คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับตามข้อตกลง การคิดค่าเสียหายจากค่าขาดประโยชน์หลังสัญญาเลิก
ตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใด ถือว่าสัญญาเลิกกันทันทีโดยผู้เป็นเจ้าของไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และผู้เช่าซื้อยอมส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของโดยพลัน ถ้าไม่ส่งมอบก็ให้ถือว่าครอบครองไว้โดยมิชอบและยอมใช้ค่าเสียหายที่เจ้าของต้องขาดประโยชน์ที่ควรจะได้จากการเอาทรัพย์สินให้เช่าจนกว่าจะส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อคืนแก่เจ้าของแล้ว แม้ข้อตกลงการเลิกสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวจะแตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 151 จึงใช้บังคับได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้องวดที่ 31 ซึ่งต้องชำระในวันที่ 1 ธันวาคม 2538 สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นอันระงับไปตามข้อกำหนดในสัญญาตั้งแต่วันดังกล่าว แม้ก่อนฟ้องโจทก์จะมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้และมีข้อความกล่าวถึงการถือเอาหนังสือฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาซ้ำอีก ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างเกินเลยผิดจากความจริงไป ก็ไม่ทำให้สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระงับไปแล้วกลับมีผลบังคับอยู่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: กำหนดวันจ่ายตามสัญญาและผลของการเพิ่มค่าทดแทนโดยรัฐมนตรีและศาล
ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2536 อันเป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน คือ ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง วันดังกล่าวนี้เป็นวันสุดท้ายที่ฝ่ายจำเลยจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ จึงเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่รัฐมนตรีฯและศาลวินิจฉัยให้เพิ่มขึ้นนับแต่วันดังกล่าว
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น หากคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้รับให้แก่โจทก์ด้วยแล้ว ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ ผู้ดำเนินการตาม พ.ร.ฎ.ฯ กับโจทก์ก็น่าจะทำสัญญาเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนส่วนนี้ในวันเดียวกันกับที่ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ (ที่ดินที่ถูกเวนคืน) และต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนส่วนนี้ภายในวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ แต่เมื่อรัฐมนตรีฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์และศาลได้วินิจฉัยเพิ่มเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์แล้ว กรณีพอถือได้ว่ารัฐมนตรีและศาลได้วินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนส่วนนี้เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคท้าย โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ต้องไม่เกินอัตราที่โจทก์ขอด้วยในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย คือวันที่ 29 เมษายน 2537 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความตัดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิไม่ได้
พนักงานสอบสวนได้บันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถประมาทเฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเปรียบเทียบปรับไว้ว่า คู่กรณีตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย เป็นที่พอใจแล้ว โดย ส. ผู้เอาประกันภัยและจำเลยลงชื่อไว้ จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้อีก การที่โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ ส. เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ ส. เป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการทำสัญญาร่วมชำระหนี้ และการไม่เป็นสัญญาแปลงหนี้
สัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงว่า การที่จำเลยที่ 1 ยอมเข้าร่วมชำระหนี้กับผู้เช่าใช้บริการโทรศัพท์ คู่สายโทรศัพท์ไม่ทำให้คู่สัญญาเดิมหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาเดิม และไม่ตัดสิทธิโจทก์จะระงับการให้บริการตามระเบียบขององค์การโทรศัพท์ ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิม เมื่อไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้เดิมจึงไม่ใช่สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ สัญญาเดิมไม่ระงับ และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ให้โจทก์จึงไม่ใช่การรับสภาพหนี้ แต่เป็นสัญญาประเภทหนึ่งระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ซึ่งคู่สัญญาทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 แต่ดอกเบี้ยที่โจทก์ขอนับแต่วันผิดนัดตามสัญญาร่วมชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นดอกเบี้ยค้างชำระ มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาและการบังคับจำนอง: ศาลต้องยึดตามข้อตกลงในสัญญาที่ชัดเจน และพิพากษาตามคำขอทุกข้อ
การตีความการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 นั้น หมายถึงกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้ง หรือมีข้อความขัดแย้งกัน หรืออาจแปลความหมายได้เป็นหลายนัย แต่ถ้าข้อความในสัญญาชัดเจนแล้ว ย่อมไม่มีความจำเป็นอย่างใดที่จะต้องตีความการแสดงเจตนาของคู่สัญญาอีก คดีนี้จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และนำที่ดินมาทำสัญญาจำนองไว้กับโจทก์ และหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่า "ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินแก่ผู้รับจำนอง เพื่อเป็นประกันหนี้ของตนเองที่มีต่อผู้รับจำนอง และคู่สัญญาตกลงให้ถือสัญญาจำนองนี้เป็นหลักฐานการกู้ยืมด้วย เป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท โดยให้ดอกเบี้ยเป็นจำนวนเงินร้อยละ 15 ต่อปี ?" การที่ศาลชั้นต้นนำข้อความอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวมาใช้แปลเจตนาของคู่สัญญาในทำนองเป็นที่สงสัยว่าโจทก์ตกลงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยหรือไม่นั้น ไม่ต้องด้วยการตีความการแสดงเจตนาเพราะข้อความในสัญญาชัดแจ้งแล้ว ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ให้จำเลยกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ
เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนของต้นเงินกู้และการบังคับจำนองมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งศาลมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีในส่วนนี้ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์ ย่อมเป็นการทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ขอให้บังคับจำนองนี้ไร้ผล ซึ่งการวินิจฉัยที่เป็นคุณแก่โจทก์แล้วแต่ไม่พิพากษาให้เป็นไปตามนั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีที่คำพิพากษาของศาลชั้นต้นมิได้ตัดสินตามข้อหาในคำฟ้องทุกข้อ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: สถานที่ติดตั้งเครื่องจักรเป็นสถานที่มูลคดีเกิด โจทก์มีอำนาจฟ้องที่ศาลจังหวัดนั้นได้
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพร้อมอุปกรณ์กับจำเลยที่บริษัทจำเลยซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีข้อตกลงให้จำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปส่งมอบและติดตั้งให้แก่โจทก์ ณ จังหวัดราชบุรี พร้อมด้วยเงื่อนไขว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะต้องเดินเครื่องยนต์และจ่ายกระแสไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่องตามคุณสมบัติที่ตกลงกัน โจทก์จึงชำระราคาที่เหลือให้แก่จำเลย เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยนำเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติไม่ตรงตามข้อกำหนดในสัญญาไปส่งมอบและติดตั้งอันเป็นการผิดสัญญา ก็เท่ากับมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการส่งมอบและติดตั้ง จังหวัดราชบุรีซึ่งเป็นสถานที่ที่ต้องมีการส่งมอบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จึงเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดราชบุรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยกรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสัญญา และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนคราวก่อน แต่จำเลยไม่ดำเนินการจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง และหลังจากนั้นอีก 1 ปี จำเลยเพิ่งมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาตารางวาละ 35,000 บาท กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10, 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เพราะบทบัญญัติในส่วนนี้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริทรัพย์กันได้ก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ฝ่ายจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่มีการทำสัญญาซื้อขายไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ไม่พอใจที่ฝ่ายจำเลยเพิกเฉยไม่เวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมรับผิดในสัญญา แม้ไม่ได้ลงชื่อ แต่รู้เห็นยินยอมและมีส่วนได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านลงในที่ดินของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันในสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ลงชื่อคู่สัญญาในสัญญาจ้างผู้เดียวก็ตาม หนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยทั้งสองมุ่งหมายจะได้อยู่อาศัยต่อไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญา, การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน, และดอกเบี้ยจากหนี้เงิน
แม้จำเลยสมัครใจตกลงเข้าทำสัญญาเพื่อรับทุนจากโจทก์ไปศึกษาต่อต่างประเทศเองโดยมีข้อตกลงว่า หากจำเลยผิดสัญญา จำเลยยอมให้เรียกตัวกลับหรือปลดออกจากราชการได้ และจำเลยยอมชดใช้เงินให้แก่โจทก์เป็นจำนวน 3 เท่าของเงินทุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไป แต่เมื่อเป็นกรณีเกี่ยวกับข้อตกลงสำหรับความเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับแล้ว เมื่อเห็นว่าสูงเกินส่วนศาลย่อมสามารถลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
จำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลกำหนดรวมทั้งเบี้ยปรับเป็นหนี้เงิน โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีทั้งจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพียงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปเท่านั้น
of 337