พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีขัดทรัพย์: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ราคาซื้อขายจริง แม้ต่างจากราคาประเมินเจ้าพนักงานบังคับคดี
มาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่ในลักษณะ 6 หมวดที่ 3 ส่วนที่ 2 ว่าด้วยความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งหมายถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลสั่งเมื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีว่าความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีจะตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายใดเพียงใด อันเป็นดุลพินิจของศาลส่วนกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก่อนที่จะรับคำร้องขอไว้พิจารณา อันเป็นการสั่งชั้นตรวจรับคำร้องขอของผู้ร้องตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องขอของผู้ร้องมีทุนทรัพย์ 500,000 บาท แต่ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลมาในจำนวนทุนทรัพย์เพียง 220,000 บาท อันถือว่าคำร้องขอนั้นมิได้ปิดแสตมป์สมบูรณ์ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ คือ เสียค่าขึ้นศาลให้ครบได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด ถ้าผู้ร้องไม่ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีคำสั่งไม่รับคำร้องขอนั้น คำสั่งไม่รับคำคู่ความเช่นนี้ ผู้ร้องอุทธรณ์และฎีกาได้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 227,228 และ 247
ศาลชั้นต้นสั่งว่า คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลที่จะร้องขอ ซึ่งเท่ากับสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาของผู้ร้อง แล้วสั่งต่อไปว่า ถ้าผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในกำหนด 15 วัน ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดก็ให้ถือว่าทิ้งคำร้อง และสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มผู้ร้องมิได้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าให้ถือว่าทิ้งคำร้องนั้นมีผลแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่า ทิ้งคำร้อง เป็นการคลาดเคลื่อนผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคท้าย
ศาลชั้นต้นสั่งว่า คำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องไม่มีมูลที่จะร้องขอ ซึ่งเท่ากับสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอนาถาของผู้ร้อง แล้วสั่งต่อไปว่า ถ้าผู้ร้องประสงค์จะดำเนินคดีเกี่ยวกับคำร้องดังกล่าวต่อไป ก็ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลมาชำระภายในกำหนด 15 วัน ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดก็ให้ถือว่าทิ้งคำร้อง และสั่งให้ชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มผู้ร้องมิได้นำค่าขึ้นศาลมาชำระภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าให้ถือว่าทิ้งคำร้องนั้นมีผลแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะใช้คำว่า ทิ้งคำร้อง เป็นการคลาดเคลื่อนผลก็เท่ากับศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีขัดทรัพย์: คำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สิน ไม่ใช่จำนวนหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง คือ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย และแม้ทรัพย์นั้นจะติดจำนองอยู่ ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลเต็มราคา จะหักหนี้จำนองออกก่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลร้องขัดทรัพย์: คำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สินยึด ไม่ใช่จำนวนหนี้ตามคำพิพากษา
การร้องขัดทรัพย์ถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการฟ้องคดีซึ่งเริ่มด้วยการยื่นคำร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง คือ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่โจทก์จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย และแม้ทรัพย์นั้นจะติดจำนองอยู่ ก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลเต็มราคา จะหักหนี้จำนองออกก่อนไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1284/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีพิพาทที่ดินราคาประเมินต่ำกว่าเกณฑ์ฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามมาตรา 248
คดีมีทุนทรัพย์เพียง 5,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีที่ราคาประเมินเปลี่ยนแปลง: ศาลมีอำนาจเรียกค่าขึ้นศาลตามราคาปัจจุบันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยขายที่ดินให้ตามสัญยาที่ได้ตกลงประมูลราคากัน แต่ปรากฏว่าราคาที่ดินในขณะฟ้องคดีไม่เท่ากับราคาที่ดินตามที่ได้ประมูลกัน โจทก์จะต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนราคาที่ดินในขณะที่ฟ้องคดี
เมื่อมีประเด็นโต้เถียงในชั้นฎีกาถึงเรื่องค่าขึ้นศาลว่าศาลล่างเรียกมาไม่ครบ ศาลฎีกาย่อมอาจสั่งให้คู่ความนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่ทั้งสามศาลมาชำระเสียให้ถูกต้องก่อนศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาก็ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2499)
เมื่อมีประเด็นโต้เถียงในชั้นฎีกาถึงเรื่องค่าขึ้นศาลว่าศาลล่างเรียกมาไม่ครบ ศาลฎีกาย่อมอาจสั่งให้คู่ความนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่ทั้งสามศาลมาชำระเสียให้ถูกต้องก่อนศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาก็ได้.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3598/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดทรัพย์สิน: การรวมทรัพย์สินเพื่อเพิ่มราคา และการพิจารณาความชอบธรรมของราคาประเมิน
ป.พ.พ. มาตรา 510 บัญญัติว่า "ผู้ซื้อในการขายทอดตลาดจะต้องทำตามคำโฆษณาบอกขาย และตามความข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายไป" คดีนี้แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดโดยระบุว่า ขายที่ดินแปลงที่ 1, 4 และ 5 รวมกัน แปลงที่ 2 และ 3 รวมกัน แต่ในวันขายทอดตลาดจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงรวมกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 วรรคสอง เจ้าพนักงานบังคับคดีสอบถามโจทก์แล้วไม่คัดค้าน และได้ความตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แถลงให้ผู้เข้าร่วมประมูลและผู้สนใจเข้าฟังการขายทอดตลาดทราบแล้วว่าจะรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกัน โดยจำเลยที่ 2 มาดูแลการขายทอดตลาดด้วย แต่จำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันแต่อย่างใด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น จึงเป็นการปฏิบัติไปตรงตามความประสงค์ของจำเลยที่ 1 แล้ว ทั้งคำโฆษณาบอกขายว่าเป็นการรวมขายหรือแยกทรัพย์สินเป็นเพียงวิธีการในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดี อันเป็นรายละเอียดของการขายทอดตลาด ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดหรือข้อกำหนดของศาลกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำคำโฆษณาบอกขายระบุถึงรายละเอียดวิธีการขาย เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นว่าการรวมขายไปด้วยกันเป็นที่คาดหมายได้ว่าเงินรายได้ในการขายจะเพิ่มขึ้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจจัดรวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 (1) (ข) ถือได้ว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ให้รวมขายที่ดินทั้งห้าแปลงไปด้วยกันนั้น เป็นส่วนหนึ่งของคำโฆษณาบอกขายหรือข้อความอื่นซึ่งผู้ทอดตลาดได้แถลงก่อนเผดิมการสู้ราคาทรัพย์สินเฉพาะรายตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อในการขายทอดตลาดต้องทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย การขายทอดตลาดที่ดินทั้งห้าแปลงของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบแล้ว ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1025/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีขายทอดตลาดและการสวมสิทธิเจ้าหนี้: เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องพิจารณาราคาประเมินและสิทธิเจ้าหนี้ใหม่
ผู้ร้องเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ได้รับโอนสินทรัพย์และสิทธิเรียกร้องจากโจทก์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 และได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีส่วนได้เสียในการบังคับคดี การที่ทนายความผู้ร้องนำสำเนาคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์พร้อมหมายนัดไปส่งให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี โดย ณ. เจ้าพนักงานบังคับคดีได้สั่งในหมายนัดว่า ทราบ รวม และรอฟังคำสั่งศาล แสดงว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบแล้วว่าผู้ร้องได้ขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ แม้จะไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการขายทอดตลาด แต่เมื่อพิจารณาประกอบกับในวันขายทอดตลาด มีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียวและเสนอซื้อในราคา 1,620,000 บาท ต่ำกว่าราคาประเมินของ เจ้าพนักงานบังคับคดีที่ประเมินไว้ในราคา 3,240,000 บาท และต่ำกว่าหนี้ตามคำพิพากษาเป็นจำนวนมาก เจ้าพนักงานบังคับคดีควรที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 เพื่อรอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ก่อนจึงดำเนินการขายทอดตลาดต่อไป แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีกลับขายทอดตลาดในวันรุ่งขึ้นโดยไม่รอฟังคำสั่งศาล เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีและต้องคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ให้ต้องเสียหายโดยต้องไม่ขายทอดตลาดทรัพย์สินในราคาที่ต่ำเกินสมควร จนลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรับภาระหนักขึ้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดในราคา 1,620,000 บาท โดยมีผู้เข้าสู้ราคาเพียงรายเดียว แม้จะไม่ปรากฏว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ก็ถือได้ว่าเป็นการไม่รักษาผลประโยชน์ให้แก่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่จำนองในราคาที่ต่ำเกินสมควรโดยไม่ให้โอกาสผู้ร้องซึ่งเล็งเห็นได้ว่าจะเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้ามารักษาประโยชน์ของตน และเห็นได้ว่าต้องเสียหายเพราะเหตุดังกล่าว เป็นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ต้องตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 513 และ ป.วิ.พ. มาตรา 308 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: คดีครอบครองปรปักษ์ที่มีการโต้แย้งกรรมสิทธิ์และราคาประเมินไม่เกิน 300,000 บาท
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน 29 แปลง ซึ่งการพิจารณาคดีศาลจะต้องแยกพิจารณาที่ดินแต่ละแปลงออกต่างหากจากกัน รวมถึงเมื่อพิจารณาแล้วจะต้องพิพากษาตามคำขอของโจทก์เป็นรายแปลง แม้โจทก์จะมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยทั้งสองให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีที่มีการกล่าวแก้ข้อพิพาทว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่ดินพิพาทไร่ละ 12,000 บาท และคำนวณราคาที่ดินพิพาทแต่ละแปลงแล้วไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โอนคดีนี้ไปยังศาลแขวงพิษณุโลกตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคท้าย นั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16022/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การเปลี่ยนแปลงราคาประเมินและค่าเช่ามาตรฐานกลางมีผลต่อการประเมิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินค่ารายปีประจำปีภาษี 2551 ที่พิพาท โดยอาศัยค่ารายปีประจำปีภาษี 2550 ที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 18 แต่เมื่อจำเลยกำหนดราคาค่าเช่ามาตรฐานกลางใหม่ตามบันทึกข้อความกรุงเทพมหานคร ที่ กท 1302/222 ก่อนที่โจทก์จะยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษี 2551 พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยควรจะนำอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดค่ารายปีประจำปีภาษีพิพาทด้วย เนื่องจากเป็นการกำหนดเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ใช้เป็นแนวทางประกอบการประเมิน แม้บันทึกข้อความกรุงเทพมหานครดังกล่าวจะมิได้บังคับให้ต้องกำหนดค่ารายปีเท่ากับอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลางและมิได้ห้ามให้กำหนดค่ารายปีสูงกว่าอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลาง แต่เมื่อปรากฏตามบันทึกดังกล่าวว่าสถานที่ตั้งโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ถูกกำหนดให้อยู่กลุ่ม 2 เปลี่ยนแปลงจากเดิมที่อยู่ในกลุ่ม 1 ซึ่งมีค่ารายปีสูงกว่า จึงไม่อาจใช้ค่ารายปีของปีภาษี 2550 ที่ล่วงมาแล้วเป็นหลักในการกำหนดค่ารายปีในปีภาษีพิพาท การที่พนักงานเจ้าหน้าที่นำโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ไปเทียบเคียงกับโรงเรือนเลขที่ 455/1-2 ซึ่งตั้งอยู่ถนนพระรามที่ 3 ซึ่งมีความกว้างมากกว่าถนนเจริญราษฎร์อันเป็นที่ตั้งโรงเรือนของโจทก์ และมีราคาประเมินที่ดินสูงกว่า ย่อมแสดงให้เห็นว่าสภาพเศรษฐกิจของสถานที่ตั้งโรงเรือนและที่ดินของโจทก์ ทำเลที่ตั้ง และบริการสาธารณะที่โรงเรือนและที่ดินของโจทก์ที่ได้รับประโยชน์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินทรัพย์สินของโจทก์สูงกว่าอัตราค่าเช่ามาตรฐานกลาง แม้จะเท่ากับค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว แต่เนื่องจากทรัพย์สินของโจทก์มีสภาพเศรษฐกิจแตกต่างไปจากเดิม การกำหนดค่ารายปีของพนักงานเจ้าหน้าที่และคำชี้ขาดจึงมิได้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 และมาตรา 18 ประกอบแนวทางปฏิบัติตามบันทึกกรุงเทพมหานครดังกล่าว การกำหนดค่ารายปีและคำชี้ขาดจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12994/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเวนคืนหลังอุทธรณ์ไม่สำเร็จ และการกำหนดค่าทดแทนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ถูกต้อง
จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินตามจำนวนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 1 ไร่ 49 ตารางวา โดยเจ้าหน้าที่กองจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและเป็นเลขานุการคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพยานจำเลยเบิกความว่า การรังวัดที่ดินครั้งแรกได้เนื้อที่ 2 งาน 53 ตารางวา เป็นการรังวัดเนื้อที่โดยประมาณยังไม่เด็ดขาดจนกว่าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดิน จนกระทั่งเมื่อทราบเนื้อที่จริงจำเลยจึงมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำบันทึกข้อตกลงอีกครั้ง และปรากฏตามสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมที่จำเลยจัดทำขึ้นมีรายการระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนขอสงวนสิทธิอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีภายใน 60 วัน นับแต่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าการแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินครั้งหลังจำเลยรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์จำนวนเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีได้ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แม้โจทก์ไม่ได้ไปทำบันทึกข้อตกลง แต่ยื่นอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนก่อนถึงกำหนดวันนัดหมาย โดยกระทรวงคมนาคมซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของจำเลยยังได้มีหนังสือถึงโจทก์ตอบรับการอุทธรณ์ค่าทดแทนแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิในการฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี หากโจทก์ไม่ได้รับแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 60 วัน จึงถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์การกำหนดค่าทดแทนภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จ โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเพียงการแจ้งจำนวนที่ดินจากการรังวัดทางคณิตศาสตร์โดยไม่มีการเพิ่มเติมจำนวนที่ดินผิดไปจากที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน
การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 (3) บัญญัติให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินเป็นข้อที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดจำนวนค่าทดแทนจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่ต้องใช้เกณฑ์ราคาประเมินที่ดินในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแก่กรณี
การที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 (3) บัญญัติให้ถือราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินเป็นข้อที่ต้องคำนึงถึงในการกำหนดจำนวนค่าทดแทนจากการเวนคืน จึงเป็นกรณีที่ต้องใช้เกณฑ์ราคาประเมินที่ดินในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับแก่กรณี