พบผลลัพธ์ทั้งหมด 149 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5766/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบวีดีโอเทปละเมิดลิขสิทธิ์และไม่มีฉลากตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค: ศาลมีอำนาจริบได้
จำเลยได้ขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าวีดีโอเทปของกลาง ที่ไม่มีฉลากแสดงข้อความภาษาไทยระบุชื่อผู้ผลิตสถานที่ประกอบการของผู้ผลิตชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 52 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคพ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา 30 โดยไม่มีฉลาก โดยรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ความผิดตามกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วยการขายสินค้าและสินค้านั้นเป็นสินค้าควบคุมฉลาก แต่ไม่มีฉลาก ดังนั้น ของกลางดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1) ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้ริบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4112/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์และการกระทำกรรมเดียวผิดหลายบท กฎหมายใดมีโทษหนักกว่าใช้บทนั้น
จำเลยได้นำวิดีโอเทปเรื่อง "เดอะ กริฟเตอร์ส" ออกขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่า ในลักษณะเพื่อการค้าโดยรู้ว่างานหรือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ในวิดีโอเทปนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27, 44 วรรคสอง แต่ความผิดในข้อหานี้กับในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุม กิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6, 34 ซึ่งเป็นอันยุติไปแล้วนั้น ตามฟ้องโจทก์เป็นการกล่าวหาใน วันเวลาเดียวกัน และการกระทำของจำเลยก็เป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกัน กล่าวคือ การขาย เสนอขาย ให้เช่า เสนอให้เช่าอย่างเดียวกัน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ซึ่งต้องพิจารณาจากอัตราโทษจำคุก คือ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6, 34 ซึ่งมีโทษหนักกว่า พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27, 44 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1027/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกกับการกระทำผิดซ้ำในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าพ้นโทษจำคุก จึงไม่สามารถเพิ่มโทษทวีคูณได้
คดีก่อนศาลลงโทษจำเลยฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยลงโทษปรับและจำคุก แต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ต่อมาขณะที่ยังไม่พ้นกำหนด 2 ปีดังกล่าว จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในคดีนี้อีก ดังนี้ แม้จำเลยจะพ้นโทษปรับ แต่คดีก่อนมีทั้งโทษปรับและรอการลงโทษจำคุก ถือไม่ได้ว่ามีการพ้นโทษจำคุก กรณีจึงวางโทษจำเลยทวีคูณตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521มาตรา 45 ไม่ได้
(เทียบ ฎ.3076/2523 (ป.) และ ฎ.4272/2531)
(เทียบ ฎ.3076/2523 (ป.) และ ฎ.4272/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6379/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานศิลปะประยุกต์: การออกแบบปากกา การละเมิดลิขสิทธิ์ และการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
ก่อนที่โจทก์ที่ 1 จะผลิตปากกา ค.และปากกาล.ออกจำหน่ายได้ต้องมีการดำเนินงานเป็นขั้นตอนหลายขั้นตอน ตั้งแต่การออกสำรวจและทำการวิจัยทางการตลาด เพื่อทราบความนิยมและความต้องการของผู้ใช้ปากกาลูกลื่น แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยมาให้กรรมการและลูกจ้างของโจทก์ทั้งสี่ทำการคิดค้นรูปทรงและลวดลายของปากกา โดยยกร่างในกระดาษและปรึกษาหารือกันจนได้รูปทรงและลวดลายเป็นที่พอใจ จึงได้มีการเขียนแบบทำหุ่นจำลองออกแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์กับหุ่นจำลองของปากกาดังกล่าว ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับทำแม่พิมพ์และผลิตปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวออกจำหน่ายถือได้ว่ากรรมการและลูกจ้างของโจทก์ทั้งสี่ดังกล่าวเป็นผู้ทำและก่อให้เกิดงานในแบบปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวขึ้น โดยความคิดริเริ่มของตนเอง แบบปากกา ค. และแบบปากกา ล. เป็นงานสร้างสรรค์อันเกิดจากการนำเอาการสร้างแบบพิมพ์รูปลักษณะของปากกาและแบบแม่พิมพ์ซึ่งเขียนด้วยลายเส้นประกอบเป็นรูปทรงอันเข้าลักษณะศิลปกรรมประเภทงานจิตรกรรมและงานสร้างแม่พิมพ์กับหุ่นจำลองของปากกาดังกล่าวซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์รูปทรงที่เกี่ยวกับปริมาตรที่สัมผัสและจับต้องได้ อันเข้าลักษณะศิลปกรรมประเภทงานประติมากรรมมาประกอบเข้าด้วยกันและสร้างขึ้นเป็นปากกาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการขีดเขียนและเพื่อประโยชน์ทางการค้าอันเป็นประโยชน์อย่างอื่นนอกเหนือจากการชื่นชมในคุณค่าของตัวงานจิตรกรรมและประติมากรรมดังกล่าวจึงเป็นงานศิลปประยุกต์อันอาจได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 11 ถึงที่ 13 ได้ร่วมกันทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกา ค. และจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3และจำเลยที่ 11 ร่วมกันทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกา ล. ของโจทก์ทั้งสี่โดยการทำแม่พิมพ์เลียนแบบและปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแบบปากกาทั้งสองแบบดังกล่าวจากแบบพิมพ์หุ่นจำลอง แม่พิมพ์ และเอกสารเกี่ยวกับการจัดทำปากกาดังกล่าวที่จำเลยที่ 11 ลักเอาไป แล้วจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 3 ผลิตปากกา จ. และปากกา ต. ออกจำหน่ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการทำซ้ำและดัดแปลงแบบปากกาที่โจทก์ทั้งสี่เป็นผู้มีลิขสิทธิ์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียผลประโยชน์ในทางการค้าและได้รับความเสียหาย จึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่ โจทก์ที่ 2 ต้องจัดทำกล่องพิเศษบรรจุปากกา ค. ทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิตอีกด้ามละ 21 สตางค์ เพื่อป้องกันมิให้เสียลูกค้าไป เป็นเรื่องที่โจทก์ที่ 2 ลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเป็นการจูงใจผู้บริโภคและให้สินค้าของโจทก์ที่ 2 จำหน่ายได้ดีขึ้นเป็นเรื่องปกติธรรมดาของการค้าขาย ไม่แน่ชัดว่าเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 11ถึงที่ 13 โจทก์ที่ 2 จึงไม่อาจเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: การให้เช่า/โฆษณาต้องเป็นงานที่ทำซ้ำ/ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงจะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างเพียงว่าม้วนเทปของกลางเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ และคดีไม่ได้ความว่าม้วนเทปของกลางได้ถูกทำซ้ำหรือดัดแปลง แม้จำเลยจะมีม้วนเทปของกลางไว้ให้เช่า เสนอให้เช่าหรือนำออกโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็น ความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ: การคุ้มครองงานสร้างสรรค์และขอบเขตการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อม
ในคดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 มาตรา 42 นั้น แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแต่เพียงว่าประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต้องให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆแห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย" อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่า ทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้ชอบแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าภาพยนตร์วีดีโอที่จำเลยนำออกให้เช่าเสนอให้เช่านั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงหาเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์มาตรา 27 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม: จำเลยต้องพิสูจน์ได้ว่างานที่นำออกให้เช่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางตรงตามมาตรา 24 และละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 คำขออื่นให้ยกจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวความผิดตามมาตรา 24 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 42 ว่า "ฯลฯ และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวฯลฯ" แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่าทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย"อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว แต่ที่โจทก์ฟ้องว่า ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนต์วีดีโอเทปตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้บังอาจนำเอาภาพยนต์วีดีโอเทปดังกล่าวออกให้เช่าเสนอให้เช่าแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ปรากฏว่าภาพยนต์วีดีโอเทปที่จำเลยนำออกให้เช่า เสนอให้เช่านั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จำเลยอาจนำเอางานที่ได้ทำขึ้นโดยชอบออกให้เช่า เสนอให้เช่าก็ได้อันหาใช่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27แต่อย่างไรไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยทำซ้ำ/ดัดแปลงงานมีลิขสิทธิ์โดยตรง แม้ไม่ต้องพิสูจน์ว่ารู้ว่าละเมิด
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มีได้ 2กรณี คือ กรณีแรกเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง ตามมาตรา 24 ได้แก่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 24(1) หรือ (2) คือการกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยมิได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กรณีที่สองเป็นกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 ได้แก่การกระทำบางอย่างที่มิใช่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอย่างเช่น กรณีมาตรา 24 แต่เป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1) ถึง (4) แก่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ในกรณีเช่นนี้จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือคู่มือครูคณิตศาสตร์ช่าง อุตสาหกรรม1,2 และ 3 ตามเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าได้ทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ดังกล่าว คือร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 และ จ.5 โดยลอกเลียนจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1ถึง จ.3 และศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าโจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 จำเลยทั้งห้าร่วมกันจัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.5 และเฉพาะจำเลยที่ 1ที่ 2 ยังได้จัดพิมพ์หนังสือเอกสารหมาย จ.4 โดยลอกเลียนดัดแปลงจากหนังสือเอกสารหมาย จ.1 ถึง จ.3 ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ก่อน ดังนี้เท่ากับศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยทั้งห้าได้ทำซ้ำหรือดัดแปลงแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ เป็นกรณีจำเลยทั้งห้าทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยตรงตามมาตรา 24.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้ว่างานนั้นละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น การกระทำโดยตรงหรือทางอ้อมก็ถือเป็นการละเมิดได้
การละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่เป็นการทำละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงตามมาตรา 24 ซึ่งได้แก่การกระทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือการนำออกโฆษณาซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 13 กับกรณีที่กฎหมายให้ถือว่าเป็นการละเมิดต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27ซึ่งได้แก่การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 27(1)ถึง (5) แต่งานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงอีกต่อหนึ่ง ดังนั้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 27จึงต้องปรากฏว่าผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานนั้นทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพการ์ตูน: เจ้าของลิขสิทธิ์คือผู้สร้างสรรค์ ไม่ใช่ผู้ว่าจ้าง การดัดแปลงและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิด
โจทก์มิได้สร้างสรรค์ภาพต้นแบบขึ้นโดยการรับจ้างจำเลย จำเลยจึงไม่ใช่ผู้ว่าจ้างอันจะมีลิขสิทธิ์ในงานนั้นตาม มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 โจทก์ย่อมเป็น เจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว จำเลยได้ดัดแปลง และนำงาน อันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ออกโฆษณาโดยมิได้รับอนุญาตจากโจทก์ ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการละเมิด ลิขสิทธิ์ของโจทก์ แม้ตามคำฟ้องของโจทก์จะได้บรรยายว่า การกระทำของ จำเลยเป็นการละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์และมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายส่วนนี้ด้วยก็ตามแต่ในชั้นชี้สองสถาน ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเรื่องละเมิดต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์เป็นประเด็นพิพาทไว้และโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านว่า ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นพิพาทไว้ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน จึงต้องถือว่าโจทก์สละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนอกประเด็นดังกล่าวย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา