พบผลลัพธ์ทั้งหมด 96 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานสั่งรื้อถอนอาคารดัดแปลงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติเฉพาะ และขอบเขตการลงโทษปรับ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารฝ่าฝืนมาตรา 22 นั้น จะต้องเป็นเรื่องให้ระงับการกระทำ และห้ามการใช้อาคารเท่านั้น มิใช่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารซึ่งมีวิธีการบัญญัติไว้ต่างหากในมาตราอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจบังคับรื้อถอนอาคารผิดกฎหมาย แม้กฎหมายเปลี่ยน ก็ยังใช้ได้หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ดำเนินการ
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิ รื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิ รื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3342/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายวิธีสบัญญัติใช้บังคับย้อนหลังในเรื่องรื้อถอนอาคารได้ แม้กฎหมายสารบัญญัติใช้ไม่ได้
พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ในส่วนที่บัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่งเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
หลักกฎหมายที่ว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลังไม่ใช้ในกรณีที่เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ
จำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร ฯแต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยังมิได้ใช้อำนาจตามมาตรา 11 ทวิรื้อถอนอาคารนั้นเอง จนกระทั่งกฎหมายฉบับนี้ถูกยกเลิกไปโดยใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แทนต่อมากฎหมายฉบับใหม่ยังคงบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดอยู่ และให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขอาคารได้ เพียงแต่จะใช้อำนาจรื้อถอนหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเองไม่ได้เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276-2277/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งรื้อถอนอาคารแทนจำเลยและให้จำเลยรับผิดชอบค่าใช้จ่าย เป็นการบังคับตามคำพิพากษา
คำพิพากษาที่ว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนอาคารไป ก็ให้โจทก์รื้อถอนแทน โดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่าย เป็นวิธีการบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ที่ให้จำเลยรื้อถอนอาคารไป ดังที่บัญญัติไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 213 คำพิพากษาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276-281/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองสั่งรื้อถอนอาคารชำรุด – รัฐมนตรีชี้ขาดเป็นที่สุด – ศาลยืนตาม
พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองพ.ศ. 2503 ให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นคณะกรรมการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตั้งขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริง ถ้าเห็นว่าอาคารชำรุดทรุดโทรม น่ารังเกียจ ไม่อาจแก้ไขได้ก็สั่งให้รื้อถอนได้ รัฐมนตรีชี้ขาดยกอุทธรณ์แล้วให้เป็นที่สุด เมื่อไม่ปรากฏว่าได้กลั่นแกล้งหรือไม่สุจริต ไม่มีเหตุที่ศาลจะเพิกถอนคำสั่งนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร: การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยถือว่าชอบด้วยกฎหมาย
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง ข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรี นครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081-1086/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งรื้อถอนอาคาร การยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นชอบด้วยระเบียบ แม้จะยื่นผ่านไปยังรัฐมนตรี
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยอุทธรณ์คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้รื้อถอนอาคารตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองข้อ 3 วางไว้ว่า ต้องทำคำร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและที่อยู่ให้ชัดเจน ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลที่อุทธรณ์ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับหรือทราบคำสั่งดังนี้ การที่โจทก์ได้ทำคำร้องเป็นหนังสือโดยมีตัวแทนโจทก์ผู้รับมอบอำนาจลงชื่อในหนังสือและได้ระบุที่อยู่สำหรับติดต่อไว้ชัดเจนมีข้อความด้วยว่า โจทก์ในฐานะเจ้าของอาคาร ชี้แจงว่าสภาพของอาคารโจทก์ไม่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนไม่อาจแก้ไขได้แต่อย่างใด ขอให้พิจารณายกเลิกคำสั่งรื้อถอนอาคารของเทศบาลนครกรุงเทพ ย่อมถือว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งครบถ้วนตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
การยื่นอุทธรณ์ดังกล่าวต่อนายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ ถือได้เท่ากับยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งรื้อถอนอาคาร: ศาลยืนตามดุลพินิจเจ้าหน้าที่ หากไม่เกินอำนาจและมีเหตุผลสนับสนุน
การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารได้แจ้งให้โจทก์เลิกใช้และรื้อถอนอาคารเพราะอยู่ในสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ปลอดภัยซึ่งน่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกาย ชีวิตหรือทรัพย์สินและโจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ได้มีมติให้ยกอุทธรณ์แล้วนั้น โจทก์จะมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นโดยอ้างแต่เพียงว่าอาคารของโจทก์ยังมั่นคงแข็งแรงมิได้ เพราะไม่ปรากฏว่าในการวินิจฉัยเช่นนั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและคณะกรรมการได้กระทำการนอกเหนือความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารอย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าการวินิจฉัยของจำเลยหรือคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยโดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน และการวินิจฉัยของกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นการวินิจฉัยตามอำนาจในมาตรา 12 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มิใช่เป็นการใช้อำนาจศาล จึงไม่ขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85-88/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับรื้อถอนอาคารกับความผูกพันต่อบุคคลภายนอก และอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งให้จำเลยสั่งรื้ออาคารซึ่งเป็นภยันตรายต่อสาธารณชนและโจทก์เมื่อปรากฏต่อศาลว่าจำเลยมิใช่เป็นเจ้าของอาคารพิพาท หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ ผลของการบังคับคดีย่อมไปผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
อำนาจในการที่จะสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างขึ้นภายในเขตเทศบาล เป็นอำนาจหน้าที่โดยอิสระของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 มาตรา 11, 12 และ พระราชบัญญัติควบคุมก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2504 มาตรา 3, 4, 5 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติมาตราใดที่บัญญัติให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องรับผิดในเมื่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นงดเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ ศาลจึงไม่อาจสั่งบังคับให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นสั่งรื้อถอนอาคารไม่มั่นคงแข็งแรง และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารที่นายช่างตรวจพบว่าไม่มั่นคงแข็งแรงหรือไม่ปลอดภัยได้ หากเจ้าของอาคารไม่ปฏิบัติตามหรือไม่อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวแก่การก่อสร้างอาคารภายใน 15 วัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็มีอำนาจรื้อถอนอาคารนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2478 มาตรา 11 ทวิ วรรค 3 การที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นรื้อถอนอาคาร จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์
ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 358 นั้น หมายถึงการกระทำแก่ตัวทรัพย์ให้เสียหายฯ เช่น รื้อถอนตึกแถวลง ย่อมเป็นการการกระทำแก่ตัวทรัพย์ ทำให้ตึกแถวถูกทำลายเสียหาย แต่เมื่อรื้อแล้ว ไม่นำวัตถุก่อสร้างไปมอบเจ้าของจนวัตก่อสร้างสูญหายไปนั้น หาใช่เป็นการกระทำแก่ตัวทรัพย์ไม่ จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์