คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 257 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4546/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนและการมีอำนาจฟ้อง: แม้แผนที่เกิดเหตุไม่ถูกต้อง ไม่ทำให้การสอบสวนเสีย และโจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากมีการสอบสวน
การทำแผนที่เกิดเหตุเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน แต่ถึงหาก กระทำโดยไม่ชอบเพราะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ก็ไม่มีผลกระทบถึงกับเป็นเหตุให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องอาญา: คำร้องทุกข์ต้องระบุตัวผู้กระทำผิดชัดเจน พนักงานสอบสวนและอัยการจึงมีอำนาจสอบสวนและฟ้องได้
ปรากฏตามสมุดรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า นายส.ร่วมกับจำเลยที่ 1 หลอกลวงเอาเงินโจทก์ร่วมไป ทำให้โจทก์ร่วมเสียหาย จึงได้มาพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินการจนกว่าคดีถึงที่สุดเป็นการกล่าวหาเฉพาะนายส. กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ได้กล่าวหาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ว่าได้ร่วมกระทำผิดด้วยทั้งไม่ได้กล่าวหาว่ามีพวกของนายส. จำเลยที่ 1 หรือบุคคลอื่นที่ยังไม่ทราบชื่อร่วมกระทำผิด การกล่าวหาจึงไม่ ครอบคลุมถึงจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ไม่เป็นการกล่าวหาที่ โจทก์ร่วมมีเจตนาจะให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้รับโทษไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(7),123 พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3207/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้ดอกเบี้ยในคดีล้มละลาย: การสอบสวนหนี้สินต้องให้ความเป็นธรรมและตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์1,578,355.08 บาท โดยเป็นเงินต้น 785,056.68 บาท ดอกเบี้ย793,298.40 บาท ยอดดอกเบี้ยเป็นการคำนวณนับแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้ ต. จะให้การเป็นพยานเจ้าหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนว่าในส่วนของดอกเบี้ยเป็นการขอรับชำระนับแต่วันชำระครั้งสุดท้ายจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏเหตุที่เจ้าหนี้ไม่อาจขอรับชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยก่อนหน้านั้น การสอบสวนในเรื่องหนี้สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 105 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และทำความจริงในเรื่องหนี้สินให้ปรากฏ เมื่อ ต.ให้การถึงเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว แต่เมื่อคำนวณแล้วปรากฏว่าต่างกับจำนวนดอกเบี้ยที่ขอรับชำระมาก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะต้องสอบสวนต่อไปว่าเหตุใดเจ้าหนี้จึงยื่นขอรับชำระเกินเพื่อให้ ต.อธิบาย ต. คำนวณแล้วก็จะทราบว่าที่ให้การไปนั้นผิดหลง ความจริงเป็นการขอรับชำระดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดเป็นต้นมา มิใช่ถือโอกาสจากความผิดพลาดของพยานดังกล่าวมาเป็นเหตุอ้างมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นเป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ หนี้ค่าดอกเบี้ยจำนวน 286,366.85 บาท ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อ้างว่าเจ้าหนี้ขอเกินมาเป็นหนี้ค่าดอกเบี้ยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจนถึงวันที่มีการชำระหนี้ครั้งสุดท้ายจึงเป็นหนี้ที่ไม่ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามที่ยื่นขอมาเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย
เหตุคดีนี้เกิดที่อำเภอตรอน และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตรอนยืนยันว่าเป็นผู้สอบสวน ซึ่งจำเลยที่ 2 มิได้ซักค้านในข้อนี้เพื่อให้เห็นว่าการสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้วโจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีวินัย – การสอบสวนทางวินัยไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิ
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความแต่เพียงว่า จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นนายจ้างออกคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนพิจารณาโทษทางวินัยโจทก์ทั้งสองข้อหากระทำผิดวินัยเท่านั้น จำเลยทั้งสองจะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนโจทก์ทั้งสองหรือไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำมาพิจารณาในชั้นนี้ โจทก์ทั้งสองจะมีความผิดหรือไม่ก็ต้องรอผลการสอบสวนก่อน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิด – ไม่จำเป็นต้องระบุทุกบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้ว แม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิดเกี่ยวพัน พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอื่นได้ แม้ไม่แจ้งข้อหาโดยเฉพาะ
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหานั้นก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และเพื่อให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดนั้น โดยไม่ต้องระบุอ้างถึงตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีที่การกระทำอันหนึ่งผิดกฎหมายหลายบท พนักงานสอบสวนไม่จำต้องระบุถึงกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบทมาตรา ในเมื่อได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้ว ไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนความผิดทุกข้อหาได้ เมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่า จำเลยพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรแล้วแม้ไม่แจ้งข้อหาว่าพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้ ถือได้ว่ามีการสอบสวนความผิดฐานนี้แล้ว พนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาความผิดอาญา พนักงานสอบสวนไม่จำเป็นต้องแจ้งทุกข้อหาหากแจ้งความผิดหลักแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งข้อหาแก่ผู้ต้องหาก็เพื่อประสงค์ให้ผู้ต้องหาทราบว่าการกระทำของผู้ต้องหาเป็นความผิด และให้ผู้ต้องหาเข้าใจถึงการกระทำของผู้ต้องหาซึ่งเป็นความผิดโดยไม่ต้องระบุตัวบทกฎหมายที่ผู้ต้องหากระทำผิด ในกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทก็ไม่ต้องระบุกฎหมายที่เป็นความผิดทุกบททุกมาตรา หากได้แจ้งข้อหาอันเป็นหลักความผิดทั่วไปแล้วไม่จำต้องแจ้งข้อหาความผิดอันเกี่ยวพันกันด้วย พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนได้ทุกข้อหา พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่าจำเลยพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่แจ้งว่าจำเลยมิได้รับใบอนุญาตด้วย ก็มีอำนาจสอบสวนความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานอื่น - อำนาจฟ้องของโจทก์
การแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วยก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานรับของโจร แม้แจ้งข้อหาลักทรัพย์ก่อน โจทก์มีอำนาจฟ้องได้หากสอบสวนพบหลักฐาน
ภายหลังจากวีดีโอเทปของผู้เสียหายได้หายไปแล้ว ทางสืบสวนของเจ้าพนักงานตำรวจทราบว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทปดังกล่าว พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลยก็เนื่องจากได้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองวีดีโอเทป แต่การที่จำเลยมีวีดีโอเทปไว้ในครอบครองอาจเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งพนักงานสอบสวนก็ได้สอบสวนถึงการกระทำนั้นของจำเลยแล้ว ทั้งการแจ้งข้อหาแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น หาได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะต้องแจ้งข้อหาทุกกระทงความผิดไม่ แม้เดิมจะตั้งข้อหาหนึ่งแต่เมื่อสอบสวนไปแล้ว ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดดังกล่าวด้วยแล้ว ดังนั้นแม้ชั้นแรกพนักงานสอบสวนจะตั้งข้อหาลักทรัพย์แก่จำเลย แต่เมื่อสอบสวนพยานหลักฐานเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์เห็นว่าการกระทำของจำเลยน่าจะเป็นความผิดฐานรับของโจรและฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย ก็ถือว่าได้มีการสอบสวนความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 120 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดฐานรับของโจรด้วย
of 26