คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลอนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2884/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเลื่อนการขายทอดตลาดหลังศาลอนุญาตแล้ว และการที่ศาลไม่ไต่สวนราคาประมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเลื่อนการขายทอดตลาดออกไป เพื่อที่จำเลยจะได้หาเงินมาชำระให้แก่โจทก์นั้น มิใช่กรณีที่จำเลยอ้างว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ถูกยึดโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างใด จึงนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมาตราดังกล่าวเป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังนั้น เมื่อจำเลยขอเลื่อนการขายทอดตลาด ภายหลังศาลชั้นต้นได้สั่งอนุญาตให้ขายทรัพย์ที่ยึดไว้นั้นแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาต
ปัญหาว่า มีผู้ประมูลซื้อเพียงรายเดียวและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าราคาจริง ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนนั้น เมื่อมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้น เพิ่งยกขึ้นมาว่ากล่าวในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานด้วยวาจา แม้หลังยื่นคำให้การแล้ว ศาลอนุญาตได้หากจำเลยคัดค้าน
คดีแรงงานมีลักษณะพิเศษแตกต่างกับคดีแพ่งธรรมดา การดำเนินคดีจะต้องเป็นไปโดยสะดวก ประหยัดและรวดเร็ว ฉะนั้นการที่โจทก์ขอถอนฟ้องโดยแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาต่อศาล แม้จะเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ทราบและได้แถลงคัดค้านต่อศาลแล้ว ซึ่งตรงตามความมุ่งหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 31 ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการหลงต่อสู้: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเดือนที่จำเลยกระทำผิดจากเดือนกรกฎาคม 2530เป็นเดือนพฤษภาคม 2530 ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุจริงตามที่พยานโจทก์เบิกความ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอย แม้จำเลยจะนำสืบว่าเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำก็เป็นการถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฎีกาในคดีอาญา: ศาลอนุญาตถอนได้หากยังไม่ได้สั่งประทับฟ้อง
ดังที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษา โจทก์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง จำเลยไม่ค้าน เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่ได้สั่งประทับฟ้องโจทก์ ตามคำร้องพอแปลได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ขอถอนฎีกา ศาลฎีกาอนุญาตให้ถอนฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6265/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างประจำ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แม้ศาลอนุญาตเลิกจ้าง
ในคดีเดิมที่จำเลยอนุญาตต่อศาลแรงงานกลางเพื่อเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง จำเลยอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า โจทก์แจ้งคุณสมบัติในใบสมัครงานเป็นเท็จทำให้จำเลยเข้าใจผิดในคุณสมบัติของโจทก์ว่า โจทก์ลาออกจากงานที่เคยทำ ต่อมาจำเลยทราบว่าโจทก์ออกจากงานโดยถูกเลิกจ้างเพราะขาดงานเกิน 3 วันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลสมควร เหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงไม่ต้องด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ และในคดีเดิมศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ได้กำหนดว่าให้เลิกจ้างตั้งแต่ เมื่อใด ทั้งการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ดังกล่าวก็เพียงแต่พิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะให้เลิกจ้างโจทก์ ได้หรือไม่ เช่นนี้เมื่อจำเลยได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางให้เลิกจ้างโจทก์ได้แล้ว จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการเลิกจ้างโจทก์ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์: ยื่นผิดสำนวนแต่ยังอยู่ในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ศาลอนุญาตได้
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์แทนที่จะยื่นในคดีที่มีการออกหมายบังคับคดีอันเป็นการยื่นผิดสำนวน แต่ศาลในคดีที่ออกหมายบังคับคดีกับศาลในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์เป็นศาลเดียวกันคือศาลแพ่ง ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวก็ได้ระบุไว้ชัดแจ้งว่าขอเฉลี่ยจากทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้อายัดไว้ในคดีนี้ ซึ่งถือได้ว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับให้อายัดทรัพย์ของ จำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 290 วรรคแรก ประกอบมาตรา 1(1) แล้ว
ผู้ร้องยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ไว้ในคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ แม้ต่อมาศาลในคดีดังกล่าวได้มีคำสั่งยกคำขอเฉลี่ยทรัพย์ แต่ก็เพื่อที่จะให้ผู้ร้องมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เสียให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเท่านั้นหาทำให้สิทธิของผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลโดยชอบแล้วข้างต้นต้องเสียไปไม่ เมื่อคำขอเฉลี่ยทรัพย์ของผู้ร้องที่ได้ยื่นไว้ครั้งแรกยังไม่พ้นระยะเวลาตามกฎหมายแม้ผู้ร้องจะยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้ต้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ตาม ก็ต้องถือว่าผู้ร้องได้ยื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการสิ้นสุดคดีล้มละลาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุพลั้งเผลอ
การยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยอ้างว่าเกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขโดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดการอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรนั้น คำว่าให้คนส่วนแบ่ง แสดงว่าผู้ขอได้รับชำระหนี้ไปแล้ว จึงต้องมีการคืน และการได้รับชำระหนี้ แสดงว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้แล้ว ดังนั้น การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ย่อมทำได้จนกว่าจะได้จัดการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุด แม้คำสั่งให้รับชำระหนี้จะถึงที่สุดไปแล้ว หรือเจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้เคยยื่นคำขอแก้ไขมาแล้วและได้ขอถอนคำร้องไปก็ตาม
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขชื่อจำเลยในชั้นบังคับคดี: ศาลอนุญาตได้หากชื่อผิดพลาด ไม่เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา
โจทก์ขอแก้ไขชื่อของจำเลยที่ 2 ในชั้นบังคับคดี เมื่อปรากฏชัดเจนว่าชื่อของจำเลยที่ 2 ผิดพลาด และมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่างบุคคลกันโจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขชื่อของจำเลยที่ 2 ให้ถูกต้องได้ แม้จะอยู่ในชั้นบังคับคดี เนื่องจากมิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาหรือเป็นการบังคับนอกเหนือไปจากคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2973/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาค่าชดเชยให้ถูกต้องตามค่าจ้างจริงที่ศาลอนุญาตแก้ไข
ก่อนอ่านคำพิพากษา ทนายโจทก์ที่ 4 แถลงว่าโจทก์ที่ 4 ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 2,730 บาท ขอแก้ไขให้ถูกต้องตามความเป็นจริงศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ซึ่งโจทก์ที่ 4 ชอบที่จะได้รับค่าชดเชยจำนวน 16,380 บาท แต่ศาลแรงงานกลางกลับพิพากษาให้เพียง 13,380 บาท จึงเป็นการผิดพลาดไป ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี ศาลอนุญาตเลิกจ้างได้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้าง หรือบุคคลภายนอกก็ได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจการดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิม ผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวและทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมี เหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้
of 21