเสียหายจากการขนส่ง และอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล เนื่องจากของที่ขนส่งเปียกน้ำ โดยระบุเหตุที่ทำให้ทรัพย์สินของโจทก์เสียหายเกิดจากการประมาทเลินเล่อของนายเรือผู้ควบคุมดูแลยานพาหนะ และส่งสำเนากรมธรรม์มาด้วยซึ่งตามกรมธรรม์ ข้อ 9 ระบุว่า บริษัทไม่ต้องรับผิดจากภัยอันเนื่องจากการเสียหายฯลฯ อันเกิดแต่การเลินเล่อของนายเรือจำเลยมิได้ยกกรมธรรม์ ข้อ 9 ขึ้นมาต่อสู้เพื่อให้พ้นความรับผิด ก็ไม่มีประเด็นในข้อนี้ ดังนี้ ศาลไม่มีอำนาจหยิบยกกรมธรรม์ ข้อ 9 นั้น ขึ้นวินิจฉัยให้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2502)
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลระบุว่า ประกันภัยน้ำย่อมกินความถึงการเปียกน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลหรือน้ำจืด ซึ่งทำให้ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหาย
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล ไม่มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายไทย แต่นำเอาอายุความรับขนตามมาตรา 624 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีได้
สัญญาประกันภัยการขนส่งทางทะเลระบุว่า ประกันภัยน้ำย่อมกินความถึงการเปียกน้ำทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำทะเลหรือน้ำจืด ซึ่งทำให้ทรัพย์สินของผู้เอาประกันภัยเสียหาย
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับขนส่งทางทะเล ไม่มีบทบัญญัติไว้ในกฎหมายไทย แต่นำเอาอายุความรับขนตามมาตรา 624 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้ปรับแก่คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในความเสียหายจากน้ำล้างแร่และการรับประกันภัย แม้เหตุสุดวิสัยก็ไม่ปลดเปลื้องความรับผิดหากเกิดจากสิ่งอันตรายในที่ของตน
ละเมิด เหตุสุดวิสัย ไม่เปนข้อแก้ตัวถ้าผู้ใดนำสิ่งที่เปนอันตรายมาไว้ในที่ของตนวิธีพิจารณาแพ่งศาลสูงไม่แก้ไข ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างวินิจฉัยมาเว้นแต่จะมีเหตุผลอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยอ้างเหตุใหม่ในชั้นฎีกา และคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
แม้ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่ได้ระบุโดยตรงว่า จำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 2 ก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ แต่ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 รับว่า ได้รับประกันภัยรถยนต์หมายเลขทะเบียน สย 9160 กรุงเทพมหานคร ไว้จริง เพียงแต่ปฏิเสธว่า เหตุละเมิดไม่ได้เกิดในขณะมีการขับเคลื่อนรถยนต์ แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยและทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 มิได้กระทำละเมิดในขณะขับรถ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด กรณีตามคำให้การดังกล่าว จำเลยที่ 2 หาได้หลงต่อสู้ไม่ คำฟ้องโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 อ้างทำนองว่า ถังสีตกมาจากด้านบนของตึก จำเลยที่ 2 ก็เพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เกี่ยวกับความเสียหายที่อ้างว่าโจทก์เรียกร้องสูงเกินจริง จำเลยที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งให้ชัดแจ้งว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามจำนวนเงินค่าซ่อมตามที่โจทก์มีใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานนั้น ค่าซ่อมรายการใดที่ไม่จำเป็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในปัญหาที่กล่าวมาจึงไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ด้วยเหตุผลใด ทั้งยังมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้าง หาได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)
จำเลยที่ 2 อ้างทำนองว่า ถังสีตกมาจากด้านบนของตึก จำเลยที่ 2 ก็เพิ่งยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นอ้างในชั้นฎีกา เกี่ยวกับความเสียหายที่อ้างว่าโจทก์เรียกร้องสูงเกินจริง จำเลยที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งให้ชัดแจ้งว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามจำนวนเงินค่าซ่อมตามที่โจทก์มีใบเสนอราคาและใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐานนั้น ค่าซ่อมรายการใดที่ไม่จำเป็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในปัญหาที่กล่าวมาจึงไม่ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชัดแจ้งว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องในส่วนใด และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ด้วยเหตุผลใด ทั้งยังมีข้อเท็จจริงบางส่วนที่จำเลยที่ 2 เพิ่งยกขึ้นอ้าง หาได้เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ถือเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9481/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัย: ผู้รับประกันภัยไม่ต้องรับผิดหากไม่ทราบความสัมพันธ์ของผู้ขับขี่กับผู้เอาประกันภัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 31-0857 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน 31-4326 กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยสารไม่ประจำทางหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ในทางการที่จ้างหรือตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ส่วนจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. เอาประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ไว้กับจำเลยที่ 4 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2549 เวลา 16.40 นาฬิกา จำเลยที่ 1 ขับรถโดยสารคันดังกล่าวออกจากหน้าบริษัท ท. แล้วเลี้ยวซ้ายเพื่อตรงออกปากซอยนิคมอุตสาหกรรมบางพลีซอย 7 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนด้วยความเร็วสูงและไม่สามารถหยุดห้ามล้อได้ทัน เป็นเหตุให้รถโดยสารที่จำเลยที่ 1 ขับพุ่งเข้าชนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ที่จอดดับเครื่องยนต์อยู่ริมถนนหน้าบริษัท ด. เพื่อรอรับคนงานจนรถโดยสารทั้งสองคันของโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 4 เป็นผู้รับประกันภัยรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ที่จำเลยที่ 1 ขับ ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัย อันมีลักษณะเป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถโดยสารคันดังกล่าว ซึ่งการรับประกันภัยค้ำจุนนั้น ผู้รับประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แต่คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถโดยสารหมายเลขทะเบียน 30-0174 กรุงเทพมหานคร ที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ขับรถในฐานะใดหรือมีนิติสัมพันธ์อย่างไรกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ผู้เอาประกันภัย อันจะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 4 ย่อมไม่มีโอกาสทราบว่าผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยเหตุใด อันจะทำให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดในฐานะที่เป็นผู้รับประกันภัย ฟ้องโจทก์จึงขาดสาระสำคัญอันเป็นมูลที่จะให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิด จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9209/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 กรณีผู้ขับขี่ทำละเมิด และขอบเขตการงดสืบพยาน
แม้ในคดีอาญาจำเลยที่ 3 จะไม่ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลย จึงไม่ถูกผูกพันที่ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งที่ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ก็ตาม แต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัย ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง และซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้จากจำเลยที่ 2 เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 2 มีสิทธิใช้รถยนต์ดังกล่าวเสมือนเป็นรถยนต์ของตนเอง จึงถือเสมือนว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยด้วย ทั้งตามคำให้การ จำเลยที่ 3 ก็มิได้ปฏิเสธว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย ดังนี้ เมื่อคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ โดยโจทก์ไม่ได้มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 887 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 3 ไม่อาจนำสืบเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 843/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อทางละเมิด, ความรับผิดของผู้รับประกันภัย, และดอกเบี้ยค่าเสียหาย
การที่ผู้ตายขับรถถอยหลังโดยไม่ดูให้ดีว่ามีรถคันอื่นอยู่ด้านหลังหรือไม่ และในระยะห่างเพียงใด ย่อมถือว่าผู้ตายขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พฤติการณ์ของผู้ตายที่มีเรื่องเขม่นกันกับคนร้ายมาก่อนแล้วขับรถปาดหน้ากัน ที่ผู้ตายถูกกลุ่มคนร้ายจอดรถขวางหน้าแล้วใช้อาวุธปืนยิงจนผู้ตายต้องขับรถถอยหลังมาชนรถโจทก์ย่อมไม่อาจยกเป็นข้ออ้างได้ว่ามิได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทั้งการกระทำของผู้ตายก็มิใช่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่อาจอ้างเป็นเหตุปฏิเสธความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 449 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เบิกความรับว่าเป็นผู้ให้ความยินยอมผู้ตายนำรถที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไปขับ เมื่อเหตุละเมิดอยู่ในระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยจะมิใช่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เหตุละเมิดเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยและสัญญาประกันภัยมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 3 หาพ้นความรับผิดไม่
ดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดนับแต่วันทำละเมิด ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 3 นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
จำเลยที่ 1 เบิกความรับว่าเป็นผู้ให้ความยินยอมผู้ตายนำรถที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไปขับ เมื่อเหตุละเมิดอยู่ในระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้ขณะที่โจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยจะมิใช่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่เหตุละเมิดเกิดขึ้นในขณะที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เอาประกันภัยและสัญญาประกันภัยมีผลใช้บังคับ จำเลยที่ 3 หาพ้นความรับผิดไม่
ดอกเบี้ยของค่าสินไหมทดแทน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดนับแต่วันทำละเมิด ส่วนความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 3 นับแต่วันที่จำเลยที่ 3 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระค่าสินไหมทดแทนก่อนฟ้อง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากลูกหนี้ร่วมได้แม้ได้รับเงินจากลูกหนี้รายอื่นบางส่วน
แม้โจทก์ทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นในระหว่างพิจารณาคดีว่า ได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 จำนวน 50,000 บาท ในคดีอาญาแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก แต่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งได้ทั้งหมดหรือบางส่วนตามแต่จะเลือก ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงภายในขอบแห่งความรับผิดของลูกหนี้แต่ละคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ จึงต้องร่วมรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อโจทก์ทั้งสอง การที่โจทก์ทั้งสองไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 อีก จึงหาใช่โจทก์ทั้งสองสละสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10010/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับประกันภัยและการรับช่วงสิทธิจากสัญญาจ้างรักษาความปลอดภัย ศาลต้องพิจารณาสิทธิเรียกร้องทั้งสอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์รับประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิดไว้จากบริษัท อ. และบริษัท อ. ได้ตกลงว่าจ้างจำเลยเป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของบริษัท ตามสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยเอกสารท้ายคำฟ้อง เมื่อระหว่างวันที่ 25 ถึง 28 กรกฎาคม 2546 มีคนร้ายเข้าไปในอาคารแล้วลักทรัพย์รวมมูลค่า 152,166.32 บาท ของบริษัท อ. ไป โดยพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นลูกจ้างจำเลยไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลป้องกัน ไม่ตรวจตราดูแลตามหน้าที่ โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้บริษัท อ. ไปจำนวน 147,166.32 บาท จึงเข้ารับช่วงสิทธิมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากมูลละเมิด และสิทธิเรียกร้องจากการเข้ารับช่วงสิทธิตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยรวมอยู่ด้วย แม้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดจะขาดอายุความ แต่สิทธิเรียกร้องตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยที่โจทก์เข้ารับช่วงสิทธิไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีนี้เหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 ถึง 28 กรกฎาคม 2546 โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2551 ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามสิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่มูลละเมิดแล้วพิพากษายกฟ้อง โดยยังไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัย จึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อผลของคำพิพากษาศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
เมื่อผลของคำพิพากษาศาลฎีกามีเพียงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ อุทธรณ์และฎีกาของโจทก์จึงเป็นการขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันมิอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18462/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้ทำละเมิด
ข้อเท็จจริงปรากฏตามที่โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 3 รับประกันภัยรถบรรทุก หมายเลขทะเบียน 80 - 8186 เพชรบุรี และรถจักรยานยนต์หมายเลขทะเบียน อ่างทอง ง - 5190 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 มิได้ให้การปฏิเสธความรับผิดในส่วนนี้ไว้ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้จำเลยที่ 3 รับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์ที่ อ. เป็นเจ้าของ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 จึงเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสองระบุในฟ้องและเป็นประเด็นพิพาท คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในส่วนนี้จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง