พบผลลัพธ์ทั้งหมด 85 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องโทษหลบหนี
การบรรยายฟ้องเรื่องปลอมเอกสารที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
จำเลยที่ 1 เป็นพัสดีเรือนจำ จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมชั้น 2 จำเลยที่ 2 คุมนักโทษไปทำงานนอกเรือนจำแล้วนักโทษเกิดหลบหนีไป จำเลยที่ 2 รายงานให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 ให้ปกปิดไว้ก่อนเพื่อติดตามตัว เมื่อติดตามไม่ได้ จำเลยทั้งสองมิได้จัดการอย่างไร คงปกปิดไว้มิได้รายงานต่อผู้บัญชาการเรือนจำตามระเบียบ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือว่าเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13
ครั้นเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันลงชื่อนักโทษที่หลบหนีนั้นในบัญชีรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาลดโทษ คณะกรรมการฯ หลงเชื่อว่านักโทษผู้นั้นยังมีตัวอยู่ในเรือนจำ จึงลงมติลดโทษให้ 1 ใน 5 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1)
เมื่อถึงเวลาครบกำหนดที่นักโทษผู้นั้นจะพ้นโทษตามหมายจำคุกของศาล จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำดังนี้ (1) สลักหลังหมายจำคุกของนักโทษผู้นั้น รับรองว่าได้ตรวจสอบถูกต้องแล้ว เสนอปล่อยตัวในวันที่ 1 เมษายน 2507 โดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนลงนาม (2) ร่วมกันปลอมเอกสารใบสุทธิของนักโทษผู้นั้น โดยจำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนเองแทนนักโทษและจำเลยที่ 1 ลงนามตรวจรับรอง (3) จำเลยที่ 2 ลงลายพิมพ์นิ้วมือของตนแทนนักโทษในช่องเมื่อพ้นโทษ ในทะเบียนรายตัวผู้ต้องคุมขังของนักโทษผู้นั้น (4) จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำหนังสือของผู้บัญชาการเรือนจำถึงนายอำเภอสามเงาว่านักโทษผู้นั้นพ้นโทษ จะกลับไปอยู่อำเภอสามเงาภูมิลำเนาเดิม แล้วเสนอหนังสือนั้นให้ผู้บัญชาการลงนามโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนพิมพ์ จำเลยที่ 1 เป็นคนตรวจรับรอง การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 161, 264, 265 อีกกระทงหนึ่ง แต่ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ซึ่งเป็นกระทงหนักที่สุดกระทงเดียว โดยจำคุกคนละ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจละเว้นการจับผู้กระทำผิด ขัดขวางพยาน ถือเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่
จำเลยเป็นพลตำรวจขาดหนีราชการแต่ยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิด ได้ประสพเหตุการณ์กระทำผิดอาญากลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้าย โดยเข้าขัดขวางพูดจาขู่พยานผู้รู้เห็นมิให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ เป็นการละเว้นโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าทรัพย์ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือการจับกุมผู้กระทำผิด และขัดขวางพยาน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย
จำเลยเป็นพลตำรวจขาดหนีราชการแต่ยังมีหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดได้ประสบเหตุการณ์กระทำผิดอาญากลับละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่จะจับคนร้าย โดยเข้าขัดขวางพูดขู่พยานผู้รู้เห็นมิให้ยืนยันว่ารู้เห็นการกระทำผิด การละเว้นปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้ เป็นการละเว้นโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าทรัพย์ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำนันละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยผู้ต้องหาหลังรับเงิน ถือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
กำนันจับผู้ต้องหาเรื่องลักทรัพย์และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป ไม่นำส่งต่อพนักงานสอบสวน โดยได้รับเงินจากผู้ต้องหาทั้ง 2 คนละ 250 บาท ดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยงดเว้นไม่กระทำการตามหน้าที่อันเป็นการมิชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตาม มาตรา 149
การกระทำที่จะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบ และใช้อำนาจข่มขืนใจให้เขามอบให้หรือหาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิใช่เรื่องเรียก ฯลฯ ทรัพย์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งเป็นการตอบแทน เช่น จำเลย แกล้งจับเขามาข่มขู่ขืนใจ เรียกเอาเงินทองเขาโดยไม่ปรากฏว่าเกิดการกระทำผิดขึ้น
การกระทำที่จะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบ และใช้อำนาจข่มขืนใจให้เขามอบให้หรือหาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิใช่เรื่องเรียก ฯลฯ ทรัพย์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งเป็นการตอบแทน เช่น จำเลย แกล้งจับเขามาข่มขู่ขืนใจ เรียกเอาเงินทองเขาโดยไม่ปรากฏว่าเกิดการกระทำผิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำนันรับสินบนปล่อยผู้ต้องหา ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
กำนันจับผู้ต้องหาเรื่องลักทรัพย์และได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไป ไม่นำส่งต่อพนักงานสอบสวน โดยได้รับเงินจากผู้ต้องหาทั้ง 2 คนละ 250 บาทดังนี้ ย่อมได้ชื่อว่าจำเลยงดเว้นไม่กระทำการตามหน้าที่อันเป็นการมิชอบ การกระทำของจำเลยจึงเป็นผิดตามมาตรา 149
การกระทำที่จะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบ และใช้อำนาจนั้นข่มขืนใจให้เขามอบให้หรือหาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิใช่เรื่องเรียกฯลฯทรัพย์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งเป็นการตอบแทน เช่น จำเลยแกล้งจับเขามาข่มขู่ขืนใจเรียกเอาเงินทองเขาโดยไม่ปรากฏว่าเกิดการกระทำผิดขึ้น
การกระทำที่จะเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148จะต้องเป็นเรื่องที่จำเลยใช้อำนาจโดยมิชอบ และใช้อำนาจนั้นข่มขืนใจให้เขามอบให้หรือหาให้ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิใช่เรื่องเรียกฯลฯทรัพย์เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งเป็นการตอบแทน เช่น จำเลยแกล้งจับเขามาข่มขู่ขืนใจเรียกเอาเงินทองเขาโดยไม่ปรากฏว่าเกิดการกระทำผิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 170/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องร้องเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เลือกตั้ง: ผู้ใช้สิทธิลงคะแนนแล้วถือไม่เป็นผู้เสียหาย
กรณีที่หาว่าเจ้าพนักงานไม่ปิดบัตร์ตัวอย่างและไม่ปิดประกาศบัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นการผิด พ.ร.บ. การเลือกตั้งนั้น ถ้าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งได้ไปลงคะแนนแล้ว ย่อมถือว่าผู้นั้นไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238-244/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือผู้กระทำผิด โดยรับสินน้ำใจเพื่อไม่จับกุม
ปลัดอำเภอประจำตำบล รับผ้าไว้เป็นสินน้ำใจ ไม่จับกุมผู้กระทำผิดฐานมีผ้าผิดบัญชีที่แจ้งปริมาณไว้มีผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 137เพราะเป็นการละเว้นหน้าที่เพื่อให้คุณแก่ผู้กระทำผิดแม้จำเลยจะมิได้มีหน้าที่ตรวจจำนวนผ้าที่แจ้งปริมาณก็ดี แต่จำเลยมีอำนาจและหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดตาม พระราชบัญญัติปกครองท้องที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบนเจ้าพนักงาน: การให้เงินตำรวจเพื่อละเว้นหน้าที่
จำเลยให้เงินผลตำรวจผู้มีหน้าที่ควบคุมมิให้ผู้ใดติดต่อกับผู้ต้องหา ให้นำคำให้การ+ปให้ผู้ต้องหา เป็นการขอให้พลตำรวจกระทำผิดหน้าที่ เป็นผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12909/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ออก น.ส.3ก. โดยไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้ผู้อื่นได้ประโยชน์โดยมิชอบ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน ได้ลงลายมือชื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ให้แก่ ด. ซึ่งเป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของจำเลย โดยไม่ได้ตรวจสอบความถูกต้องว่า ด. ยื่นขอออก น.ส.3 ก ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงหรือไม่ และทำให้ ด. ได้ไปซึ่ง น.ส.3 ก ดังกล่าวโดยไม่มีสิทธิได้รับ ถือได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13134/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพนักงานไปรษณีย์ ปลอมเอกสารบัญชีนำจ่าย และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารบัญชีนำจ่ายไปรษณีย์ท่าตะโกที่จำเลยมีหน้าที่ทำ กรอกหรือดูแลเอกสารนั้น โดยลงลายมือชื่อปลอมของ อ. ผู้เสียหายที่ 2 และ จ. ผู้เสียหายที่ 3 ในบัญชีนำจ่ายไปรษณีย์ท่าตะโก ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 161 ถือว่าโจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานปลอมเอกสารไว้ครบถ้วนและประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวด้วย ศาลจึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่และวรรคหก