พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาศาลแขวงในปัญหาข้อเท็จจริงหลังแก้ไขกฎหมาย โดยคำพิพากษาลงโทษปรับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
จำเลยยื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2532 ซึ่งเป็นวันที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ อันเป็นวันภายหลังจากที่พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532ใช้บังคับแล้ว จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ ดังนั้นที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษปรับจำเลย600 บาท ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2532 มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง แม้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยเข้าใจผิดว่าเป็นข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 10 การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้ลงชื่อในคำพิพากษามีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหลีกเลี่ยงชำระหนี้หลังใช้สิทธิเรียกร้อง: ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยขาดเจตนา อันเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1โอนกิจการโรงเรียนให้จำเลยที่ 2 ภายหลังจากโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลแล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสองมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งศาลต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ การบันทึกคำสั่งอนุญาตไม่จำต้องทำในคำฟ้องอุทธรณ์
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5068/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงในคดีศาลแขวง: คำสั่งอนุญาตในคำร้องเพียงพอ
การอนุญาตให้อุทธรณ์ ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 22 ทวิ ผู้พิพากษาผู้อนุญาตจะมีคำสั่งและบันทึกข้อความตามหลักเกณฑ์ของบทกฎหมายดังกล่าวไว้ในคำร้องก็ได้ ไม่จำต้องบันทึกการอนุญาตไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์โดยตรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ไม่เกินเกณฑ์ศาลแขวง
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน มาตรา 67 มีโทษปรับวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนและมาตรา 69 ให้ปรับผู้ดำเนินการเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติสำหรับความผิดนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงความผิดตามมาตรา 65 และมาตรา 67 จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่าหกหมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5) ศาลแขวงจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องคดีความผิดหลายกระทงพร้อมกัน ศาลจังหวัดมีอำนาจพิจารณาคดีอาญาจากศาลแขวงได้
แม้ความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อ พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ อยู่ในอำนาจการพิจารณา พิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกันจึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ พร้อมกับความผิดต่อ พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลจังหวัด แม้บางข้อหาเป็นอำนาจศาลแขวง
แม้ความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ กับความผิดต่อพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่โจทก์ฟ้องจะเป็นความผิดที่แยกเป็นแต่ละกรรมต่างกัน และความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 อยู่ในอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงก็ตาม แต่ก็ได้กระทำลงโดยผู้กระทำความผิดคนเดียวกันและเป็นความผิดที่เกี่ยวพันกัน จึงเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกันซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พร้อมกับความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษต่อศาลจังหวัดได้โดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายกระทง: ศาลแขวงและศาลจังหวัด กรณีความผิดเกี่ยวพันกัน
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัด โดยมิต้องผัดฟ้อง ฝากขังจำเลยตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 เพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดพ.ศ. 2520 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3042/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน: ศาลจังหวัดพิจารณารวมได้ แม้บางความผิดอยู่ในอำนาจศาลแขวง
โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจศาลแขวงพร้อมกับข้อหาความผิดเกี่ยวกับเอกสารต่อศาลจังหวัดโดยมิต้องผัดฟ้องฝากขังจำเลยตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯเพราะเป็นกรณีความผิดหลายเรื่องเกี่ยวพันกัน ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีทุกเรื่องต่อศาลที่มีอำนาจชำระในฐานความผิดที่มีอัตราโทษสูงกว่าก็ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 24 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ