คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,226 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งานนอกสถานที่และเวลาทำงาน: การพิจารณาค่าล่วงเวลาสำหรับลูกจ้างที่ทำงานนอกสถานที่และลักษณะงานไม่แน่นอน
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่ตรวจสอบอุบัติเหตุรถยนต์ที่ประกันภัยไว้กับจำเลย จำเลยกำหนดเวลาทำงานปกติ 8.30 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เวลาพักวันละ 1 ชั่วโมง วันทำงานปกติ คือ วันจันทร์ถึงวันศุกร์วันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์และวันอาทิตย์ วันหยุดตามประเพณีปีละ 13 วัน การทำงานของโจทก์ไม่ต้องไปทำงาน ณ สถานที่ทำการของจำเลยแต่จะประจำอยู่ที่บ้านโจทก์ เมื่อมีลูกค้าของจำเลยแจ้งต่อจำเลยว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น จำเลยจะโทรศัพท์แจ้งโจทก์เพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการตรวจสอบอุบัติเหตุ เมื่อดำเนินการเสร็จโจทก์เดินทางกลับบ้านเพื่อรอรับโทรศัพท์แจ้งเหตุรายต่อไป ในการตรวจสอบอุบัติเหตุแต่ละครั้ง โจทก์ต้องทำรายงานเพื่อส่งแก่จำเลย งานดังกล่าวของโจทก์จะมีขึ้นต่อเมื่อรถยนต์ที่ประกันภัยไว้กับจำเลยเกิดอุบัติเหตุซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด จึงเป็นงานที่มีลักษณะหรือสภาพที่ต้องออกไปทำนอกสถานที่ และโดยลักษณะหรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาที่แน่นอนได้ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (6) การที่โจทก์ประจำอยู่ที่บ้านแม้จะเตรียมพร้อมที่จะออกไปทำงานตรวจสอบอุบัติเหตุเมื่อได้รับแจ้งจากจำเลย แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบอุบัติเหตุให้แก่จำเลยก็ยังถือว่าทำงานให้แก่จำเลยไม่ได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกับโจทก์ได้มีข้อตกลงให้โจทก์ทำงานวันละกี่ชั่วโมง จึงต้องถือกำหนดเวลาทำงานแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 วรรคสอง โจทก์นำสืบแต่เพียงว่า โจทก์ทำงานนอกเวลาทำงานปกติตั้งแต่เวลา 17.00 นาฬิกา ถึง 8.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงในวันใด จำนวนเท่าใด จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานและการกระทำละเมิดของลูกจ้าง
การที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อนายจ้างในระหว่างการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นอกจากจะเป็นการกระทำละเมิดต่อนายจ้างแล้วยังเป็นการกระทำที่ผิดสัญญาจ้างแรงงานอีกด้วย ซึ่งการที่นายจ้างฟ้องเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1393/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของลูกจ้างต่อความเสียหายจากละเมิดและผิดสัญญาจ้าง กรณีสัญญาค้ำประกันปลอม
จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ ปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์ โดยปล่อยให้บุคคลภายนอกนำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรายหนึ่งออกไปให้ผู้ค้ำประกันลงนามโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ของโจทก์ไปด้วย ปรากฏว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นลายมือชื่อปลอม ทำให้โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานและเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วย ความเสียหายที่เป็นสาเหตุโดยตรงจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของจำเลยคือหนี้ต้นเงินจำนวน 2,000,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารสามารถเรียกเอาจากลูกหนี้ผู้ทำสัญญาบัญชีเดินสะพัดเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ได้รวมทั้งผู้ค้ำประกันด้วย แต่จำเลยมิใช่เป็นผู้ค้ำประกันหนี้แห่งความเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 2,000,000 บาท ของต้นเงินตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดโดยไม่ได้นำเอาดอกเบี้ยตามสัญญาดังกล่าวในอัตราร้อยละ 18.50 ต่อปี มาคิดคำนวณเป็นค่าเสียหายให้ด้วย โดยวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 538 ย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากฝ่าฝืนระเบียบการทำงานร้ายแรง กรณีการกระจายหนี้และทำสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์ปฏิบัติผิดระเบียบข้อบังคับของจำเลยเกี่ยวกับการทำงานเรื่องโจทก์กระจายหนี้ให้ลูกหนี้แต่ละรายใช้วงเงินสินเชื่อให้อยู่ในอำนาจอนุมัติของโจทก์แทนการอนุมัติจากสำนักงานใหญ่ และยอมให้ลูกหนี้เงินกู้ทำสัญญาค้ำประกันซึ่งกันและกัน ทำให้ธนาคารจำเลยไม่สามารถควบคุมการปล่อยสินเชื่อได้ เป็นเหตุให้เกิดหนี้เสีย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำนวนมาก และมีผลกระทบต่อความเชื่อถือของประชาชน จึงเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ ข้อ 46 (3) และจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8854/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกเวลางานและนอกสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง
ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างที่กำหนดให้การประพฤติตัวเป็นอันธพาลและกระทำผิดทางอาญาต่อเพื่อนร่วมงานเป็นระเบียบวินัยที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ได้ ซึ่งนายจ้างอาจลงโทษได้ถึงเลิกจ้างนั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4)
น. และ ป. ลูกจ้างโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ลูกจ้างโจทก์ด้วยกันเพียงคนเดียว สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องส่วนตัว มิใช่ น. และ ป. เกะกระระรานหาเรื่อง พ. แต่ฝ่ายเดียวการกระทำของบุคคลทั้งสองยังไม่ถึงขนาดประพฤติตนเป็นพาลเกเรแกล้งทำให้ พ. เดือดร้อนโดยไม่มีสาเหตุ อันเป็นการประพฤติตนเป็นคนเกะกะระรานตามความหมายของคำว่าอันธพาล ทั้งเป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางานไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์โดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าบุคคลทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) โจทก์เลิกจ้างบุคคลทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8854/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกเวลางานและสถานที่ทำงาน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบวินัยร้ายแรง
ระเบียบข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างที่กำหนดให้การประพฤติตัวเป็นอันธพาลและกระทำผิดทางอาญาต่อเพื่อนร่วมงานเป็นระเบียบวินัยที่ลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ได้ ซึ่งนายจ้างอาจลงโทษได้ถึงเลิกจ้างนั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)
น. และ ป. ลูกจ้างโจทก์ทำร้ายร่างกาย พ. ลูกจ้างโจทก์ด้วยกันเพียงคนเดียว สาเหตุเกิดจากการทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องส่วนตัว มิใช่ น. และ ป. เกะกะระรานหาเรื่อง พ. แต่ฝ่ายเดียว การกระทำของบุคคลทั้งสองยังไม่ถึงขนาดประพฤติตนเป็นพาลเกเรแกล้งทำให้ พ. เดือดร้อนโดยไม่มีสาเหตุ อันเป็นการประพฤติตนเป็นคนเกะกะระรานตามความหมายของคำว่าอันธพาล ทั้งเป็นเรื่องลูกจ้างทำร้ายกันเองนอกสถานที่ทำงานและนอกเวลางาน ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์โดยตรง จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถือไม่ได้ว่าบุคคลทั้งสองฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานของโจทก์กรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) โจทก์เลิกจ้างบุคคลทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างลักทรัพย์และทำให้เสียหายซึ่งเอกสารการเงินของนายจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโรงเรียน
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา อ. โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้งสองเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินค่าสมัครเรียนซึ่งเป็นของกิจการโรงเรียนดังกล่าว ส่วนการได้รับอนุญาตให้โอนโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจการในนามของโจทก์ร่วมเมื่อใดนั้น หาได้กระทบถึงความเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนของโจทก์ร่วมไม่ เมื่อมีการรับเงินค่าสมัครเรียนดังกล่าวโดยมีการออกใบเสร็จรับเงินในนามของโรงเรียนโจทก์ร่วมให้แก่ผู้สมัครเรียน ซึ่งจำเลยลูกจ้างโจทก์ร่วมทำหน้าที่รับเงินค่าสมัครเรียนไว้ต้องส่งมอบเงินนั้นให้แก่โจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง การที่จำเลยเอาเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินดังกล่าวไปเสียโดยทุจริตย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7983/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสหภาพแรงงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าผู้ยื่นคำขอเป็นลูกจ้าง
จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ได้รับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ ซึ่งมี ส. กับพวก รวม 11 คน เป็นผู้ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารประกอบคำขอครบถ้วน ทั้งผู้เริ่มก่อการยืนยันว่าเป็นลูกจ้างโจทก์โดยมีหนังสือสัญญาจ้างขนส่งน้ำมันระหว่างผู้เริ่มก่อการกับโจทก์ ต่อมาสหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกและยื่นขอจดทะเบียนกรรมการสหภาพและข้อบังคับสหภาพต่อสำนักงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ จำเลยมีหนังสือสอบถามโจทก์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเป็นลูกจ้างของโจทก์จริงหรือไม่ โจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธ สหภาพแรงงานกรีนไลน์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแต่มิได้เจรจา เกิดเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์วินิจฉัยว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับพนักงานขับรถขนส่งน้ำมันมีฐานะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง อันมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ดังนี้ เมื่อเกิดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์และสหภาพแรงงานกรีนไลน์ต่างมีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อรัฐมนตรีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำวินิจฉัย กรณีที่มิได้อุทธรณ์ภายในกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม ตามนัย พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 23 ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมเป็นที่สุด ข้อเท็จจริงย่อมฟังเป็นยุติว่า นายสังเวียนกับพวกรวม 11 คน ที่ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานกรีนไลน์นั้นเป็นลูกจ้างโจทก์ การรับจดทะเบียนจัดตั้งสหภาพแรงงานกรีนไลน์ของจำเลยทั้งสี่จึงชอบด้วยกฎหมายแรงงานสัมพันธ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีถูกกล่าวหาลักทรัพย์: การเสียหายต่อบิดาผู้ใช้อำนาจปกครอง และขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
โจทก์และเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน ขณะที่โจทก์และ ศ. เดินกลับจากการซื้อสินค้ามายังบริเวณที่จอดรถ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เข้ามาแจ้งต่อโจทก์ว่า ศ. ลักสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 และขอตรวจค้นตัว ศ. แต่เมื่อโจทก์ให้ ศ. ล้วงกระเป๋ากางเกงออกมาไม่พบสินค้าที่อ้างว่าถูกลักมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงกลับไป โจทก์เป็นบิดา ศ. ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปี จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ขณะเลี้ยงดู ศ. ตามกฎหมายและให้การศึกษาตามสมควร ตลอดจนให้การอบรมสั่งสอนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม เหตุที่ ศ. ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นขณะที่ ศ. เดินซื้อสินค้าอยู่กับโจทก์ การควบคุมดูแล ศ. มิให้ลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นบิดาด้วย นอกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะพูดกล่าวหา ศ. แล้ว ยังขอค้นตัว ศ. อีก ความเสียหายจึงมิใช่เกิดจากคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กล่าวหา ศ. เพียงประการเดียว แต่กระทบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้นด้วย เพราะบุคคลทั่วไปที่ได้ยินคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมเข้าใจว่าบุตรโจทก์ชอบลักเล็กขโมยน้อย อันแสดงว่าโจทก์ไม่ดูแลสั่งสอนบุตรให้เป็นพลเมืองดี หรืออาจเข้าใจได้ว่าโจทก์สนับสนุนบุตรให้ลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมได้รับความอับอายและเสียชื่อเสียง โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการกล่าวหาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7670/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงาน แม้ตกลงในใบสมัครงานขัดกฎหมาย
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันไว้ในใบสมัครงานว่าลูกจ้าง ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ ข้อตกลงจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และใช้บังคับไม่ได้ ลูกจ้าง ย่อมมีสิทธิได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์
จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ การลดค่าจ้างหรือการเลิกจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 65 (1) ที่จะทำให้ไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามมาตรา 66 เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดดังกล่าวตามมาตรา 62
of 223