พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนฟ้องล้มละลายได้ แม้ศาลแพ่งยังไม่มีคำพิพากษา
จำเลยเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่เจ้าหนี้จะฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยเจ้าหนี้ไม่จำเป็นต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3) บัญญัติแต่เพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่ฟ้องล้มละลายได้ แม้ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแพ่ง กำหนดจำนวนหนี้ได้แน่นอนตามสัญญากู้
หนี้ที่โจทก์นำมาเป็นมูลฟ้องคดีล้มละลายเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี สัญญารับรองวงเงินโดยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กับหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนที่ฟ้องเป็นคดีล้มละลายได้โดยไม่จำต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง หรือหากฟ้องเป็นคดีแพ่งแล้วให้ศาลในคดีแพ่งมีคำพิพากษาก่อน เพราะ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3) บัญญัติเพียงว่า หนี้นั้นอาจกำหนดจำนวนไว้โดยแน่นอน มิได้บัญญัติว่า หนี้นั้นศาลจะต้องมีคำพิพากษากำหนดจำนวนให้แน่นอนเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกัน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94 บัญญัติว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้ ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ดังนั้น เมื่อเจ้าหนี้ทำสัญญาเช่าอาคารกับลูกหนี้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2544 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 มูลแห่งหนี้จึงเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ สำหรับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนตุลาคม 2544 จำนวน 85,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 2 นั้น เจ้าหนี้ยังเช่าอาคารอยู่โดยนำเงินค่าเช่าที่ต้องชำระให้ลูกหนี้ส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แสดงว่าลูกหนี้ได้ให้เจ้าหนี้ใช้ประโยชน์ในอาคารที่เช่าตามสัญญาซึ่งรวมถึงเดือนตุลาคม 2544 แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าล่วงหน้าของเดือนดังกล่าวคืน จึงขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ไม่ได้
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
เงินประกันการเช่าอาคารจำนวน 300,000 บาท และเงินประกันค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ จำนวน 100,000 บาท ที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าอาคารข้อ 3 รวมเป็นเงิน 400,000 บาท ลูกหนี้จะคืนให้เจ้าหนี้เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า และได้ส่งมอบอาคารที่เช่าพร้อมทรัพย์สินในอาคารเป็นที่เรียบร้อยถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยสัญญาเช่าอาคารจะครบกำหนดวันที่ 30 กันยายน 2547 จึงเป็นหนี้ในอนาคตแม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ก็มีสิทธินำมาขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ทั้งขณะที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอรับชำระหนี้สัญญาเช่าอาคารได้ครบกำหนดแล้วก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลล้มละลายไม่อยู่ในข้อยกเว้นอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย อุทธรณ์จึงต้องห้าม
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 425/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจปฏิเสธการปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายเมื่อลูกหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ได้
การใช้อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 122 นั้น จะกระทำได้เฉพาะกรณีไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับมา มิใช่หมายถึงว่า จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่ผู้ถือจะพึ่งได้รับไป ในกรณีที่จำเลย (ลูกหนี้) เป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อผู้ร้องใช้สิทธิขอให้จำเลยโดยผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญา ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4149/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: เงื่อนไขหนี้ก่อน-หลังศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการ
การที่กฎหมายให้สิทธิเจ้าหนี้ขอหักกลบลบหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้ตามมาตรา 90/33 นั้น เป็นระบบการจัดการทรัพย์สินในอันที่จะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ที่จะนำหนี้ที่ตนมีภาระต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้อยู่แล้วในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการไปหักกับหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการได้
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
มาตรา 90/33 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการเป็นลูกหนี้ในเวลาที่มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ" ย่อมหมายถึงในเวลาที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้นั้น ลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่างเป็นหนึ่งซึ่งกันและกัน มิได้หมายถึงช่วงระยะเวลาที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ฉะนั้น หนี้ที่เจ้าหนี้จะนำมาหักกลบลบหนี้ได้นั้นเจ้าหนี้ต้องเป็นหนี้ลูกหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเจ้าหนี้จึงนำหนี้ดังกล่าวมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องแก่ลูกหนี้ได้
ถ้าเจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้หลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ และได้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ภายหลังศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเช่นกัน เจ้าหนี้และลูกหนี้ย่อมสามารถนำหนี้ที่มีต่อกันมาหักกลบลบหนี้กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341 โดยหากเจ้าหนี้เป็นฝ่ายที่ขอหักกลบลบหนี้แล้วก็ย่อมทำได้โดยการแสดงเจตนาต่อผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนแล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4098/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรให้ล้มละลาย: ความรับผิดชอบชำระหนี้, อาชีพมั่นคง, มีความสามารถหารายได้ชำระหนี้
จำเลยที่ 1 กับเพื่อนได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์เพื่อใช้เป็นทุนในการเปิดคลินิกทันตแพทย์ ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง โดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้ต่อสู้คดีเพราะเห็นว่าเป็นหนี้โจทก์จริง หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ติดต่อชำระหนี้แก่โจทก์อีกหลายครั้งแต่ไม่สามารถตกลงกันได้ และเมื่อถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย จำเลยที่ 1 ก็ได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์อีกเพื่อขอผ่อนชำระหนี้ ปัจจุบันจำเลยที่ 1 ได้ทำงานประจำที่คลินิกทันตกรรม มีรายได้ประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 60,000 บาท กรณีเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์มาเพื่อลงทุนในการประกอบอาชีพโดยสุจริต แม้ไม่ประสบความสำเร็จก็ยังพยายามติดต่อขวนขวายชำระหนี้แก่โจทก์เรื่อยมา การกระทำดังกล่าวย่อมแสดงถึงความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ในภาระหนี้ที่มีต่อโจทก์ เมื่อพิจารณาถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ซึ่งประกอบอาชีพทันตแพทย์และมีรายได้ในการประกอบอาชีพที่แน่นอน ประกอบกับความพยายามโดยสุจริตในการที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้บุคคลอื่นอีก จำเลยที่ 1 ยังอยู่ในวิสัยที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตนหาเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ กรณีจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้, การโอนสิทธิเรียกร้อง, และการแจ้งเจ้าหนี้เมื่อสิทธิเดิมสิ้นสุด
แม้ระหว่างพิจารณาคดีล้มละลายของศาลชั้นต้นโจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยทั้งสองไปยังบริษัท บ. ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ได้หมดไปในระหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ในขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นผู้มีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 ซึ่งเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เหล่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจงไม่ และเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้ชั่วคราวแล้ว หากศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่สิทธิของโจทก์สิ้นไปในระหว่างพิจารณาก็จะต้องดำเนินการโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายทราบล่วงหน้าก่อนไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้เจ้าหนี้ดังกล่าวยื่นคำร้องเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์เดิมได้เช่นเดียวกับเหตุตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 154 แต่เมื่อปรากฏว่าต่อมาในระหว่างพิจารณาในศาลชั้นต้นได้มีการยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท บ. เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการโอน โดยบริษัท บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวคืนแก่โจทก์แล้ว เช่นนี้โจทก์จึงยังคงมีสถานะเป็นเจ้าหนี้มีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2985/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดีและทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้: ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลาย
ทนายจำเลยทั้งสองสืบพยานจำเลยทั้งสองได้เพียงปากเดียวแล้วขอเลื่อนคดีถึง 2 ครั้งติด ๆ กัน กับยกเลิกวันนัดอีก 1 นัด ในการขอเลื่อนคดีทุกครั้ง ศาลชั้นต้นได้กำชับให้ทนายจำเลยทั้งสองเตรียมพยานมาให้พร้อมสืบ แต่พอถึงวันนัดทนายจำเลยทั้งสองขอเลื่อนคดีอีกเป็นครั้งที่ 3 ด้วยเหตุผลเดิม ๆ ว่า พยานที่ขอให้ศาลออกหมายเรียกไม่มาศาล ทั้ง ๆ ที่พยานดังกล่าวเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งควรจะนำมาศาลได้โดยง่าย พฤติการณ์แห่งคดีแสดงว่าจำเลยทั้งสองมิได้ให้ความสนใจและความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ทั้งตามคำแถลงขอเลื่อนคดีก็มิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของศาลว่าหากไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีแล้วจะทำให้เสียความยุติธรรมอย่างไร ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจประวิงคดีและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีกับให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสองจึงชอบแล้ว
เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานแสดงฐานะและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ในบริษัทต่าง ๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด มีมูลค่าพอชำระหนี้โจทก์ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองเพิ่งนำมาแสดงหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้ศาลฎีการับฟัง เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ความจริงปรากฏได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงถึงงบการเงินเพื่อให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยถือหุ้นอยู่มีผลประกอบการเป็นอย่างไร และหุ้นต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถืออยู่มีมูลค่าที่แท้จริงเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้หรือไม่ และยังได้ความตามหนังสือรับรองของบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ว่าขาดส่งงบการเงินปี 2542 รวม 10 บริษัท นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทร้าง 1 บริษัท ส่วนห้องชุดที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์มีภาระจำนองอีกด้วย ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองอ้างมา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย
เอกสารเกี่ยวกับหลักฐานแสดงฐานะและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองที่ระบุว่าจำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ในบริษัทต่าง ๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุด มีมูลค่าพอชำระหนี้โจทก์ได้ ซึ่งจำเลยทั้งสองเพิ่งนำมาแสดงหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานจำเลยทั้งสองแล้ว ไม่ต้องห้ามมิให้ศาลฎีการับฟัง เพราะ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ลูกหนี้อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ จำเลยทั้งสองจึงชอบที่จะเสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ความจริงปรากฏได้ อย่างไรก็ตาม จำเลยทั้งสองไม่ได้แสดงถึงงบการเงินเพื่อให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยถือหุ้นอยู่มีผลประกอบการเป็นอย่างไร และหุ้นต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถืออยู่มีมูลค่าที่แท้จริงเป็นเงินตามจำนวนที่ระบุไว้หรือไม่ และยังได้ความตามหนังสือรับรองของบริษัทต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองถือหุ้นอยู่ว่าขาดส่งงบการเงินปี 2542 รวม 10 บริษัท นายทะเบียนได้ขีดชื่อออกจากทะเบียนบริษัทร้าง 1 บริษัท ส่วนห้องชุดที่จำเลยที่ 2 ถือกรรมสิทธิ์มีภาระจำนองอีกด้วย ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่จำเลยทั้งสองอ้างมา จึงไม่อาจรับฟังได้ว่ามีมูลค่าเพียงพอชำระหนี้ได้ทั้งหมด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้เป็นหนี้มีเงื่อนไข หากมูลหนี้เกิดก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
บริษัท ส. ขอให้เจ้าหนี้ออกหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัทต่อบุคคลอื่นมีข้อตกลงว่าหากเจ้าหนี้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลอื่นแล้ว บริษัท ส. จะชดใช้ให้เจ้าหนี้โดยมีจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันบริษัท ส. ดังนี้ แม้หนี้ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 ทำไว้กับเจ้าหนี้จะเป็นหนี้ที่มีเงื่อนไข แต่มูลหนี้ตามสัญญาดังกล่าวล้วนเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย (ลูกหนี้) ที่ 2 เด็ดขาด เจ้าหนี้จึงมีสิทธินำหนี้ที่มีเงื่อนไขดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 94