คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการก่อนหน้ามารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง 26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30 (3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ มาตรา 30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญข้าราชการ: เวลาราชการก่อน-หลังลาออกไม่อาจรวมกันได้
คำว่า "ออกจากราชการ" ใน พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯหมายถึงการที่ข้าราชการพ้นจากราชการ ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพ้นจากราชการเพราะลาออกด้วย โจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่ง พ.ร.บ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯดังนั้น เมื่อโจทก์เข้ารับราชการใหม่ จึงต้องคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญเฉพาะ การรับราชการครั้งใหม่เท่านั้น จะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งใหม่หาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการฯ มาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2221/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่ลาออกแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ ไม่อาจนำเวลาราชการเดิมมารวมคำนวณได้
โจทก์เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2487 และลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2500 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 13 ปี 7 เดือน 17 วัน ต่อมาโจทก์เข้ารับราชการอีกเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2504 แล้วลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 24มีนาคม 2526 รวมเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครั้งหลัง26 ปี 10 เดือน 3 วัน ดังนี้ เมื่อกรณีของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ลาออกจากราชการครั้งก่อนโดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ออกจากราชการโดยได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามมาตรา 30(3) แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯ แล้ว โจทก์จึงจะนำเวลาราชการตอนก่อนมารวมกับเวลาราชการครั้งหลังเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญหาได้ไม่เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯมาตรา 30.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 731/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สภาพการจ้างพนักงานฝ่ายจัดการ, การลาออกโดยสมัครใจ, และการสละสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์จากนายจ้าง
กฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่ให้จำเลยจ่ายบำเหน็จและเป็นผู้ออกภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้นั้นระบุไว้ชัดเจนว่าสำหรับพนักงานประจำที่มิใช่ฝ่ายจัดการโจทก์เป็นพนักงานฝ่ายจัดการจะนำข้อบังคับนี้มาใช้ไม่ได้จึงไม่อาจอ้างสิทธิว่าจำเลยจะต้องออกภาษีเงินได้ให้จากข้อบังคับนี้ เงินสมทบกองทุนเงินสะสมเป็นข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างกฎหมายแรงงานมิได้บังคับให้ปฏิบัติโจทก์จำเลยมีสิทธิตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้หาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่เมื่อโจทก์ทำบันทึกขณะลาออกจากงานว่านอกจากเงินตอบแทนที่จำเลยให้โจทก์แล้วโจทก์จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดจากจำเลยอีกโจทก์จึงต้องผูกพันตามเอกสารนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ ผลต่อการเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างทดแทน
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์ อ้างว่า โจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้อง จำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือน โจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้า แต่ถึงกำหนดจ่ายเงิน จำเลยกลับไม่ยอมจ่าย และไม่รับกลับเข้าทำงานอีก การกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้น และเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลง แต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ: ผลต่อสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า เดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัด ต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานคร และลดเงินเดือนโจทก์อ้างว่าโจทก์ทำงานบกพร่อง โจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้องจำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออก โดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้ 2 เดือนโจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้าแต่ถึงกำหนดจ่ายเงินจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายและไม่รับกลับเข้าทำงานอีกการกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับ คดีนี้จึงมีประเด็นว่า โจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับ หรือด้วยความสมัครใจ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออก จึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้น ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น อย่างไรก็ตาม ศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออก เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่ง ก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจ คู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้ว ปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มี คดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลงแต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ: ผลต่อการเรียกร้องค่าชดเชยและการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่าเดิมจำเลยบรรจุโจทก์ทำงานในต่างจังหวัดต่อมาได้ย้ายโจทก์มาประจำในกรุงเทพมหานครและลดเงินเดือนโจทก์อ้างว่าโจทก์ทำงานบกพร่องโจทก์โต้แย้งว่าจำเลยกระทำไม่ถูกต้องจำเลยไม่พอใจบังคับให้โจทก์เขียนใบลาออกโดยเสนอเงื่อนไขจ่ายค่าชดเชยให้2เดือนโจทก์เขียนใบลาออกล่วงหน้าแต่ถึงกำหนดจ่ายเงินจำเลยกลับไม่ยอมจ่ายและไม่รับกลับเข้าทำงานอีกการกระทำของจำเลยถือว่าจำเลยมีเจตนาเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจมิได้ถูกบังคับคดีนี้จึงมีประเด็นว่าโจทก์ลาออกด้วยถูกบังคับหรือด้วยความสมัครใจการที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ลาออกจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์นั้นย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นอย่างไรก็ตามศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์ได้เขียนใบลาออกเมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อความว่าโจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายเงินให้จำนวนหนึ่งก็ต้องถือว่าโจทก์ลาออกด้วยความสมัครใจคู่กรณีจึงต้องผูกพันตามข้อตกลงนั้นและเมื่อเป็นการลาออกด้วยความสมัครใจแล้วปัญหาเรื่องเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมก็ไม่มีคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องเรียกร้องเงินตามข้อตกลงแต่อาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่นศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้ตามฟ้องโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดเกษียณก่อนกำหนดตามระเบียบบริษัท มิใช่การลาออก จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
คู่มือพนักงานฯหมวดที่5ข้อ5.3การครบเกษียณอายุตามข้อ5.3.1นั้นปกติพนักงานชายจะเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์แต่มีข้อยกเว้นตามข้อ5.3.3ว่าจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานของจำเลยซึ่งเป็นพนักงานชายที่มีอายุ55ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแต่ละฝ่ายอาจขอให้รับการปลดเกษียณก่อนมีอายุครบ60ปีบริบูรณ์ก็ได้ซึ่งหากจำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือพนักงานผู้เป็นลูกจ้างขอให้รับการปลดเกษียณก่อนดังกล่าวแล้วย่อมมีผลเป็นการปลดเกษียณโดยได้รับเงินบำเหน็จด้วยเช่นเดียวกันส่วนการลาออกตามข้อ5.2นั้นเป็นเรื่องที่ลูกจ้างขอเลิกสัญญาจ้างแรงงานกรณีที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิขอให้ได้รับการปลดเกษียณตามข้อ5.3.3หรือมีสิทธิตามข้อ5.3.3แต่ลูกจ้างไม่ประสงค์จะให้ได้รับสิทธิเช่นนั้นเท่านั้นโจทก์มีหนังสือแจ้งแก่จำเลยว่าโจทก์ขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดขอได้พิจารณาอนุมัติตามระเบียบต่อไปจึงเป็นเรื่องโจทก์ใช้สิทธิขอลาเกษียณอายุก่อนกำหนดตามข้อ5.3.3แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ไว้ด้วยก็เป็นเพียงเหตุที่โจทก์ไม่ประสงค์จะปฏิบัติงานจนมีอายุครบ60บริบูรณ์จึงขอใช้สิทธิตามข้อ5.3.3เท่านั้นรูปเรื่องจึงมิใช่ขอลาออกตามข้อ5.2แต่เป็นเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุเกษียณอายุแล้วจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง: จำเลยไม่อาจกำหนดวันลาออกอื่นนอกเหนือจากที่ลูกจ้างแจ้งได้ แม้มีข้อบังคับกำหนดระยะเวลาแจ้งลาออก
จำเลยมีข้อบังคับว่า พนักงานที่ประสงค์จะลาออก จะต้องยื่นใบลาออกจากงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และวันที่จำเลยอนุมัติให้ลาออกได้เป็นวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงาน ข้อบังคับนี้มีความหมายเพียงกำหนดระเบียบการลาออกของพนักงานว่า จะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใด และวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานเป็นวันใด มิใช่หมายความว่าจำเลยมีสิทธิหรือมีอำนาจกำหนดการลาออกจากงานของโจทก์เป็นวันอื่นนอกจากใบลาได้ การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาออกเมื่อใดก็ได้ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง โจทก์ยื่นใบลาออกถูกต้องตามข้อบังคับ เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกำหนดวันลาออกของตนได้ จำเลยไม่ชอบที่จะอนุมัติวันลาเป็นประการอื่น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกก่อนกำหนดทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างที่จะได้รับถึงวันที่โจทก์ประสงค์ลาออกอย่างแท้จริง จำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาออกของลูกจ้าง: จำเลยไม่อาจกำหนดวันลาออกอื่นนอกเหนือจากที่ลูกจ้างยื่นได้
จำเลยมีข้อบังคับว่าพนักงานที่ประสงค์จะลาออกจะต้องยื่นใบลาออกจากงานล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30วันและวันที่จำเลยอนุมัติให้ลาออกได้เป็นวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานข้อบังคับนี้มีความหมายเพียงกำหนดระเบียบการลาออกของพนักงานว่าจะต้องยื่นใบลาล่วงหน้าเป็นระยะเวลาเท่าใดและวันสิ้นสุดสัญญาการจ้างงานเป็นวันใดมิใช่หมายความว่าจำเลยมีสิทธิหรือมีอำนาจกำหนดการลาออกจากงานของโจทก์เป็นวันอื่นนอกจากใบลาได้การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะลาออกเมื่อใดก็ได้ภายใต้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโจทก์ยื่นใบลาออกถูกต้องตามข้อบังคับเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะกำหนดวันลาออกของตนได้จำเลยไม่ชอบที่จะอนุมัติวันลาเป็นประการอื่นการที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกก่อนกำหนดทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับค่าจ้างที่จะได้รับถึงวันที่โจทก์ประสงค์ลาออกอย่างแท้จริงจำเลยต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนนี้.
of 14