พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายด้วยวิธีปิดหมายในคดีมโนสาเร่ ศาลมีอำนาจย่นระยะเวลาตามกฎหมายได้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องในคดีมโนสาเร่ ศาลมีอำนาจออกคำสั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 190 ตรี เมื่อโจทก์ขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องด้วยวิธีปิดหมาย โดยแนบแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรซึ่งมีเจ้าหน้าที่รับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันฟ้อง ศาลชั้นต้นได้สั่งย่นระยะเวลาการส่งหมายด้วยการปิดหมายโดยให้มีผลทันที จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบวันนัดพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่วันปิดหมายแล้ว ไม่ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลา 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีหลังเพิกถอนการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด ศาลมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่ไม่ใช่โจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
โจทก์ในฐานะหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะบียนเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ชำระบัญชีและให้สั่งเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชี เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนและให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดตามคำขอของโจทก์แล้ว จึงเป็นกรณีผู้มีส่วนได้เสียร้องขอให้ตั้งผู้ชำระบัญชีเมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันโดยไม่มีผู้ชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1251 วรรคสอง ซึ่งศาลย่อมมีอำนาจตั้งผู้ชำระบัญชีได้ และตามบทบัญญัติดังกล่าวหาได้บัญญัติบังคับศาลให้ต้องตั้งโจทก์เป็นผู้ชำระบัญชีตามคำขอของโจทก์เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลอื่นที่เห็นว่าเป็นคนกลางได้ ไม่เป็นการมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเกินคำขอของโจทก์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม เมื่อการเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดมิได้เกิดจากผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งล้มละลายอันจะเป็นเหตุให้สมควรตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ชำระบัญชี จึงเห็นสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสมัครใจให้เป็นผู้ชำระบัญชีแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรื้อฟื้นคดีอาญา: สามีขอรื้อฟื้นคดีแทนภรรยาที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ได้ และอำนาจศาลในการสั่งรับคำร้อง
ผู้ร้องเป็นสามีจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 ยังมีชีวิตอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิ์ยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่แทนจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขั้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 6 (4)
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาคดีใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 13 (2) เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ มิได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ การมีคำสั่งว่าคำร้องของผู้ร้องมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่จึงเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับพยานนอกกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลมีอำนาจได้หากมีเหตุผลแห่งความยุติธรรม และประเด็นสำคัญในคดี
จำเลยที่ 1 มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานจนล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย หลังจากนั้นได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมรวม 2 ครั้ง โจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 2 ของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 ยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2545 โดยเข้าใจว่า เป็นการยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 โจทก์รับสำเนาแล้วไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตและรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 จึงถือว่าเป็นกรณีที่ศาลอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อพ้นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่ง อันเป็นการใช้ดุลพินิจรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสามแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่สองได้ แม้โจทก์จะคัดค้าน และการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แต่เมื่อคดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทอย่างเป็นเจ้าของหรือในฐานะผู้เช่า ดังนี้ บัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 1 ที่อ้างพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์ จึงนับว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับบัญชีระบุพยานจำเลยที่ 1 และอนุญาตให้จำเลยที่ 1 นำพยานบุคคลตามบัญชีระบุพยานเข้าเบิกความ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7980/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี ศาลมีอำนาจไต่สวนเหตุผลที่โจทก์ไม่ได้มาศาลเพื่อพิจารณาว่าเป็นการทิ้งฟ้องจริงหรือไม่
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 (1) ทำให้คดีเสร็จไปจากศาล เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งใหม่ให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาอันต้องห้ามตามมาตรา 226 (1)
ศาลชั้นต้นได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และหากเห็นว่ามีการกระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
ศาลชั้นต้นได้สั่งจำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไปแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องแสดงเหตุอันสมควร ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะทำการไต่สวนคำร้องของโจทก์เพื่อทราบข้อเท็จจริง และหากเห็นว่ามีการกระทำหรือการดำเนินกระบวนพิจารณาไปโดยผิดหลงและเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยสั่งเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าโจทก์ทิ้งฟ้องและให้จำหน่ายคดีจากสารบบความนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6009/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างวรรคผิดในฟ้องอาญา ศาลมีอำนาจลงโทษตามบทที่ถูกต้อง และแก้ไขโทษจำคุกให้เหมาะสม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสาม มิได้ระบุขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 357 วรรคสอง ให้สอดคล้องกับคำบรรยายฟ้อง เป็นเรื่องที่โจทก์อ้างวรรคผิดเท่านั้น มิใช่เรื่องที่คำฟ้องของโจทก์ขัดแย้งกัน คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10659/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินรวม แม้ไม่มีข้อตกลงเฉพาะเจาะจง ศาลมีอำนาจแบ่งตามสัดส่วนได้
คำฟ้องโจทก์กล่าวถึงสภาพเดิมของที่ดินพิพาท ซึ่งสามารถใช้ทำนาปลูกข้าวได้ แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงเป็นที่ดินตาบอดออกสู่ถนนสาธารณะไม่ได้เพราะสภาพแวดล้อมของแปลงที่ดินข้างเคียงที่เปลี่ยนไป โดยโจทก์มุ่งหมายอธิบายการแบ่งทรัพย์ที่ดินพิพาทดังคำขอบังคับท้ายฟ้องให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับการใช้สอยที่ดินของที่ดินข้างเคียง ไม่มีวลีใดหรือข้อความในวรรคตอนใดในคำฟ้องบ่งบอกว่าโจทก์และจำเลยทั้งสี่เคยตกลงกันแจ้งชัดหรือโดยปริยายตั้งวัตถุประสงค์การใช้สอยที่ดินพิพาทไว้โดยเฉพาะเจาะจงเพื่อทำนาหรือให้เช่าทำนาอย่างใดเลย และคำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งสี่เองที่ต่างสละประเด็นไปแล้ว ก็มิได้โต้เถียงไว้ในประการดังกล่าวเพียงแต่อ้างว่า การแบ่งแยกตามที่โจทก์ขอบังคับจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมทุกคนและด้อยประโยชน์ที่เหมาะสมเท่านั้น ฟ้องโจทก์จึงมิใช่เรื่องเกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพย์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1358 ตามที่จำเลยทั้งสี่โต้เถียง ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาโดยไม่นำหลักเกณฑ์เสียงข้างมากของเจ้าของรวมตลอดจนสิทธิตามสัดส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นมาใช้บังคับ จึงชอบแล้ว
คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินจากเจ้าของรวมคนอื่น จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 1363 และมาตรา 1364 มาใช้บังคับแก่กรณี ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาบอดไม่เป็นโอกาสอันควรที่จะทำการแบ่งแยกในขณะนี้เพราะจะทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของรวมคนอื่นมีราคาต่ำไปด้วย และโดยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำปัจจุบันอาจถูกผู้ซื้อกดราคาจนต่ำมากทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายอย่างร้ายแรง จึงอยู่ในบังคับตามมาตรา 1363 วรรคสามที่บัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" นั้น จำเลยทั้งสี่ได้แถลงสละประเด็นตามคำให้การและไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 อันหมายความว่า ศาลพึงต้องชี้ขาดพิพากษาคดีไปตามประเด็นแห่งคดีในคำฟ้องและคำขอบังคับ เมื่อโจทก์ประสงค์ที่จะแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ประสงค์ที่จะแบ่งในเวลานี้โดยไม่ปรากฏเหตุโต้แย้งเพราะจำเลยทั้งสี่สละประเด็นตามคำให้การแล้ว ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์เป็นกรณีไม่ต้องห้ามที่จะเรียกให้แบ่งแยกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1363 วรรคสาม จึงชอบแล้ว และถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้มีคำขอบังคับตามนัยมาตรา 1364 แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องมาโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันอันมิได้แบ่งแยกส่วนเฉพาะเจาะจงเป็นประการสำคัญ ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 วรรคสอง ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คดีนี้โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินจากเจ้าของรวมคนอื่น จึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 1363 และมาตรา 1364 มาใช้บังคับแก่กรณี ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาโต้แย้งว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตาบอดไม่เป็นโอกาสอันควรที่จะทำการแบ่งแยกในขณะนี้เพราะจะทำให้ที่ดินเฉพาะส่วนเจ้าของรวมคนอื่นมีราคาต่ำไปด้วย และโดยสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำปัจจุบันอาจถูกผู้ซื้อกดราคาจนต่ำมากทำให้จำเลยทั้งสี่เสียหายอย่างร้ายแรง จึงอยู่ในบังคับตามมาตรา 1363 วรรคสามที่บัญญัติว่า "ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้" นั้น จำเลยทั้งสี่ได้แถลงสละประเด็นตามคำให้การและไม่ติดใจสืบพยานต่อไป ตามรายงานกระบวนพิจารณาวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 อันหมายความว่า ศาลพึงต้องชี้ขาดพิพากษาคดีไปตามประเด็นแห่งคดีในคำฟ้องและคำขอบังคับ เมื่อโจทก์ประสงค์ที่จะแบ่งกรรมสิทธิ์รวม แต่จำเลยทั้งสี่ไม่ประสงค์ที่จะแบ่งในเวลานี้โดยไม่ปรากฏเหตุโต้แย้งเพราะจำเลยทั้งสี่สละประเด็นตามคำให้การแล้ว ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์เป็นกรณีไม่ต้องห้ามที่จะเรียกให้แบ่งแยกดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1363 วรรคสาม จึงชอบแล้ว และถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริต
แม้คำฟ้องโจทก์จะมิได้มีคำขอบังคับตามนัยมาตรา 1364 แต่การที่โจทก์ยื่นฟ้องมาโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาแบ่งที่ดินพิพาทที่โจทก์และจำเลยทั้งสี่ถือกรรมสิทธิ์รวมกันอันมิได้แบ่งแยกส่วนเฉพาะเจาะจงเป็นประการสำคัญ ศาลย่อมมีอำนาจแบ่งให้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 1364 วรรคสอง ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และสั่งให้วางค่าธรรมเนียม
การที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยที่ 1 โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่นั้น หากอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ศาลอุทธรณ์ก็ย่อมพิพากษาให้พิจารณาใหม่ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ต้องถูกเพิกถอนไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสาม อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวมีผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง และเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา ศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวโดยมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้ทันที การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หลังจากที่มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แต่มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งนั้นเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้แก่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไปยังศาลอุทธรณ์อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 232
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2912/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่มีข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ ศาลมีอำนาจคุ้มครองประโยชน์ก่อนอนุญาโตตุลาการ
เหตุบกพร่องของสัญญาไม่ว่าจะเป็นการแสดงเจตนาลวงหรือกลฉ้อฉลของผู้คัดค้านอันนำไปสู่ข้ออ้างของผู้ร้องว่าเป็นการกระทำละเมิดของผู้คัดค้าน เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเนื้อหาและความสมบูรณ์ของสัญญาซื้อขาย จึงเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญาโดยตรง อีกทั้งการยกเหตุดังกล่าวถือเป็นการโต้เถียงในเรื่องความมีอยู่ของสัญญา และการมีผลใช้บังคับของสัญญา ซึ่งอยู่ในอำนาจวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 24 การยื่นคำร้องคดีนี้จึงเป็นเรื่องสัญญา หาใช่มูลละเมิด และตามคำร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเรียกร้องเกี่ยวกับข้อโต้แย้งตามสัญญาซื้อขาย ซึ่งจะต้องดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อตกลงในสัญญา ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งใช้วิธีการชั่วคราวเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของตนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 16 ทั้งผู้ร้องกล่าวอ้างมาในคำร้องดังกล่าวแล้วว่า ผู้คัดค้านมีพฤติการณ์ตั้งใจจะยักย้ายทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปให้พ้นจากอำนาจศาล หรือจะโอนขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประวิงหรือขัดขวางต่อการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการซึ่งอาจจะออกบังคับเอาแก่ผู้คัดค้านหรือเพื่อจะทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง ย่อมมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 255 (1) (ก) การที่ศาลชั้นต้นด่วนยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ไต่สวนให้ได้ความจริงว่าเป็นเช่นไรก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ