คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละทิ้งหน้าที่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างหลังละทิ้งหน้าที่เนื่องจากถูกดูหมิ่น การกระทำของผู้จัดการฝ่ายขายไม่ผูกพันบริษัท
การที่ศ.ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่าโจทก์ได้เสียมีสัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายไม่มาทำงานเกินสามวันทำงานติดต่อกันจนเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์นั้น เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนั้น ศ.จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่จึงไม่ใช่ข้อสำคัญที่จำเป็นต้องวินิจฉัยและการพูดเช่นนั้นก็มิใช่เรื่องกีดกันมิให้ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดและการเลิกจ้าง: การใช้ดุลพินิจของนายจ้าง และการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ยื่นใบลากิจขอลาหยุด 2 วัน แต่หัวหน้าหน่วยอนุญาตให้ลาได้เพียง 1 วันนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ลา มิใช่เป็นการสั่งให้โจทก์กระทำการ หรือมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นการที่โจทก์หยุดงานเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ลาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง
การที่ลูกจ้างแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้องเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย และละทิ้งหน้าที่
โจทก์เป็นหัวหน้าคนงาน มีหน้าที่ต้องคอยบังคับบัญชาดูแลให้คนงานทำงานให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์กลับเรียกคนงานซึ่งกำลังทำงานให้จำเลยเข้าไปในห้องพักโดยไม่ยอมให้ออกมาทำงาน ทั้งๆ ที่ยังมีงานที่คนงานจะต้องทำให้จำเลยอีกจนจำเลยต้องจัดคนงานอื่นมาทำแทน การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย จำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และการกระทำดังกล่าวถือได้ด้วยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีจงใจทำให้นายจ้างเสียหายและละทิ้งหน้าที่
โจทก์เป็นหัวหน้าคนงาน มีหน้าที่ต้องคอยบังคับบัญชาดูแลให้คนงานทำงานให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง แต่โจทก์กลับเรียกคนงานซึ่งกำลังทำงานให้จำเลยเข้าไปในห้องพักโดยไม่ยอมให้ออกมาทำงานทั้งๆ ที่ยังมีงานที่คนงานจะต้องทำให้จำเลยอีกจนจำเลยต้องจัดคนงานอื่นมาทำแทนการกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และการกระทำดังกล่าวถือได้ด้วยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนไม่เป็นไปตามระเบียบ และการละทิ้งหน้าที่ ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติ ถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับของนายจ้าง ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3903/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่โดยไม่แจ้งตามข้อบังคับนายจ้าง ไม่ถือเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้หากมีเหตุป่วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่16 เมษายน 2515 ข้อ 47(4) ที่กำหนดว่าละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันมิใช่การละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงานฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18, 19, 20, 21, 22และ 23 แม้วันที่ 19, 21 และ 22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2487/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่งานต่อเนื่อง แม้มีวันหยุดคั่น ก็ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47ที่กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำ ที่ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันนั้นมุ่งหมายมิให้ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกันหลายวันทำงาน ฉะนั้น เมื่อลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ในวันที่ 18,19,20,21,22 และ 23 แม้วันที่ 19,21 และ22 จะเป็นวันหยุดก็ตาม ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ครั้งเดียวกัน ความเสียหายของนายจ้างไม่น้อยไปกว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่สามวันทำงานโดยไม่มีวันหยุดคั่นจึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ตามประกาศดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 90/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเจ้าอาวาสออกจากตำแหน่งเนื่องจากละทิ้งหน้าที่เกิน 30 วัน และการขาดการร้องทุกข์ตามระเบียบ
เจ้าอาวาสละทิ้งหน้าที่โดยออกนอกเขตปกครองไปอยู่ที่อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร เกินกว่า 30 วัน เจ้าคณะจังหวัดมีอำนาจปลดออกจากตำแหน่งได้ตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 5(พ.ศ. 2506) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และตามระเบียบมหาเถรสมาคม พ.ศ. 2506 ข้อ 4 และข้อ 5 หากจะมีการร้องทุกข์ ผู้ถูกปลดจะต้องร้องทุกข์ต่อ ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปภายใน 15 วัน นับแต่ทราบคำสั่งลงโทษ เมื่อมิได้มีการร้องทุกข์ให้ถูกต้องตามระเบียบดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งปลดออกจากตำแหน่ง
of 9