คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รื้อถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 396 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตเดินสายไฟฟ้าตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฯ ไม่ขาดอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสองสร้างขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 3 รวม 5 รายการ ได้รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าตามสำเนาภาพถ่ายแผนผังสิ่งปลูกสร้างเอกสารท้ายฟ้องทั้งได้บรรยายข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความกว้างระยะเริ่มต้นและระยะสิ้นสุดของเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ที่ไหน และมีสภาพอย่างไรรวมทั้งมีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำนั้นออกไปจากแนวเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้คำฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดในเรื่องที่โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2511 มาตรา 29 และ 32 โดยมิพักต้องคำนึงว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นทำนองว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์เพิ่งทราบการกระทำของจำเลยทั้งสองในปี 2536 แต่ปรากฏความจริงตามเอกสารท้ายฟ้องว่าโจทก์ทราบเรื่อง นี้ตั้งแต่ปี 2532 แล้ว ซึ่งขัดกันอยู่ ทั้งคำบรรยายฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองจึงไม่มีประเด็นเกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่ศาลจะต้องวินิจฉัย คำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้าไปในเขตเดินสายไฟฟ้าที่โจทก์ได้ประกาศไว้ ซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 29(3) ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างนั้นได้ปลูกสร้างขึ้นก่อนประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าโดยโจทก์จะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยทราบก่อน และโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามมาตรา 32 วรรคสอง ในกรณีได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างนั้นขึ้นภายหลังจากที่ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าแล้วโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากโจทก์ อำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนของโจทก์ตามมาตรา 29(3) และมาตรา 32 วรรคสองดังกล่าวนี้ มิใช่สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/9 จึงไม่มีอายุความโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าได้ตลอดเวลาที่สิ่งก่อสร้างนั้นรุกล้ำอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ประกาศเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้าและโจทก์ได้แจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำอยู่ภายในเขตกำหนดเดินสายไฟฟ้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4743/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและมูลละเมิด: สิทธิเจ้าของที่ดินในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและเรียกค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวว่าอาคารของโจทก์เสียหายอย่างไรอันเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยทั้งสิบเอ็ด ความเสียหายดังกล่าวสามารถซ่อมแซมได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ค่าเสียหายจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งถึงสภาพของความเสียหายของโจทก์และจำนวนค่าเสียหาย เพียงพอที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะให้การต่อสู้ได้แล้ว โจทก์ไม่จำต้องกล่าวมาในฟ้องว่าความเสียหายของโจทก์อยู่ที่ส่วนไหนเพียงใด ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดจำเลยที่ 2 ในส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336บังคับให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับอายุความเรื่องละเมิด ส่วนกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายที่อาคารของโจทก์เสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรงนั้น โจทก์อ้างว่าอาคารของโจทก์แตกร้าวเสียหายเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2530และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทั้งสิบเอ็ดรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ แต่จำเลยทั้งสิบเอ็ดเพิกเฉย ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยทั้งสิบเอ็ดยังคงปล่อยให้มีการรุกล้ำดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสิบเอ็ดกระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตราบเท่าที่ยังไม่มีการรื้อถอนอาคารชุดส่วนที่รุกล้ำ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3706/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างต้องเป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย หากไม่เป็นไปตามขั้นตอน ศาลมีอำนาจยกการบังคับคดีได้
หลังจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนรั้วลวดหนามออกไปจากที่ดินโจทก์และห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวอีกต่อไปขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3จำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างบ้านในที่พิพาทเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3และศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนบ้านพิพาทดังกล่าวออกจากที่ดินซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครองได้แต่ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์นั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296เบญจกำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างนั้นและในการรื้อถอนให้ปิดประกาศกำหนดการรื้อถอนไว้ณบริเวณนั้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันดังนั้นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบบ้านพิพาทให้โจทก์ครอบครองย่อมไม่ใช่เป็นวิธีการบังคับคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ศาลชอบที่จะมีคำสั่งให้ยกวิธีการบังคับคดีเฉพาะบ้านพิพาทและให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและค่าเสียหายจากการบุกรุก กรณีตึกและประตูอยู่ในกรรมสิทธิ์ของจำเลย
จำเลยที่2เป็นภริยาของจำเลยที่3จำเลยที่2และที่3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่20,22และ24โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่1ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร35ที่ดินโฉนดเลขที่2021และโฉนดเลขที่2022อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร35 ที่พิพาทและทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3การที่จำเลยที่3ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่20แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร35 ของโจทก์ก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเมื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่2และที่3จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการที่จำเลยที่2และที่3ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่20ใช้ถนนซอยเจริญนคร35โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่783ไปยังตึกแถวเลขที่20โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่ ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่20ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลยแล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเองซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบคดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง ตึกแถวเลขที่20และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่3เองและประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่3ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด ฎีกาโจทก์ที่ว่าการที่จำเลยที่3ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1337จำเลยที่3จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม3ข้อคือข้อ(1)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบข้อ(2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ3,000บาทนับแต่วันที่1เมษายน2533จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาทและข้อ(3)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย100,000บาทแก่โจทก์หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ(1)ได้ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(1)ได้เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่2และที่3เองซึ่งจำเลยที่2และที่3ชอบที่จะทำได้และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติตามคำขอข้อ(3)ของโจทก์เพราะคำขอบังคับตามข้อ(2)และข้อ(3)เป็นคำขอต่อเนื่องกันอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนบ้านและการกักขังบริวารลูกหนี้ ผู้รับมอบอำนาจไม่แสดงอำนาจพิเศษ
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลย ตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลย เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษา แต่ไม่ปรากฏว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศ ดังนี้ จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฏิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้น และการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีรื้อถอนบ้านและการกักขังลูกหนี้และบริวารที่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา
โจทก์มีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามคำพิพากษาที่พิพากษาให้โจทก์รื้อบ้านและออกไปจากที่ดินของจำเลย ตราบใดที่โจทก์ยังไม่รื้อบ้านดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลย จำเลยชอบที่จะขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อจับกุมโจทก์มากักขังไว้จนกว่าจะรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลย เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยังคงอยู่ในบ้านที่ถูกบังคับให้ต้องรื้อไปตามคำพิพากษาแต่ไม่ปรากฎว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์แสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในแปดวันนับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศดังนี้ จำเลยย่อมขอให้ศาลออกหมายจับกุมผู้รับมอบอำนาจโจทก์มากักขังได้เช่นเดียวกัน เพราะกฎหมายถือว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นบริวารของโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์แพ้คดีและถูกบังคับให้ต้องรื้อบ้านออกไปจากที่ดินของจำเลยตามฟ้องแย้งแล้ว กลับมาอ้างในชั้นบังคับคดีว่าโจทก์มิใช่เจ้าของบ้านดังกล่าวจึงไม่อาจปฎิบัติตามคำพิพากษาได้นั้น เป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์กล่าวอ้างขึ้นเพื่อประสงค์ให้การบังคับคดีของจำเลยถูกประวิงให้ล่าช้าออกไปเท่านั้นและการที่โจทก์กล่าวอ้างว่าโจทก์และผู้รับมอบอำนาจโจทก์ย้ายออกจากบ้านดังกล่าวไปอยู่ที่อื่นแล้วก็ดี หรือบุคคลที่ยังอยู่ในบ้านมิใช่บริวารของโจทก์ก็ดี หาเป็นเหตุให้โจทก์และบริวารพ้นจากความรับผิดในอันที่จะถูกจับกุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9608/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร และอำนาจฟ้องคดีเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างผิดแบบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 42และมาตรา 43 วรรคสาม จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งดังกล่าวแล้ว ส่วนการที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นต้องจัดส่งอุทธรณ์และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปยังคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในภายหลัง โดยทำให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การที่จำเลยยื่นหนังสืออุทธรณ์คำสั่งให้รื้อถอนต่อโจทก์เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้ออกคำสั่งดังกล่าวภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งต้องถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แล้ว จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนในการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน-ท้องถิ่นตามมาตรา 52 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ศาลฎีกาไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่เมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9307/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น - การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง - ขอบเขตคำฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์ได้กล่าวแสดงให้เห็นชัดอยู่แล้วว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมไว้รอบ ไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ คงมีทางออกอยู่ทางเดียวที่จำเลยปิดกั้นเสีย ทางดังกล่าวจึงเข้าลักษณะทางจำเป็น ทั้งคำขอท้ายฟ้องก็ขอให้บังคับให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ที่ทำขึ้นบนที่ดินเพื่อให้โจทก์เดินผ่านที่ดินของจำเลย ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินโจทก์และให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทางพิพาทจึงไม่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเขตที่ดิน: ขอบเขตอำนาจฟ้อง
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ 2 เมตร จากแนวเขตที่ดินของโจทก์ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1342 วรรคหนึ่ง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้ แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้ เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1342 ดังกล่าว และขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6581/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินและการติดตั้งสิ่งปฏิกูล การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ขัดต่อกฎหมาย
หลุมส้วมอันเป็นหลุมหรือบ่อสำหรับรับน้ำโสโครกจากห้องน้ำและส้วมที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในระยะ2เมตรจากแนวเขตที่ดินของโจทก์ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1342วรรคหนึ่งโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนหรือกลบถังส้วมและหลุมรับน้ำโสโครกนั้นได้แต่ไม่อาจจะบังคับให้รื้อถอนห้องน้ำได้เพราะการปลูกสร้างห้องน้ำมิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา1342ดังกล่าวและขณะฟ้องคดีอาคารที่จำเลยปลูกสร้างยังไม่แล้วเสร็จยังไม่มีผู้ใดใช้ห้องน้ำและส้วมดังกล่าวโจทก์จึงไม่เสียหายในส่วนนี้
of 40