พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำรงชีพจากรายได้จากการค้าประเวณี: การพิสูจน์การพึ่งพิงรายได้และความจำเป็นในการมีปัจจัยอื่น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 286 ที่ผู้กระทำซึ่งมีอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเป็นความผิดนั้น หมายถึงว่า ผู้นั้นดำรงชีวิตของตนอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี ซึ่งหากขาดปัจจัยแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำรงชีพจากรายได้หญิงค้าประเวณี ต้องพิสูจน์การพึ่งพิงรายได้นั้นอย่างชัดเจน
ความผิดฐานดำรงชีพจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีนั้นโจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปี ดำรงชีพอยู่ได้ด้วยการอาศัยปัจจัยทั้งหมดหรือแม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณี หากขาดปัจจัยดังกล่าวแม้เพียงบางส่วนจะดำรงชีพอยู่ไม่ได้ หรือไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ และปรากฏว่าจำเลยอยู่ร่วมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีหรือสมาคมกับหญิงซึ่งค้าประเวณีคนเดียวหรือหลายคนเป็นอาจิณตามคำฟ้องของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์นำสืบได้เพียงว่า จำเลยอายุกว่าสิบหกปีเป็นผู้จัดหาหญิงผู้ทำการค้าประเวณีเพื่อผู้อื่นเป็นปกติธุระและได้รับเงินส่วนแบ่งจากรายได้ของหญิงซึ่งค้าประเวณีเท่านั้นจึงลงโทษจำเลยในความผิดนี้ตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายบ้านจัดสรรไม่ใช่การรับเหมา แม้มีสัญญารับเหมาควบคู่กัน รายได้ต้องเสียภาษีการค้า
ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. ได้ซื้อบ้านที่โจทก์ปลูกลงในที่ดินนั้นพร้อมกันด้วยและโจทก์ได้จัดเตรียมแบบแปลนสำหรับปลูกบ้านในที่ดินทุกแปลงไว้เหมือนกันทุกหลังกับได้สร้างบ้านตัวอย่างขึ้นไว้ให้ผู้ซื้อได้ดูเป็นตัวอย่าง อีกทั้งโจทก์ได้ลงมือปลูกสร้างบ้านลงในที่ดินเป็นการล่วงหน้าไปก่อนที่ผู้ซื้อจะได้ตกลงทำสัญญาซื้อที่ดินกับ ฉ. และทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างกับโจทก์ แสดงว่าโจทก์ลงมือปลูกสร้างบ้านขึ้นเพื่อขายมาแต่ต้น อันเป็นลักษณะของการขายตามตัวอย่าง หาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ ยิ่งกว่านั้นบ้านที่โจทก์ปลูกสร้างลงในที่ดินของ ฉ.โดยได้รับความยินยอมจากฉ. นั้นย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อผู้ซื้อประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้าน จึงตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านจาก ฉ. และโจทก์แต่โจทก์กลับจัดให้ผู้ซื้อทำสัญญาซื้อที่ดินจาก ฉ. และทำสัญญาว่าโจทก์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้ผู้ซื้อที่ดินจาก ฉ. โดยใช้สัมภาระของโจทก์ขึ้นไว้แทน ซึ่งไม่ตรงต่อความเป็นจริง ดังนี้ รายรับที่โจทก์ได้จากการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้แก่ผู้ซื้อจึงเป็นรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ตามประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(8) โดยขอหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรตรงตามจำนวนเงินในสัญญาจ้างเหมาผู้อื่นปลูกสร้างบ้าน เป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้หักค่าใช้จ่ายแก่โจทก์ตามความจำเป็นและสมควรเป็นการถูกต้องแล้ว ส่วนที่โจทก์ขอหักค่าใช้จ่ายตามราคาประเมินของกรมโยธาธิการนั้น เป็นเพียงราคาจากการประเมินมิใช่ค่าใช้จ่ายที่โจทก์จ่ายไปจริง จึงมิใช่ค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรอันจะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4697/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการค้าขายอาหารเพียงพอต่อการดำรงชีพ แม้ได้รับส่วนแบ่งจากหญิงค้าประเวณี ไม่ถือเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 286
เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบว่า รายได้ของจำเลยจากการค้าขายอาหารไม่เพียงพอสำหรับดำรงชีพ ดังนั้น แม้จำเลย จะได้รับเงินส่วนแบ่งจากหญิงซึ่งค้าประเวณี การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 286.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงก่อน มิใช่แค่ผู้เสียภาษีไม่ยื่นหรือยื่นต่ำ
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ผู้มีหน้าที่เสียภาษี โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ใน มาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ดัง จะเห็นได้จากมาตรา 49 ที่ให้นำมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งหมายความว่าเจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตาม มาตรา 49 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามมาตรา 49 ต้องมีข้อมูลเพียงพอแสดงว่าไม่สามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์ โดยวิธีการตามมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากรได้ จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดหาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่น ก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ ดังจะเห็นได้จากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีการปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้รายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้วจึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลที่ได้จากโจทก์และข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบของตนมาคิดคำนวณหาเงินได้สุทธิของโจทก์ ตามสูตรการหาเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 ที่จำเลยที่ 1 ใช้อยู่ แล้วคำนวณหาจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระ โดยไม่ปรากฏในรายงานที่จัดทำเสนอขออนุมัติอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์เลยว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนมีทางที่จะทราบรายได้รายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ เพราะเหตุใด แม้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ปรากฏเพียงว่ามีการนำหลักฐานที่โจทก์นำไปแสดงเพิ่มเติมมาพิจารณาปรับปรุงรายการต่าง ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามสูตรการหาเงินได้สุทธิของโจทก์เท่านั้น แสดงว่าเจ้าพนักงานประเมินประสงค์ใช้วิธีการตามมาตรา 49 กับโจทก์มาแต่แรกเนื่องจากเห็นว่าโจทก์แสดงจำนวนเงินปันผลในแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีต่ำและทำการประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีการตามมาตรา 49โดยมิได้คำนึงว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบไต่สวนยังสามารถทราบรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงของโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์มิได้แจ้งรายได้จากเงินปันผลที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว และมิแจ้งรายได้จากการขายหุ้นที่ไม่ต้องนำมาคิดคำนวณเพื่อเสียภาษี ถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยทั้งไม่ปรากฏว่ามีกรณีที่โจทก์ไม่นำหลักฐานที่เจ้าพนักงานประเมินต้องการมาแสดงหรือหลีกเลี่ยงไม่ยอมตอบคำถามหรือข้อสงสัยของเจ้าพนักงานประเมิน กลับปรากฏว่าโจทก์ได้จัดทำบัญชีแหล่งที่มาของเงินได้โดยละเอียดมอบให้เจ้าพนักงานประเมินพร้อมหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินได้และไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามนัดถึง6 ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์มิได้มีเจตนาปกปิดแหล่งที่มาของเงินได้และให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบไต่สวนเป็นอย่างดี กรณีของโจทก์เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินยังสามารถทราบได้ว่าโจทก์มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2225/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ โดยมีประเด็นเรื่องการหักค่าใช้จ่ายที่สมควร
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวจำนวน 59 แปลงนำ มาให้ผู้อื่นเช่าเพื่อหาผลประโยชน์ แล้วทยอยขายไปเรื่อย ๆ เป็นการกระทำมุ่งในทางธุรกิจเพื่อหาประโยชน์จึงเป็นการได้ทรัพย์มาโดยมุ่งในทางการค้าหรือหากำไร การเสียภาษีการค้านั้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ให้เสียจากรายรับตามอัตราในบัญชีอัตราภาษีการค้า จึงไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ จะต้องนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้า แต่การเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดามีการหักค่าใช้จ่าย ส่วนจะหักได้เพียงใดอยู่ที่ ประเภท เงินได้ของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมาแล้ว ทำการ ซ่อมแซมก่อนที่จะทยอยขายไป ค่าซ่อมแซมจึงถือเป็นรายจ่าย ที่ จะนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าค่าซ่อมแซมมีจำนวนเท่าใด ก็ย่อมกำหนดค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502มาตรา 8 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4988/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: แม้มีหนี้สิน แต่มีทรัพย์สินและรายได้เพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลไม่ควรสั่งให้ล้มละลาย
เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวนหลายแปลง ซึ่งแม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองทุกแปลง และจำเลยนำสืบว่าราคาที่แท้จริงมากกว่ามูลค่าจำนองโดยการประมาณของจำเลยเอง โดยไม่มีหลักฐานจากสำนักงานที่ดินมายืนยันสนับสนุน แต่จำเลยก็มีที่ดินอยู่มากแปลงซึ่งเมื่อรวมมูลค่ากันแล้ว ส่วนที่เกินจากการถูกบังคับจำนองก็น่าจะมีมูลค่าเหลืออยู่เป็นเงินจำนวนสูง นอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก และยังประกอบอาชีพมีรายได้ รวมทั้งจำเลยนำสืบได้อีกว่าช. ลูกหนี้โจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ยังประกอบธุรกิจหากโจทก์บังคับคดีแก่ ช. ก็จะได้ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง สรุปแล้วจำเลยนำสืบมาพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ กรณีมีเหตุไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4988/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: แม้มีทรัพย์สินติดจำนอง แต่ยังมีทรัพย์สินอื่นและรายได้เพียงพอต่อการชำระหนี้ ไม่ควรให้ล้มละลาย
เมื่อพยานหลักฐานของจำเลยที่นำสืบมาฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเป็นที่ดินจำนวนหลายแปลง ซึ่งแม้ที่ดินดังกล่าวจะติดจำนองทุกแปลง และจำเลยนำสืบว่าราคาที่แท้จริงมากกว่ามูลค่าจำนองโดยการประมาณของจำเลยเอง โดยไม่มีหลักฐานจากสำนักงานที่ดินมายืนยันสนับสนุน แต่จำเลยก็มีที่ดินอยู่มากแปลงซึ่งเมื่อรวมมูลค่ากันแล้ว ส่วนที่เกินจากการถูกบังคับจำนองก็น่าจะมีมูลค่าเหลืออยู่เป็นเงินจำนวนสูง นอกจากนี้จำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอีกมาก และยังประกอบอาชีพมีรายได้ รวมทั้งจำเลยนำสืบได้อีกว่าช. ลูกหนี้โจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ยังประกอบธุรกิจหากโจทก์บังคับคดีแก่ ช. ก็จะได้ชำระหนี้ส่วนหนึ่ง สรุปแล้วจำเลยนำสืบมาพอที่จะเชื่อได้ว่า จำเลยยังอยู่ในฐานะที่อาจชำระหนี้ได้ กรณีมีเหตุไม่ควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4550/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แม้ผู้เสียภาษีจะเสียภาษีไม่ถูกต้อง และการรับเงินมัดจำถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษี
โจทก์ขายทาวน์เฮาส์โดยให้ผู้ซื้อแต่ละรายทำสัญญา 2 ฉบับคือ ทำสัญญาจะซื้อขายบ้านและที่ดิน 1 ฉบับ และทำสัญญาจ้างบริษัท ม. ให้ตกแต่งบ้านอีก 1 ฉบับ ซึ่งความจริงไม่มีการตกแต่งแต่อย่างใด การที่โจทก์เสียภาษีการค้าโดยคำนวณราคาขายจากสัญญาจะซื้อขายบ้านอย่างเดียวจึงไม่ชอบ เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะราคาตามสัญญาจะซื้อขายบวกด้วยราคาค่าตกแต่งมาคิดคำนวณให้โจทก์เสียภาษีการค้าได้ โจทก์ทำสัญญาจะขายห้องชุดมอบให้กับผู้ที่จะซื้อ ข้อความในสัญญาที่ว่าผู้จะซื้อต้องวางมัดจำในวันทำสัญญา เป็นข้อความที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ จึงน่าเชื่อถือ ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่ามัดจำตามสัญญาจริง เมื่อโจทก์เสียภาษีไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำการปรับปรุงรายได้และรายจ่ายของโจทก์ใหม่ อันทำให้ผลขาดทุนสุทธิของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้เปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย