พบผลลัพธ์ทั้งหมด 316 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อประกันค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โดยมีเงื่อนไขการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร
ค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ปรับสี่เท่าของราคาของรวมค่าอากร โดยไม่หักค่าอากรที่ชำระแล้ว
ค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27ที่ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้น หมายถึงปรับสี่เท่าของราคาของที่แท้จริงรวมกับค่าอากรที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3077/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469: ราคาของและค่าอากรที่ใช้คำนวณโทษ
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งบัญญัติในเรื่องกำหนดโทษปรับไว้ว่า "สำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ให้ปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว" นั้นคำว่า "ราคาของ" ตามบทบัญญัติดังกล่าว หมายถึงราคาของที่แท้จริงไม่ใช่ราคาของที่สำแดงไว้ขาด ส่วนคำว่า "ค่าอากร" นั้นก็มิได้จำกัดไว้ว่าให้คิดเฉพาะค่าอากรที่ชำระขาดไปเช่นกัน จึงหมายถึงค่าอากรตามอัตราที่ต้องชำระโดยไม่คำนึงถึงว่าได้ชำระค่าอากรไปแล้วหรือไม่เพียงใด เพราะเป็นเรื่องกฎหมายบัญญัติให้นำราคาของกับค่าอากรมาเป็นหลักในการกำหนดอัตราโทษปรับมิใช่เพื่อให้ผู้กระทำผิดชำระค่าอากรแต่อย่างใด จึงจะแปลว่ากฎหมายมุ่งหมายให้คิดเฉพาะราคาของกับค่าอากรที่ยังขาดอยู่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดทางศุลกากร: โจทก์ต้องนำสืบพยานให้ชัดเจนถึงฐานความผิดที่จำเลยกระทำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรเป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อ รับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดศุลกากรต้องมีพยานหลักฐานชัดเจน หากโจทก์ไม่นำสืบพยาน ศาลลงโทษไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากร เป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อรับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสียช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้น ซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนี้ศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหาหนึ่งเพียงข้อหาเดียว เพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาดังกล่าวย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่า "ขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ" ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใด จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำลายป่าสงวนฯ,แปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต,และข้อหาเกี่ยวกับศุลกากรที่ขาดการสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ลักลอบนำพาเลื่อยยนต์ซึ่งเป็นของที่มีถิ่นกำเนิดผลิตในต่างประเทศซึ่งยังมิได้เสียภาษีและยังมิได้ผ่านศุลกากร โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเรียกค่าภาษีอากรขาเข้า หรือมิฉะนั้น จำเลยได้ซื้อ รับจำนำ รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ และช่วยพาเอาไปเสีย ช่วยจำหน่าย ช่วยซ่อนเร้นซึ่งของดังกล่าวโดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นของที่ผู้อื่นลักลอบนำพาหนีศุลกากรเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27,27 ทวิ แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในข้อหาใดข้อหนึ่งเพียงข้อหาเดียวเพราะความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าวเป็นคนละความผิดกันจะลงโทษจำเลยในทั้งสองข้อหาย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยให้การว่าขอให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ ย่อมไม่ชัดเจนพอที่จะชี้ขาดว่าจำเลยกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรฐานใดจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบพยานให้ได้ความถึงการกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรของจำเลย เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานจึงลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติศุลกากรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากร: การเปรียบเทียบราคาจากใบขนสินค้าที่นำเข้าวันเดียวกัน และการพิจารณาเกรดสินค้า
วันนำสินค้าเข้านั้น หมายถึงวันที่ยานพาหนะที่บรรทุกสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร มิใช่วันที่ผู้นำเข้ายื่นใบขนสินค้าเพื่อชำระภาษีอากร เมื่อสินค้าของโจทก์และของบริษัท ท. นำเข้าวันเดียวกันโดยเรือลำเดียวกัน แม้โจทก์จะยื่นใบขนสินค้าก่อนก็ไม่ถือว่าโจทก์และบริษัท ท. ได้นำสินค้าเข้ามาต่างวันกันการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้ากับราคาสินค้าที่บริษัท ท.นำเข้าซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนโจทก์จึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2002/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: ศุลกากร vs. ภาษีทั่วไป, นับจากวันชำระเงินไม่ใช่คดีอาญา
อายุความในการเรียกค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ. ศุลกากรพ.ศ.2469 เป็นเรื่องอายุความเฉพาะกรณีที่กรมศุลกากรเรียกเงินอากรขาดเพราะเหตุตาม มาตรา 10 วรรคสาม แต่กรณีที่จำเลยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษี-อากร ซึ่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ต้องใช้อายุ-ความทั่วไปเกี่ยวกับการเรียกค่าภาษีอากร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม คือสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม
ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1) และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษี-การค้า (ฉบับที่ 7)
การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความสิบปีนับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2518 หาใช่นับแต่คดีอาญาถึงที่สุดไม่
ค่าภาษีการค้าและค่าภาษีบำรุงเทศบาลซึ่งเป็นภาษีการค้าด้วยนั้น ประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องบังคับตามป.พ.พ. มาตรา 167 เดิม และ 169 เดิม มีอายุความสิบปี นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ จำเลยชำระค่าภาษีและวางเงินประกันค่าภาษีวันที่ 24 ธันวาคม 2518 อายุความจึงเริ่มนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ตามประมวล-รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ (1) และประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษี-การค้า (ฉบับที่ 7)
การกระทำผิดในทางอาญา หาได้ก่อให้เกิดหนี้ค่าภาษีอากรในทางแพ่งในขณะเดียวกับการกระทำผิดทางอาญาโดยตรงไม่ แต่หนี้เกิดเพราะการนำเข้าสำเร็จและกฎหมายให้ถือว่าได้ขายสินค้านั้น ๆ คดีนี้จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา อายุความสิบปีนับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2518 หาใช่นับแต่คดีอาญาถึงที่สุดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 791/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – การปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ต้องคิดเฉพาะค่าอากร ไม่รวมภาษีอื่น
จำเลยรับเอาบุหรี่อันตนรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบเป็นการกระทำครั้งเดียวในเวลาเดียวกัน แม้ผู้นำเข้าอาจนำเข้าโดยเจตนาหลีกเลี่ยงค่าภาษีศุลกากร แต่มิได้นำเข้ามาเพื่อขายก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 หรือนำเข้ามาโดยถูกต้องแต่มีไว้เพื่อขายโดยมิได้ปิดแสตมป์ยาสูบก็เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะเป็นความผิดที่ผิดแผกแตกต่างกันและเป็นความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกันก็ตาม แต่จำเลยรับเอาไว้เพื่อขายอันเป็นความผิดทั้งสองข้อหาดังกล่าว จำเลยมีเจตนาในผลอย่างเดียวกัน คือหลีกเลี่ยงที่จะไม่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่หลายกรรมต่างกันไม่ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ที่ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยนั้นหมายถึงค่าอากรตามกฎหมายภาษีศุลกากร หาได้หมายรวมถึงค่าภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากรและภาษีเทศบาลตามพระราชบัญญัติรายได้เทศบาลไม่ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยรวมค่าภาษีทั้งสองประเภทดังกล่าวมาด้วยจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้