คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลดเบี้ยปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาซื้อขาย: ศาลลดจำนวนเบี้ยปรับได้หากสูงเกินไป และค่าเสียหายพิเศษต้องมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยคาดการณ์ได้
สัญญาซื้อขายข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้วผู้ขาย(จำเลยที่1)ไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ(โจทก์)หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และวรรคสองระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวนหรือเฉพาะจำนวนที่ขาดส่งแล้วแต่กรณีภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วยและข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อ(โจทก์)ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ10ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ9กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ10วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้การที่โจทก์ทำสัญญาซื้อเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นจากจำเลยที่1ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดมีจำเลยที่2เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกำหนดส่งมอบของที่ซื้อขายกันภายในวันที่18สิงหาคม2530และวันที่29กันยายน2530ตามลำดับครั้นเมื่อครบกำหนดส่งมอบของตามสัญญาจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยมิได้มอบส่งมอบของตามสัญญาดังกล่าวให้โจทก์เลยโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับรายวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดส่งมอบจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้โดยถูกต้องตามสัญญาดังกล่าวภายหลังจากนั้นโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่1รีบส่งมอบของที่ซื้อขายกันตามสัญญาทั้งสองฉบับให้แก่โจทก์อีกพร้อมแจ้งการปรับไปด้วยมิฉะนั้นโจทก์อาจพิจารณาว่าจำเลยที่1ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้และใช้สิทธิเลิกสัญญาตามข้อ11วรรคสามต่อไปแต่จำเลยที่1ยังคงเพิกเฉยโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ดังนี้ตามพฤติการณ์ของโจทก์เป็นการแสดงว่าเมื่อจำเลยที่1ผิดสัญญาโดยไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาโจทก์ก็ยังไม่ประสงค์จะเลิกสัญญาทันทีตามสัญญาข้อ10โดยโจทก์คงเพียงแต่มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่1ส่งมอบของตามสัญญาต่อเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยที่1ไม่สามารถส่งมอบของได้ตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่1เช่นนี้เป็นการที่โจทก์เลิกสัญญาตามสัญญาข้อ11โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าปรับรายวันตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบของจนถึงวันที่โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ11ดังกล่าว จำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบของที่ซื้อขายกันในกำหนดตามสัญญาการที่โจทก์เรียกร้องเกี่ยวกับค่าขาดรายได้จากการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าและเครื่องอบความร้อนคลื่นสั้นในการรักษาผู้ป่วยนั้นเมื่อโจทก์เป็นส่วนราชการมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการค้าหากำไรค่าเสียหายส่วนนี้เป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นว่าจะเกิดค่าเสียหายส่วนนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการศึกษาต่อ – ศาลลดเบี้ยปรับได้เมื่อสูงเกินควร
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศ ข้อ 7 ก. ข้อ 8และข้อ 9 ความว่า ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่ 1 ยุติลง และเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการ จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้ เงินทุน เงินเดือน และเงิน-อื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมด พร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์ นอกจากนี้ จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีอีกด้วย ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้ว หากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 12 ต่อปี รวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่ง ย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไป ศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่งดังนั้น โจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ การคิดดอกเบี้ยซ้ำซ้อน และการลดเบี้ยปรับตามกฎหมาย
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศข้อ7ก.ข้อ8และข้อ9ความว่าในกรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการหลังจากการศึกษาของจำเลยที่1ยุติลงและเป็นเหตุให้จำเลยที่1ถูกลงโทษทางวินัยให้ไล่ออกจากราชการจำเลยที่1จะต้องชดใช้เงินทุกเงินเดือนและเงินอื่นใดที่จำเลยที่1ได้รับไปในระหว่างศึกษาต่อคืนแก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมทั้งเบี้ยปรับเป็นเงินอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนแก่โจทก์นอกจากนี้จำเลยที่1ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากเงินที่ยังมิได้ชำระคืนในอัตราร้อยละ12ต่อปีอีกด้วยข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับเมื่อจำเลยที่1ไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา380อีกส่วนหนึ่งด้วยเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเบี้ยปรับเป็นจำนวนเงินหนึ่งเท่าของเงินที่จำเลยที่1ต้องชดใช้คืนให้แก่โจทก์ครบจำนวนแล้วหากนำเบี้ยปรับที่กำหนดเป็นเบี้ยปรับอัตราร้อยละ12ต่อปีรวมเข้าเป็นเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งย่อมทำให้เบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับมีจำนวนสูงเกินไปศาลชอบที่จะลดเบี้ยปรับให้เหลือเพียงจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา383วรรคหนึ่งดังนั้นโจทก์ย่อมไม่สมควรได้รับดอกเบี้ยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิด สัญญาซื้อขายที่ดิน ความรับผิดชอบ และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ.โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 เมื่อวันที่19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เองเมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2รับเอาประโยชน์จากเงินทีได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วมย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3 ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน – ความรับผิดร่วมกันของลูกหนี้และผู้ค้ำประกัน – การลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นหน่วยงานของรัฐ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาหลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียนของประเทศ โจทก์จำต้องจัดหาบุคลากรเข้ามาทำงานทางด้านวิทยาการ ต้องติดต่อขอทุนศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบจากกรมวิเทศสหการ เมื่อกรมวิเทศสหการหาทุนได้แล้วโจทก์จะต้องดำเนินการคัดเลือกผู้ได้รับทุนเสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาอนุมัติ เมื่อผู้ได้รับทุนเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศสำเร็จการศึกษากลับมาแล้ว จะได้นำความรู้กลับมาพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป หากผู้ได้รับทุนบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ย่อมสูญเสียบุคลากรที่ได้สร้างขึ้นมาและสูญเสียเวลาที่จะต้องจัดหาผู้เข้ารับทุนรายอื่นไปศึกษาทดแทน ย่อมส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานราชการตามที่ได้วางเป้าหมายเอาไว้ เป็นความเสียหายที่โจทก์ได้รับซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ การที่สัญญาได้ระบุให้จำเลยที่ 1 ชดใช้เงินทุน เงินเดือน และเงินอื่นใดที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนโจทก์ และกำหนดเบี้ยปรับอีกจำนวนหนึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องชดใช้คืนนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่งแล้ว เงินเบี้ยปรับที่โจทก์เรียกร้องมาตามสัญญามิได้สูงเกินส่วน
ข้อสัญญาที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันสละสิทธิที่จะขอให้เรียกจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน และสละสิทธิที่จะให้โจทก์บังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 688 และ 689นั้น ฐานะของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันในลักษณะนี้จึงต้องรับผิดร่วมกันกับจำเลยที่ 1ผู้เป็นลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 691 หรือนัยหนึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับ, การเลิกสัญญา, ค่าเสียหาย: สิทธิเรียกค่าปรับเมื่อเลิกสัญญาและผลกระทบต่อการลดเบี้ยปรับหากสูงเกินไป
เมื่อพิจารณาข้อความสัญญาซื้อขายในส่วนหลังทั้งหมดแล้วถ้ามีการเลิกสัญญาก็ให้ผู้ซื้อมีสิทธิเรียกค่าชดเชยราคาสินค้าทีเพิ่มขึ้นและเรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากเบี้ยปรับ เท่ากับนอกจากเรียกร้องค่าเสียหายแล้ว ยังเรียกเบี้ยปรับที่นับจากวันหลังจากวันที่ส่งมอบของถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย กรณีของโจทก์และจำเลยเป็นเรื่องเลิกสัญญา ต้องใช้ข้อความส่วนหลังในสัญญาบังคับโจทก์จึงมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยที่ 1 ได้ เบี้ยปรับคือค่าเสียหายซึ่งคู่ความตกลงกันล่วงหน้าเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้หากเกินความเสียหายที่แท้จริง
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำ คือปรับเป็นเงินจำนวน400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาทเมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควร ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่น จำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก.เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก.จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด โจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3612/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน - เงื่อนไขสาระสำคัญ - ผู้เช่าไม่ยอมออกจากที่ดิน - เบี้ยปรับสูงเกินส่วน - ศาลลดเบี้ยปรับได้
ข้อสัญญาที่ว่า จำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้นได้แยกออกมาเป็นข้อที่ 5 ในสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยเฉพาะ และเมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้โจทก์ย่อมไม่สามารถเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทได้จนกว่าจำเลยจะดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดิน ทั้งในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ครั้งแรกโจทก์ได้นำแคชเชียร์เช็คไปชำระราคาที่เหลือครบถ้วน แต่ก็ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้เนื่องจากผู้เช่านายังไม่ยอมออกไปจากที่ดินพิพาท จนถึงขนาดโจทก์จำเลยต้องทำบันทึกกันใหม่เลื่อนเวลาจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ไปเพื่อให้จำเลยดำเนินการให้ผู้เช่านารื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ได้เลื่อนมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยว่าสัญญาข้อนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ย่อมเป็นสาระสำคัญของสัญญาและเป็นหน้าที่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดิน จึงต้องรับผิดโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน ข้อ 10 กำหนดว่า หากจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ปรับจำเลยเป็นเงิน 4 เท่า ของเงินมัดจำคือปรับเป็นเงินจำนวน 400,000 บาท ข้อกำหนดดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 380 เมื่อเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 ที่ดินพิพาทโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันในราคา 1,000,000 บาท เมื่อถึงกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ จำเลยก็ยอมจดทะเบียนโอนให้โดยดีแม้ผู้เช่านาจะไม่ยอมรื้อถอนขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินในวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ แต่ก็ยอมขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและออกจากที่ดินโดยมีกำหนดเวลาไว้พอสมควรความเสียหายที่โจทก์ได้รับจึงมีไม่มาก เหตุที่โจทก์กำหนดค่าปรับสูงเพราะกลัวว่าจำเลยจะไม่บอกผู้เช่านาให้ออกจากที่ดินและกลัวว่าที่ดินจะมีราคาสูงขึ้นและโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้นำที่ดินพิพาทไปขายต่อให้บุคคลอื่นจำเลยไม่ทราบว่าโจทก์จะนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่ ก. และไม่ทราบว่าโจทก์อาจถูก ก. เรียกเบี้ยปรับฐานผิดสัญญาทั้งโจทก์ก็จะได้รับโอนที่ดินตามที่เรียกร้องมาอยู่แล้วหาใช่จะได้รับแต่เพียงเบี้ยปรับแต่เพียงอย่างเดียวไม่เมื่อเบี้ยปรับเป็นเงิน 400,000 บาท สูงเกินส่วน แม้โจทก์จะชำระเบี้ยปรับจำนวน 500,000 บาทให้แก่ ก.ฐานไม่จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้ตามสัญญา ก็เป็นเรื่องที่โจทก์สละข้อต่อสู้ในเรื่องเบี้ยปรับสูงเกินส่วนกับ ก.โดยไม่คำนึงว่า ก. จะได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใดโจทก์จะให้จำเลยรับผิดในเบี้ยปรับที่ชำระให้แก่ ก.จนเต็มจำนวนหาได้ไม่ ชอบที่ศาลจะกำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องชำระให้โจทก์เป็นจำนวนพอสมควรเพียง 100,000 บาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้ตามกฎหมาย
ตามสัญญาซื้อขาย โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยผู้ขายได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งตามสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนการที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวัน จำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์รวม 4 ครั้ง แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญา ดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยนั้นเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรกแล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือประกันตามสัญญาข้อ 7กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้อีกตามสัญญาข้อ 9 วรรค 2 แต่เนื่องจากโจทก์เรียกค่าปรับมาสูงเกินส่วนเงินค่าปรับดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับอย่างน้อย ศาลมีอำนาจลดลงได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3075/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายและการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิปรับควบคู่การเลิกสัญญา
ตามสัญญาซื้อขายให้สิทธิโจทก์บอกเลิกสัญญาและปรับจำเลยได้ทั้งตามข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกตามข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดครบกำหนดการส่งมอบตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ โจทก์ได้ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลย 3 ฉบับ และสงวนสิทธิที่จะปรับจำเลยเป็นรายวันจำเลยมีหนังสือขอผ่อนผันการส่งมอบรถยนต์ต่อโจทก์แต่ในที่สุดจำเลยก็ไม่สามารถส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาดังนี้ การที่โจทก์สงวนสิทธิจะปรับจำเลยนั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาซื้อขาย ข้อ 9 วรรคแรก แล้วก่อนที่จะบอกเลิกสัญญา ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดสัญญาจึงต้องชำระค่าปรับให้โจทก์ตามข้อสัญญาดังกล่าว และต่อมาในระหว่างที่มีการปรับนั้นเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามข้อ 7 กับเรียกร้องให้ใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามข้อ 8 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาตามข้อ 9 วรรคสามได้ด้วย
of 14