คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ละเมิดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 736/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์และการเช่า การละเมิดสิทธิและผลของการทำสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมทำสัญญาให้บริษัท ว. ก่อสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ร่วม โดยตกลงให้อาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมบริษัทว. หรือบริษัทผู้รับช่วงจากบริษัท ว. ได้สิทธิเรียกร้องเงินกินเปล่าจากผู้เช่าและนำผู้เช่ามาทำสัญญากับโจทก์ร่วม บริษัท ว. ให้บริษัท ส. รับช่วงก่อสร้างอาคารดังกล่าวไป บริษัท ส. ได้ก่อสร้างอาคารพิพาทนี้แล้วบริษัท ว. และบริษัท ส. ได้ตกลงให้ ม. เช่าและนำ ม. ไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมต่อมา ม. โอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยโจทก์ร่วมอนุญาตและทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะได้ออกเงินค่าก่อสร้างอาคารพิพาทให้แก่บริษัท ส. และบริษัท ส. ตกลงจะให้จำเลยเช่าอาคารพิพาททั้งจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในอาคารพิพาทก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมก็ตามแต่เมื่อโจทก์ร่วมไม่ทราบถึงข้อตกลงระหว่างบริษัท ส.กับจำเลยและบริษัท ส. ไม่ได้นำจำเลยไปทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมข้อตกลงระหว่างจำเลยกับบริษัท ส. คงผูกพันเฉพาะจำเลยกับบริษัท ส. เท่านั้น ไม่ผูกพันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โจทก์ร่วมจึงไม่มีหน้าที่ให้จำเลยเช่าอาคารพิพาท
อาคารพิพาทปลูกในที่ดินของโจทก์ร่วม เมื่อตกลงกันว่าให้อาคารที่ก่อสร้างขึ้นตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม จึงเป็นส่วนควบของที่ดินของโจทก์ร่วมและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทันที โดยไม่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้โจทก์ร่วมอีก
การที่จำเลยได้เข้าอยู่ในอาคารพิพาทอันเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยไม่มีสิทธิที่จะอยู่นั้น เป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทเมื่อโจทก์ร่วมไม่ได้ฟ้องขับไล่จำเลย ทำให้โจทก์ผู้เช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้รับความเสียหายเพราะเข้าอยู่ในอาคารพิพาทไม่ได้ โจทก์ชอบที่จะฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกพิพาท และขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 ประกอบด้วยมาตรา 549แม้โจทก์และโจทก์ร่วมจะตกลงกันว่าโจทก์ร่วมไม่ต้องรับผิดในการรอนสิทธิ และโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ร่วมขจัดปัดเป่าการรอนสิทธิตามมาตรา483 ประกอบด้วยมาตรา 549 ก็ตาม แต่การที่โจทก์ขอให้ศาลเรียกโจทก์ร่วมเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้โจทก์ร่วมรับผิดในการรอนสิทธิทั้งโจทก์ร่วมก็ยินยอมเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีโจทก์ย่อมมีสิทธิดำเนินคดีในฐานะเป็นโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่จำเลยเข้าอยู่ในอาคารพิพาทโดยมิได้เช่าจากโจทก์ร่วมและเข้าอยู่โดยไม่มีสิทธิอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ร่วมโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยออกจากอาคารพิพาทก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้น้ำและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้มีใบอนุญาตทำชลประทานส่วนบุคคล ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
การที่จำเลยสร้างฝายและขุดเหมืองเพื่อส่งน้ำจากคลองสาธารณะไปใช้ในการทำนา แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้จัดทำชลประทานส่วนบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับที่ว่าจะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของผู้อื่นด้วย เมื่อจำเลยใช้สิทธิสร้างฝายและขุดลำเหมืองเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของนาได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิจะขอให้ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายนั้นให้สิ้นไป เช่น ให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายหรือถมลำเหมืองนั้นได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายและถมลำเหมืองในชั้นอุทธรณ์ จำเลยขอทุเลาการบังคับ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และจำเลยได้รื้อฝายและถมลำเหมืองไปแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยจัดการแก้ไขฝายและลำเหมืองอย่างใดอีก ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการใช้น้ำและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น แม้มีใบอนุญาตทำชลประทานส่วนบุคคล
การที่จำเลยสร้างฝายและขุดเหมืองเพื่อส่งน้ำจากคลองสาธารณะไปใช้ในการทำนา แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตให้จัดทำชลประทานส่วนบุคคล ก็ต้องอยู่ในบังคับที่ว่า จะต้องปฏิบัติการมิให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ของผู้อื่นด้วย เมื่อจำเลยใช้สิทธิสร้างฝายและขุดลำเหมืองเป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของนาได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิจะขอให้ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายนั้นให้สิ้นไป เช่น ให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายหรือถมลำเหมืองนั้นได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยรื้อหรือเปิดฝายและถมลำเหมืองในชั้นอุทธรณ์ จำเลยขอทุเลาการบังคับ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตได้มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และจำเลยได้รื้อฝายและถมลำเหมืองไปแล้ว ไม่มีความจำเป็นที่จะบังคับให้จำเลยจัดการแก้ไขฝายและลำเหมืองอย่างใดอีก ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE''GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกัน คำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL' เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์ และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิในที่ดิน: การครอบครองสิ่งของในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่มีสิทธิ แม้จะมีการขายต่อแล้วแต่ยังไม่ได้ขนย้ายออกไป ถือเป็นการละเมิดต่อเนื่อง
เมื่อจำเลยรับว่าเป็นเจ้าของแท่นเหล็กเครื่องปั๊มอลูมิเนียมรายพิพาท และแท่นเหล็กนั้นยังอยู่ในที่ดินของโจทก์ โดยไม่มีสิทธิที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย ก็เท่ากับยอมรับว่าละเมิดสิทธิในที่ดินโจทก์ และการละเมิดยังมีติดต่อกันเรื่อยไปจนกว่าจะขนย้ายออกไป แม้จำเลยจะได้ขายแท่นเหล็กนั้นให้ผู้อื่นไปก่อนถูกโจทก์ฟ้องก็ตาม ขณะฟ้องก็ยังไม่ได้ขนย้ายไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยขนย้ายแท่นเหล็กรายพิพาทออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามาตรา 172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เพื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นไดว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 45
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พ.ต.อ.ป.กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจ หาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยในฐานะเจ้าหน้าที่รัฐ: คำสั่งผ่อนผันการจับกุมละเมิดสิทธิโจทก์
โจทก์ฟ้องจำเลย 18 คน ศาลรับฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1ถึง 17 สำหรับฟ้องจำเลยที่ 18 ให้ยกเสีย ตามมาตรา172 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นว่า ให้รับคำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 18 ดังนี้ จำเลยที่ 18 ฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจได้มีคำสั่งไปยังสถานีตำรวจท้องที่ให้ผ่อนผันการจับกุมจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 โดยให้แย่งรับส่งคนโดยสารทับบนเส้นทางซึ่งโจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตจากทางการ ให้ประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์แต่ผู้เดียว เมื่อโจทก์แจ้งความขอให้ตำรวจจับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 17 มาดำเนินคดีตำรวจไม่ยอมดำเนินการให้ เพราะจำเลยที่ 18 มีคำสั่งผ่อนผันการจับกุมจำเลยไว้ โจทก์จะได้ขอให้ศาลเรียกคำสั่งดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาต่อไป ดังนี้ เห็นได้ว่าคำสั่งของจำเลยที่ 18 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ประกอบกับมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยที่โจทก์ขอให้เพิกถอนว่าเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวยืนยันโดยแจ้งชัดแล้วว่าจำเลยที่18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้ออกคำสั่ง สั่งว่าอย่างไร ถึงใคร และมีผู้ใดกระทำตามคำสั่งนั้นโดยแจ้งชัดแล้ว ไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องระบุชื่อจำเลยที่ 18 ว่า พล.ต.อ. ป. กรมตำรวจ และยังได้บรรยายฟ้องอีกว่า จำเลยที่ 18 ซึ่งเป็นอธิบดีกรมตำรวจใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 18 ในฐานะอธิบดีกรมตำรวจหาใช่ฟ้องในฐานะส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อวินิจฉัยการละเมิดสิทธิ
สลากเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าปิดที่ฝากล่องใส่ตะไบนอนไปตามส่วนยาวของกล่อง ตอนส่วนบนสลากของโจทก์เป็นรูปตะไบ 2 อันไขว้ทับกันเป็นเส้นทะแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมตรงกลางระหว่างโคนตะไบมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ ยู.เอส.เอ. เป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ส่วนของจำเลยเป็นรูปตะไบ 2 อันวางอยู่ห่างกัน หันปลายตะไบเข้าหากัน โคนตะไบถ่างออกจากกันตรงกลางระหว่างโคนตะไบเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวต่อลงไปทางส่วนกลางของสลากของโจทก์เป็นรูปผู้ชายกำลังยืนใช้ตะไบถูเหล็ก ส่วนของจำเลยเป็นรูปโรงงานมีควันไฟกำลังออกจากปล่องของโรงงานรูปทั้งสองบนสลากดังกล่าวนี้มีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจนที่สุด ไม่มีทางที่จะทำให้เห็นได้เลยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีลักษณะไปในทางเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และไม่ชวนให้เห็นว่าเป็นลักษณะทำนองเดียวกันหรือเกือบเหมือนกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน การที่จำเลยไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่จำเลยสั่งตะไบที่มีเครื่องหมายการค้าตามหมาย จ.11 มาขาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารละเมิดสิทธิหรือไม่: สิทธิส่วนบุคคลกับการควบคุมอาคาร
การปลูกสร้างอาคารชิดที่ดินของโจทก์โดยไม่ละเว้นระยะไว้ให้ห่าง50 เซนติเมตร ตามเทศบัญญัติซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 นั้นไม่ใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตามกฎหมายแพ่ง ถ้าหากจำเลยได้กระทำผิดกฎหมายนั้นก็เป็นเรื่องของเทศบาลหรือทางราชการที่จะเข้าควบคุมฟ้องร้องเอาเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความสับสนต่อผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิ แม้จะมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATE และ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่าแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้นไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ(ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้
of 13