คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รุกล้ำ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้เป็นการตอบแทนสละสิทธิ และการปลูกสร้างบนที่ดินที่ได้รับยกให้ โดยไม่ถือว่าเป็นการรุกล้ำ
หนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินเพิ่มเติมซึ่งทำภายหลังจากได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับเดิม มีข้อความตกลงว่าผู้แทนโจทก์กับเจ้าของร่วมคนอื่นยินยอมยกที่ดินในโฉนดที่ 3878ให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลย เพื่อเป็นการตอบแทนที่จำเลยสละสิทธิ์ที่จะไม่ขอทำทางเท้าให้กว้างขึ้นเป็นถนนจากที่ดินโฉนดที่ 7386ผ่านที่ดินโฉนดที่ 3878 ไปสู่ถนนใหญ่ อันเป็นสิทธิที่จำเลยพึงเรียกร้องได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินฉบับแรกที่ทำไว้แต่เดิม ข้อตกลงเช่นนี้แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็มีผลผูกพันบังคับระหว่างคู่สัญญากันได้ ไม่ใช่สัญญาให้โดยเสน่หาและไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายจึงไม่อยู่ใต้บังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 456, 525ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำเลยปลูกเรือนในที่ดินของจำเลยล้ำเข้าไปในที่ดินโฉนดอื่น อันเป็นส่วนที่จำเลยได้รับยกให้ตามสัญญาจะซื้อขายเพิ่มเติมดังกล่าวโดยโจทก์รู้เห็น และมิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์รับว่าจำเลยปลูกเรือนในที่ดินพิพาทได้โจทก์ ไม่มีสิทธิให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนหลังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดินรุกล้ำ และการโอนสิทธิที่ไม่ชอบ การโอนสิทธิโดยผู้ไม่มีสิทธิย่อมไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์
จำเลยที่ 1 ขอรังวัดที่ดินตามโฉนดของตนเพื่อทำแผนที่หลังโฉนดขึ้นใหม่ การรังวัดได้กระทำไปโดยได้แจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกแปลงไประวังแนวเขต แต่มิได้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านหนึ่งทราบด้วย แล้วจำเลยที่ 1 นำรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่าการออกโฉนดของจำเลยที่ 1 ซึ่งแก้ไขใหม่นั้นได้กระทำไปโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รุกล้ำเข้าไปนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินตามโฉนดนั้นให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิแล้ว ก็เป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีสิทธิ หาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 2 ในที่ดินที่รังวัดรุกล้ำไปนั้นไม่ จำเลยที่ 2 จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300 มายันโจทก์หาได้ไม่
จำเลยจ้างให้คนทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญของโจทก์ ขณะที่กำลังฝังเสาจะทำรั้วอยู่นั้น โจทก์พบเข้าก็ได้ห้ามปรามคนเหล่านั้นก็เลิกทำ อีก 2 วันต่อมาได้กลับมาทำรั้วต่ออีกพอโจทก์ห้ามก็ขนเครื่องมือหนีไป การลักลอบเข้าไปปักเสารั้วแล้วหนีไปเมื่อถูกห้ามเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าแย่งการครอบครองของโจทก์มาได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรังวัดที่ดินรุกล้ำ การโอนสิทธิที่ดินโดยไม่ชอบ และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยที่ 1 ขอรังวัดที่ดินตามโฉนดของตนเพื่อทำแผนที่หลังโฉนดขึ้นใหม่ การรังวัดได้กระทำไปโดยได้แจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกแปลงไประวังแนวเขต แต่มิได้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านหนึ่งทราบด้วย แล้วจำเลยที่ 1 นำรังวัดรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ดังนี้ ต้องถือว่าการออกโฉนดของจำเลยที่ 1ซึ่งแก้ไขใหม่นั้นได้กระทำไปโดยไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่รุกล้ำเข้าไปนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะโอนขายที่ดินตามโฉนดนั้นให้จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้โดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิแล้ว ก็เป็นการโอนสิ่งซึ่งตนไม่มีสิทธิ หาก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์แก่จำเลยที่ 2 ในที่ดินที่รังวัดรุกล้ำไปนั้นไม่ จำเลยที่ 2จะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299, 1300 มายันโจทก์หาได้ไม่
จำเลยจ้างให้คนทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญของโจทก์ ขณะที่กำลังฝังเสาจะทำรั้วอยู่นั้น โจทก์พบเข้าก็ได้ห้ามปรามคนเหล่านั้นก็เลิกทำ อีก 2 วันต่อมาได้กลับมาทำรั้วต่ออีกพอโจทก์ห้ามก็ขนเครื่องมือหนีไป การลักลอบเข้าไปปักเสารั้วแล้วหนีไปเมื่อถูกห้ามเช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าแย่งการครอบครองของโจทก์มาได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรื้อรั้วเมื่อจำเลยไม่ได้รุกล้ำทางสาธารณะ สิทธิเรียกร้องไม่มีผลบังคับ
คำฟ้องของโจทก์โจทก์อ้างว่าเพียงแต่ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ จำเลยทั้งสามรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณะ เป็นเหตุให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกไม่ได้ โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงขอให้จำเลยทั้งสามเปิดทางสาธารณะ คำฟ้องเช่นนี้เป็นการฟ้องขอให้เปิดทางสาธารณะที่โจทก์ถือว่าจำเลยรุกล้ำ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้ว่าจำเลยหาได้รุกล้ำทางสาธารณะไม่ ที่ดินที่โจทก์ว่าจำเลยรุกล้ำนั้น ความจริงก็เป็นที่ดินของจำเลยเอง ไม่ใช่ทางสาธารณะ ดังนี้แล้วโจทก์ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางขยายรั้วหรือรื้อรั้วที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่นั้นได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่าได้ใช้ทางเดินนี้มาเกิน 10 ปีแล้ว ก็เป็นแต่เพียงแสดงข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ใช้ทางนี้มานาน แต่มิได้หมายความว่าโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเปิดทางในฐานะเป็นทางภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1855/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอนสิทธิเพื่อนบ้านจากสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำพื้นที่สาธารณะและการฟ้องละเมิดที่ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 3308 อยู่ริมแม่น้ำ โดยซื้อจาก บ. ซึ่ง บ. รับซื้อจาก อ. อีกต่อหนึ่ง ที่ดินแปลงนี้อยู่ติดกับบ้านของจำเลยซึ่งปลูกอยู่ชายตลิ่งแม่น้ำในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตัวเรือนของจำเลยบังหน้าที่ดินของโจทก์ ขัดต่อความสะดวกในการที่โจทก์จะใช้สอยหรือรับประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังนี้ถือว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายพิเศษ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่เสียหาย เพราะที่ดินโจทก์ใช้เป็นทางเดินจำเป็นแล้ว ย่อมไม่ได้ (อ้างฎีกาที่1095/2500)
พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 มาตรา 89หาได้ตัดอำนาจโจทก์ที่จะฟ้องร้องจำเลยทางแพ่งเพื่อบังคับตามสิทธิของโจทก์อันมีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่
คดีแดงที่ 3425/2504 นั้น ศาลวินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยปลูกเรือนอยู่ได้เพราะบิดาของ อ. โจทก์ในคดีนั้นให้จำเลยเช่า และโจทก์ได้รับรองการเช่าแล้ว โจทก์ในคดีนั้นจึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลย เพราะจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าฯ อันเป็นประเด็นโต้เถียงเกี่ยวกับเรื่องเช่าทรัพย์ ไม่ใช่เรื่องละเมิด ส่วนคดีนี้โจทก์อ้างว่าได้รับซื้อที่ดินโฉนดที่ 3308 จาก บ. โดย บ. ซื้อจาก อ. เป็นโฉนดแบ่งแยกจากโฉนดเลขที่ 2389 คือ ที่ดินที่พิพาทในคดีแดงที่3425/2504. แต่โจทก์คดีนี้มิได้เป็นคู่ความกับจำเลยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3425/2504 จะถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสิทธิมาจากโจทก์ในคดีก่อนก็ไม่ได้ เพราะสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับโจทก์ในคดีก่อนเป็นสัญญาเช่าที่ในแม่น้ำนอกที่ดินที่โจทก์ในคดีนี้ซื้อมา จึงไม่ได้โอนมายังโจทก์พร้อมกับที่ดินที่โจทก์ซื้อ คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องเช่าทรัพย์ดังในคดีก่อน ประเด็นในคดีนี้คือ โจทก์ให้จำเลยออกไปจากหน้าที่ดิน จำเลยไม่ยอมออก อันเป็นเรื่องละเมิด ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแดงที่ 3425/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินจะโอนให้เอกชนไม่ได้ และสิทธิภารจำยอมไม่เกิดขึ้นหากรุกล้ำที่สาธารณะ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรกนั้น มีความหมายว่า บรรดาที่หลวงทั้งหลายซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 ก็ดี หรือที่ดินอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตามธรรมดาไม่ไช่ทรัพย์นอกพาณิชย์ และไม่ใช่ทรัพย์ที่จะถือเอาหรือโอนกันไม่ได้เหล่าหนี้ก็ดี ถ้าไม่มีกฎหมายพิเศษได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นแล้ว ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของอธิบดีกรมที่ดินดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกัน เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะมอบหมายให้ทบวงการเมืองอื่นเป็นผู้ใช้ก็ได้
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "บรรดาที่ดินดังกล่าวในวรรคแรกนั้น เมื่อมีเหตุผลอันสมควร รัฐมนตรีมีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองได้..." นั้น หมายความว่าถ้ารัฐเห็นสมควรจะให้ทบวงการเมืองใดรับผิดชอบดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันเอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีอำนาจที่จะจัดขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองนั้นๆ ได้
ที่ดินที่ขึ้นทะเบียนเป็นของทบวงการเมืองอื่นไว้แล้วแต่เดิมก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับนั้น ไม่มีคำสั่งกำหนดว่าให้ปฏิบัติอย่างไร และในทางปฏิบัติบรรดาที่ดินราชพัสดุที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อกระทรวงการคลัง กระทรวงการคลังก็คงใช้อำนาจปกครองอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้เพราะถือได้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นของกระทรวงการคลังแล้วโดยอนุโลมตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 8 วรรคท้าย ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่รับรองสิทธิของกระทรวงการคลังว่ายังคงมีอำนาจปกครองที่ดินที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นราชพัสดุไว้แล้วต่อไปตามเดิม อำนาจของกระทรวงการคลังจึงมิได้ถูกยกเลิกเพิกถอนไปโดยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคแรก ที่พิพาทได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุของกระทรวงการคลังแล้ว กระทรวงการคลังโจทก์ที่ 1 จึงมีอำนาจฟ้องได้
การเปลี่ยนชื่อกระทรวงทบงกรมต่างๆ จะทำได้ก็โดยตราขึ้นเป็นกฎหมาย ฉะนั้นจึงเป็นข้อที่ศาลรับรู้ได้เองว่ากระทรวงพระคลังฯ นั้นคือกระทรวงการคลัง
กำแพงเมืองและคูเมืองเป็นทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะแม้ต่อมากำแพงจะถูกรื้อทำลายลง และคูเมืองตื้นเขินขึ้นก็ตาม แต่ทางราชการก็ได้ถือว่าเป็นที่หลวงหวงห้ามตลอดมา ไม่ยอมให้ราษฎรยึดถือเอาเป็นเจ้าของ แม้จะขอเช่าก็ต้องได้รับอนุญาตก่อน ดังนี้ กำแพงเมืองและคูเมืองจึงยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเพราะเป็นที่สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
แม้นายอำเภอจะได้ทำนิติกรรมซื้อขายที่พิพาทให้จำเลย ก็ไม่ทำให้จำเลยได้สิทธิในที่พิพาท เพราะที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งจะโอนแก่กันมิได้ และจะยกอายุความขึ้นต่อสู้แผ่นดินไม่ได้
การได้สิทธิจดทะเบียนการจำยอมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1312 นั้น จะต้องเป็นการสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตแต่ที่พิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่ใช่ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาหรือของเอกชนจะนำมาใช้บังคับในกรณีนี้หาได้ไม่ ดังนั้น แม้จำเลยจะปลูกสร้างโดยสุจริตก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้จดทะเบียนการจำยอมได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 20/2511)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313-314/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสันนิษฐานเจ้าของรวมในที่ดินติดกัน และอำนาจการรุกล้ำคูคลอง
คูพิพาทเป็นเขตระหว่างที่ของโจทก์และจำเลย จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 ว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกันเมื่อจำเลยอ้างว่าคูซึ่งเป็นเขตระหว่างที่โจทก์และจำเลยเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวจำเลยจึงมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702-703/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินเหนือที่สาธารณะ: การรุกล้ำทำให้เดือดร้อนและเสียหายพิเศษ
จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนและขุดคูบนที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินกั้นหน้าที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดความสะดวกในการไปมาและใช้ทรัพย์ เช่นนี้ถือได้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยให้รื้อถอนโรงเรือนที่ปิดกั้นนั้นไปและไม่ให้เข้าเกี่ยวข้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341-350/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจังหวัดจากการกระทำของผู้ว่าราชการจังหวัด และการรุกล้ำที่สาธารณสมบัติ
จังหวัดซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนนั้น เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้กระทำการใดอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ราชการในตำแหน่งแล้ว จังหวัดก็จะต้องรับผิดชอบ โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายจึงมีอำนาจฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
โจทก์ปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของตนต่อมาน้ำในแม่น้ำได้เซาะตลิ่งพังเข้าไปถึงใต้ถุนอาคาร โจทก์จึงได้ต่อเสาและเอาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันมิให้อาคารของตนพังลงนั้น หาใช่โจทก์เข้าไปปลูกปักอาคารในที่ซึ่งเป็นทางสัญจรของประชาชนหรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามความหมายของประกาสคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 44 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินชายตลิ่งสาธารณสมบัติและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
โจทก์ซื้อที่ดิน (ที่มือเปล่า) จากผู้อื่นด้านยาวทิศใต้จดถนนหลวง ด้านกว้างทิศตะวันออกจดคลอง แล้วให้จำเลยเช่าโดยระบุว่าเช่าเพื่อปลูกอาสัย จำเลยใช้ที่ของโจทก์ทำคอกเป็ดและเลี้ยงเป็ด แต่ปลูกโรงเรือนอยู่ที่ในที่ดินต่อกับเขตที่ของโจทก์ออกไปทางทิศตะวันออก เป็นที่ซึ่งน้ำในลำคลองท่วมถึงเป็นปกติเกือบตลอดปี ที่ซึ่งจำเลยปลูกโรงเรือนนี้ย่อมเป็นที่ชายตลิ่งสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา 1304 ไม่ใช่ที่งอกริมตลิ่งตามมาตรา 1308 แม้โจทก์จะได้ครอบครองที่รายนี้มา 10 ปีเศษแล้ว แต่เมื่อตรงที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์ก็จะอ้างสิทธิครอบครองว่าเป็นของตนหาได้ไม่
แม้โรงเรือนของจำเลยจะไม่บังที่ดินของโจทก์ด้านถนนหลวง แต่ก็ปลูกอยู่ในที่ขายตลิ่งด้านที่ที่ดินโจทก์ติดริมคลอง เป็นที่กีดขวางระหว่างที่ดินของโจทก์กับคลองทำให้ที่ดินของโจทก์ด้านนั้นถูกริดรอนความสะดวกไปบ้า+โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยให้รื้อถอนโรงเรือนไปเสียได้ตามมาตรา 1337
โจทก์มุ่งหมายเรียกค่าเสียหายเฉพาะที่ขาดประโยชน์ที่ควรได้จากการเช่า เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อโรงเรือนอย่าให้ปิดบังกีดขวางหน้าที่ดินของโจทก์โดยมิใช่เหตุเพราะผิดสัญญาเช่า ศาลก็ไม่บังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายด้วย
of 11