พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6864/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยอ้างสิทธิโดยชอบตามสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ โจทก์มิได้พิสูจน์การซื้อขายเป็นโมฆะ คดีไม่มีมูล
ใบปกเทปเพลงของจำเลยที่ 1 ระบุชื่อจำเลยที่ 1 โดยเปิดเผยว่าเป็นผู้ผลิต จัดจำหน่ายและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เพลงในเทปซึ่งรวมถึงเพลงพิพาทประกอบกับสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงระบุว่า ด. ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงมีความเป็นไปได้ว่าจำเลยอาจกระทำการต่องานลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเข้าใจว่าตนมีสิทธิโดยชอบที่จะกระทำได้ โจทก์เองก็มิได้นำสืบว่า ด. ไม่ได้ขายลิขสิทธิ์เพลงพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 หรือบุคคลอื่นใดอีก พฤติการณ์แห่งคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสี่มีเจตนากระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์อันเป็นองค์ประกอบความผิดที่ฟ้อง คดีโจทก์ไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกานี้เกี่ยวกับการถอนคำร้องทุกข์คดีละเมิดลิขสิทธิ์และการพิพากษาคดีความผิด พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทป
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดอันยอมความได้ ตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์เสียเมื่อใดก็ได้ ผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์สำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องสำหรับข้อความความผิดนั้นย่อมระงับไป ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ต้องจำหน่ายคดีสำหรับข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังกล่าว เสียจากสารบบความ
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศได้วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีสำหรับข้อหาความผิดดังกล่าวจนเสร็จสิ้นพร้อมกับได้ส่งคำพิพากษาศาลฎีกาไปให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพื่ออ่านให้คู่ความฟังแล้ว จึงเห็นสมควรไม่อนุญาตให้จำเลยถอนอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 มาตรา 6 และ 34 โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้บังอาจประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปภาพยนตร์ซึ่งบันทึกภาพและเสียงภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ อันเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน การบรรยายฟ้องคำว่า "วิดีโอเทปภาพยนตร์" ดังกล่าว เป็นการบรรยายถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของจำเลยที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ได้บรรยายในคำฟ้องนั้นแล้วว่าวิดีโอเทปภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นเทปหรือวัสดุโทรทัศน์อันเป็นข้อกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่มีข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดครบถ้วนแล้ว มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ทั้งนี้ นอกจากกรณีที่ได้รับยกเว้นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง?" ผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องรับโทษตามมาตรา 34 เห็นได้ชัดว่ากฎหมายมีเจตนารมณ์ที่จะบัญญัติเป็นความผิดโดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์โดยทำเป็นธุรกิจหรือได้ประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในรูปของค่าธรรมเนียมสมาชิกหรือด้วยวิธีการอื่นใด แต่ผู้ประกอบกิจการนั้นประกอบกิจการไปโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนก่อน จำเลยมีอายุเพียง 20 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัด จำเลยไม่สามารถลงทุนมีร้านประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวิดีโอเทปอันเป็นกิจการที่ต้องใช้เงินมากตามฟ้องได้ จำเลยเป็นเพียงลูกจ้างและมารับจ้างทำงานในร้านโฮมวีดีโอที่กรุงเทพมหานคร มิได้เป็นเจ้าของร้านโฮมวีดีโอหรือเป็นเจ้าของกิจการร้านดังกล่าวหรือเป็นผู้ประกอบกิจการร้านนั้น จำเลยเป็นเพียงผู้นำภาพยนตร์วิดีโอเทปซึ่งตนรู้อยู่ว่ามีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ของผู้เสียหายออกให้เช่า เสนอให้เช่าแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จำเลยมิใช่ผู้ประกอบกิจการให้เช่าเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ที่ต้องไปขออนุญาตจากนายทะเบียนในการประกอบกิจการดังกล่าวก่อน ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้อง ก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์จากการถ่ายเอกสารเพื่อขาย: การกระทำเพื่อการค้าและการรับจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยทำซ้ำโดยถ่ายเอกสารงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมไว้หลายชุดแล้วเก็บไว้ที่ร้านค้าของจำเลยซึ่งอยู่ใกล้มหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือของโจทก์ร่วมและมีโอกาสที่จำเลยจะขายเอกสารที่ทำซ้ำขึ้นแก่นักศึกษาได้สะดวก เป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมโดยการถ่ายสำเนาเอกสารจำนวน 43 ชุดไว้เพื่อขาย เสนอขาย และมีไว้เพื่อขายอันเป็นการที่จำเลยทำซ้ำขึ้นเองเพื่อการค้าและแสวงหาประโยชน์จากการขายสำเนางานที่จำเลยทำซ้ำขึ้นมา มิใช่การรับจ้างถ่ายเอกสารจากนักศึกษาที่ต้องการได้สำเนางานที่เกิดจากการทำซ้ำไปใช้ในการศึกษาวิจัยอันเป็นเหตุยกเว้นมิให้ถือว่าการทำซ้ำของจำเลยเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 32(1) แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทและกรรมการ, ลิขสิทธิ์ในงานสร้างสรรค์, การจัดจำหน่ายสำเนาถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆ ของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวิดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดี หรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวิดีโอ แผ่นซีดี และแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวิดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2 จึงมีลิขสิทธิ์ในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวิดีโอ หรือแผ่นซีดี หรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15 (1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวิดีโอ แผ่นซีดี และแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแสดงแบบและลิขสิทธิ์: การผลิตผลงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ผิดสัญญาหากไม่ได้ห้ามไว้ชัดเจน
บริษัทจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นนิติบุคคลก็มีสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต่างหากจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นกรรมการ ดังนั้น การกระทำใด ๆของจำเลยที่ 2 จึงมิใช่ว่าจะเป็นการกระทำแทนจำเลยที่ 1 อันถือว่าจำเลยที่ 1ได้กระทำการนั้นเสมอไป ต้องพิจารณาว่าการที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นเป็นการกระทำในฐานะเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 หรือไม่ด้วย
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
เมื่อสัญญาว่าจ้างถ่ายแสดงแบบมิได้ระบุห้ามจำเลยที่ 2 มิให้บันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ในรูปแบบอื่นนอกจากเป็นม้วนเทปวีดีโอไว้โดยชัดแจ้งและสัญญาว่าจ้าง ข้อ 3 กำหนดให้ลิขสิทธิ์ที่เกิดจากการทำงานครั้งนี้ตกเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้ว่าจ้าง จำเลยที่ 2จึงมีสิทธิในงานบันทึกภาพการแสดงแบบของโจทก์ดังกล่าวอันเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 6 จำเลยที่ 2 ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะนำงานนั้นมาทำซ้ำหรือบันทึกภาพของโจทก์ดังกล่าวซ้ำในรูปแบบของม้วนเทปวีดีโอหรือแผ่นซีดีหรือแผ่นเลเซอร์ดิสก์อย่างหนึ่งอย่างใดออกจำหน่ายได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 15(1) การกระทำของจำเลยที่ 2ไม่เป็นการผิดสัญญาว่าจ้าง และไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ส่วนที่จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้จัดจำหน่ายม้วนเทปวีดีโอ แผ่นซีดีและแผ่นเลเซอร์ดิสก์นั้น ก็เป็นการจัดจำหน่ายสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 โดยได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยที่ 1จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะโจทก์มิใช่ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์: สัญญาจ้างไม่สมบูรณ์ ผู้รับจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการโฆษณา
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียนขึ้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่ามีเหตุมาจากการที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาการคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่ในชั้นแรกโจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณาจำเลยก็ขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้างแต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณา ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานสร้างสรรค์ภาพ "พิธีคล้องช้าง" ที่โจทก์ทำขึ้นจึงหาตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลยตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ไม่ แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำเพื่อโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีการคล้องช้างของจำเลยก็ตาม จำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยได้ดำเนินการจัดทำขึ้นไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จึงปรับบทลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 69 วรรคแรก เท่านั้น
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณานั้นจะมีถึง 4 ป้าย ด้วยกัน แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้าย และนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง นั้น จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือ เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
ได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นเพียงการกระทำเพื่อโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีการคล้องช้างของจำเลยก็ตาม จำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยได้ดำเนินการจัดทำขึ้นไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 69 วรรคสอง จึงปรับบทลงโทษจำเลยได้ตามมาตรา 69 วรรคแรก เท่านั้น
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณานั้นจะมีถึง 4 ป้าย ด้วยกัน แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้าย และนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง นั้น จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือ เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์: จำเลยดัดแปลงภาพถ่ายโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ไม่มีเจตนาค้ากำไรโดยตรง
โจทก์ซึ่งมีสัญชาติไทยเป็นผู้คิดสร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ซึ่งเป็นงานศิลปกรรมประเภทจิตรกรรมขึ้นมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวและมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามมาตรา 6,8 และ 15 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯส่วนจำเลยจะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานภาพเขียนดังกล่าวที่โจทก์สร้างสรรค์ขึ้นเพราะโจทก์สร้างสรรค์งานนี้โดยการรับจ้างจำเลยหรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 10
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
งานสร้างสรรค์ที่ผู้รับจ้างทำขึ้นมาจะตกเป็นลิขสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างก็ต่อเมื่อการว่าจ้างนั้นมีผลสมบูรณ์ผูกพันกันโดยชอบ การที่โจทก์สร้างสรรค์งานภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง" ขึ้นมานั้น แม้จะมีเหตุมาจากที่จำเลยมาติดต่อกับโจทก์เพื่อให้โจทก์จัดทำป้ายโฆษณาคล้องช้างในงานอยุธยามรดกโลกก็ตาม แต่โจทก์กับจำเลยยังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องที่สำคัญคือราคาค่าจ้างรวมทั้งรายละเอียดของภาพโฆษณา ต่อมาโจทก์ได้เขียนภาพต้นแบบขึ้นนำไปให้จำเลยพิจารณา จำเลยขอให้ปรับปรุงรายละเอียดบางประการ จากนั้นโจทก์จึงเสนอราคาค่าจ้าง แต่จำเลยเห็นว่าแพงไปและตกลงกันไม่ได้ จำเลยจึงไม่ว่าจ้างโจทก์ทำป้ายโฆษณาแสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยยังตกลงกันในเรื่องสาระสำคัญของสัญญาไม่ได้ การว่าจ้างหรือสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์จำเลยยังไม่เกิดขึ้น จำเลยจึงไม่ได้เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ งานที่โจทก์ทำขึ้นจึงไม่ตกเป็นลิขสิทธิ์ของจำเลย แต่เป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์เพียงผู้เดียว
ภาพเขียน "พิธีคล้องช้าง"ของโจทก์และภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาที่จำเลยทำขึ้นเป็นภาพที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ลักษณะเค้าโครงของภาพท่าทางของช้างและลักษณะเฉพาะของช้าง เช่นการงอเท้าและการยื่นเท้าคล้ายกัน และลักษณะการขยายส่วนของภาพจากภาพต้นแบบไปเป็นภาพในป้ายโฆษณาขนาดใหญ่มีขนาดของส่วนขยายที่คล้ายกัน ช้างตัวหน้ายกขาเหมือนกันตำแหน่งช้างก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ช้างตัวหลังมีท่าเดินเหมือนกันบรรยากาศ หรือส่วนประกอบของภาพก็เหมือนกัน ภาพในป้ายโฆษณาเป็นภาพที่มาจากต้นแบบ โดยดูจากการจัดองค์ประกอบของภาพทั้งหมด ตำแหน่งของการวางรูปช้างการยืนและท่าทางของช้าง รวมทั้งฉากหลังภาพซึ่งเป็นเพนียดท่าทางของคนที่อยู่บนหลังช้างรวมทั้งสีของภาพและลักษณะการคล้องช้าง ประกอบกับจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดทำป้ายโฆษณาขึ้นโดยการถือเอาภาพ "พิธีคล้องช้าง" ของโจทก์เป็นต้นแบบจึงเป็นการดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์
การทำป้ายโฆษณาของจำเลยอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เป็นเพียงการโฆษณาให้มีผู้มาเที่ยวงานอยุธยามรดกโลก แม้จำเลยจะได้ผลประโยชน์จากการที่มีผู้มาเที่ยวงานชมพิธีคล้องช้างของจำเลยก็ตามจำเลยก็มิได้นำภาพการคล้องช้างในป้ายโฆษณาไปทำการค้าขายหากำไรโดยตรง การกระทำของจำเลยยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เพื่อการค้าตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 69 วรรคสอง
แม้ภาพการคล้องช้างที่จำเลยดำเนินการจัดทำเป็นป้ายโฆษณานำไปติดตั้งโฆษณาอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์จะมีถึง 4 ป้ายด้วยกันก็ตาม แต่ในการจัดทำป้ายโฆษณาทั้ง 4 ป้ายและนำไปติดตั้งโฆษณา 4 แห่ง จำเลยมีวัตถุประสงค์เดียวคือเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานอยุธยามรดกโลก จึงเป็นกรณีมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์โดยเจตนาเดียวเท่านั้น เพียงแต่ได้มีการทำป้ายโฆษณาเพื่อนำออกโฆษณาเผยแพร่หลายแผ่นป้ายด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์ภาพหมีพูห์: การคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกทางศิลปะ ไม่คุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ และการขาดเจตนาละเมิด
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ของผู้เสียหาย อันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการเป็นงานศิลปกรรมนั้น เป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติ ซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี" (BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูน มนุษย์เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างจินตนาการในศิลปะลักษณะต่าง ๆ กันได้ และเมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกัน โดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนกันหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน ฉะนั้น การใช้ความคิดริเริ่มนำความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์เป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดเท่านั้นและการคุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิดดังกล่าวจนถึงขั้นที่ผู้สร้างสรรค์จะเป็นผู้มีลิขสิทธิ์นั้น ยังต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 8 ด้วย
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง
แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหายดังที่โจทก์อ้าง แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพบนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใด แต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่ง ความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น ทั้งลูกโป่งดังกล่าวที่มีภาพหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ได้แยกออกมาจากลูกโป่งจำนวนประมาณ 1,000,000 ใบ มีจำนวนเพียง 4,435 ใบ ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงจึงไม่พอให้รับฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2000/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รู้ว่าลูกโป่งละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
งานภาพพิมพ์รูปการ์ตูนหมีพูห์ (WinniethePooh) ของผู้เสียหายอันเป็นศิลปกรรมอยู่ในประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ผู้เสียหายสร้างสรรค์จินตนาการนั้นเป็นการสร้างสรรค์จินตนาการโดยวิจักขณ์จากธรรมชาติซึ่งเป็นสัตว์โลกที่เรียกกันว่า "หมี"(BEAR) มาเป็นงานศิลปกรรมในรูปการ์ตูนสัตว์โลกที่เป็น "หมี" เป็นสัตว์ธรรมชาติที่มีชีวิตที่งดงามแปลกหูแปลกตาและแปลกไปจากสัตว์อื่น มนุษย์ทุกคนย่อมมีปรัชญาศิลปะอยู่ในตัวบ้างไม่มากก็น้อย เมื่อพบเห็นสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติก็สามารถสร้างสรรค์จินตนาการในศิลปะในลักษณะต่าง ๆ กันได้เมื่อการสร้างสรรค์จินตนาการภาพการ์ตูนมีที่มาจากสัตว์ธรรมชาติอย่างเดียวกันโดยการริเริ่มขึ้นเองของผู้สร้างสรรค์แต่ละคน งานศิลปกรรมดังกล่าวจึงอาจจะเหมือนหรือคล้ายกันได้โดยไม่จำต้องมีการลอกเลียนทำซ้ำกันหรือดัดแปลงงานของกันและกันแต่อย่างใด พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 6 วรรคสอง ไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่ความคิดในการสร้างสรรค์งาน การใช้ความคิดริเริ่มนำเอาความสวยงามตามธรรมชาติของสัตว์โลกมาสร้างสรรค์จินตนาการเป็นภาพการ์ตูนจึงเป็นความคิดที่กฎหมายไม่ได้ให้ความคุ้มครองเอาไว้เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการผูกขาดจินตนาการหรือสุนทรียภาพในทางความคิดก่อให้เกิดผลเสียแก่มนุษยชาติ เนื่องจากจะมีผลทำให้บุคคลอื่นไม่สามารถสร้างสรรค์จินตนาการของตนเองเป็นภาพการ์ตูนจากสัตว์ธรรมชาติหรือจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติชนิดเดียวกันหรือประเภทเดียวกันได้ กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองเฉพาะการแสดงออกซึ่งความคิดซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์ตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ของผู้เสียหายโดยนำลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนรูปหมีพูห์ซึ่งได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายจำนวน 4,435 ใบ ออกขายเสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อหากำไรและเพื่อการค้า โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่ารูปหมีพูห์ดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า ลูกโป่งจำนวนดังกล่าวที่มีภาพตัวการ์ตูนรูปหมีพูห์ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย และจำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่ารูปหมีพูห์บนลูกโป่งดังกล่าวเป็นงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อปรากฏว่าจำเลยรับซื้อลูกโป่งจากบุคคลอื่นมาบรรจุแผงขาย เจ้าพนักงานตำรวจค้นและแยกลูกโป่งออกจากกันแล้ว พบว่ามีลูกโป่งที่มีภาพการ์ตูนหมีพูห์ที่คล้ายภาพหมีพูห์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายได้เพียง 4,435 ใบจากจำนวนลูกโป่งทั้งหมดเกือบ 1,000,000 ใบ ซึ่งมีภาพการ์ตูนสัตว์หลายประเภทปะปนกันนับว่าเป็นจำนวนน้อยมาก ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักและเหตุผลให้เชื่อได้ดังที่จำเลยนำสืบว่าจำเลยสั่งซื้อลูกโป่งมาขายแก่ลูกค้าโดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับภาพพิมพ์บนลูกโป่งว่าจะเป็นภาพใดแต่เน้นที่สีของลูกโป่ง เนื้อของลูกโป่งความยืดหยุ่น และลูกโป่งที่ไม่รั่วเท่านั้น โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบให้ฟังได้ว่า ภาพหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางคือภาพที่ได้ทำขึ้นโดยมิได้มีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นเอง แต่เป็นการทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย
แม้จะฟังว่าภาพการ์ตูนหมีพูห์บนลูกโป่งของกลางได้มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพพิมพ์หมีพูห์ของผู้เสียหาย แต่พยานหลักฐานเท่าที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้ฟังได้ว่า จำเลยรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานภาพพิมพ์บนลูกโป่งของกลางนั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ในงานศิลปกรรมภาพพิมพ์รูปหมีพูห์ของผู้เสียหาย แล้วจำเลยยังนำลูกโป่งที่มีภาพพิมพ์นั้นออกขายแก่ลูกค้าทั่วไป จำเลยจึงยังไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 และ 70 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์จากการถ่ายสำเนาเพื่อการค้า และการริบเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยนำเครื่องถ่ายเอกสารทำสำเนาจากต้นฉบับหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามเป็นเล่ม จำนวน 71 เล่ม หนังสือยังไม่เข้าเล่มจำนวน 290 ชุด และเอกสารเป็นแผ่นจำนวน 158 ชุด (6,162 แผ่น) ของกลางอันเป็นความผิดฐานทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วม ที่จำเลยกล่าวอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายว่า จำเลยซึ่งมีอาชีพรับจ้างถ่ายสำเนาเอกสารได้ถ่ายสำเนาเอกสารของกลางตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างคือนักศึกษาที่นำไปใช้เพื่อการศึกษาหรือวิจัย ได้รับการยกเว้นมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องนำสืบเพื่อพิสูจน์ให้เห็นตามข้อกล่าวอ้างของตน
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75
อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามที่ว่า จำเลยกระทำผิดฐานมีสำเนาเอกสารของกลางไว้เพื่อขายอันเป็นการค้านั้น โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำหนังสือซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามและนำหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น หาได้บรรยายว่า จำเลยมีหนังสือซึ่งจำเลยทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวไว้เพื่อขายมาในฟ้องด้วยไม่ อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมทั้งสามดังกล่าวเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 75 เป็นบทบัญญัติบังคับเด็ดขาดให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด
เครื่องถ่ายเอกสารของกลาง 4 เครื่อง เป็นเครื่องถ่ายเอกสารที่ใช้ผลิตสำเนาเอกสารของกลาง เครื่องถ่ายเอกสาร 4 เครื่อง ของกลาง จึงเป็นสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด ซึ่งต้องริบตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75