พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมล่วงหน้าในสัญญาค้ำประกัน สัญญารับสภาพหนี้ไม่เป็นการแปลงหนี้
ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน จำเลยที่ 3 ตกลงกับโจทก์ว่า หากมีการผ่อนเวลาชำระหนี้ตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อ ภายในประเทศ หรือขยายเวลาอนุญาตให้ไปศึกษาต่อแก่ จำเลยที่ 1 ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้ถือว่าจำเลยที่ 3 ได้ตกลง ให้ความยินยอมในการผ่อนชำระหนี้หรือขยายระยะเวลานั้น ด้วยทุกครั้งและยังรับเป็นผู้ค้ำประกันตามสัญญาดังกล่าว ตลอดไป เป็นข้อตกลงของจำเลยที่ 3 ที่ให้ความยินยอมล่วงหน้า ดังนั้น สัญญารับสภาพหนี้ซึ่งโจทก์ขยายเวลาชำระหนี้ ให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งการทำสัญญารับสภาพหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์เป็นการทำขึ้นเพื่อรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องซึ่ง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้อายุความ สะดุดหยุดลงเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 กับโจทก์ ได้ตกลงเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำ ให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 จึงยังต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง, สัญญาค้ำประกัน, การรับเงินล่วงหน้า, การส่งมอบวัสดุ, ข้อพิพาทสัญญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ และคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้ว โดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ซึ่งในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยเป็นประเด็นแต่ละเรื่องแต่ละราวไว้ชัดแจ้งแล้ว ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์เป็นเงิน35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใด มีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า ซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินทดรองจ่ายจากโจทก์เป็นเงิน35,894,081.80 บาท และจำเลยส่งมอบวัสดุก่อสร้างให้แก่โจทก์แล้วเป็นเงิน10,786,461 บาท ซึ่งเป็นประโยชน์แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้และนำสืบว่าจำเลยได้ส่งมอบวัสดุก่อสร้างมากกว่าจำนวนดังกล่าว ที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์สืบไม่สมฟ้องว่า ได้รับวัสดุเมื่อใด จำนวนเท่าใด มีการส่งมอบเมื่อใด จึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 มีความประสงค์จะรับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท สาระสำคัญของหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงอยู่ที่ว่า จำเลยที่ 2 ได้ตกลงค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 รับเงินล่วงหน้าจากโจทก์ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินทดรองค่าวัสดุก่อสร้างบ้านและก่อสร้างงานสาธารณูปโภคแก่จำเลยที่ 1 รวมเป็นเงิน 35,894,081.80 บาท และการรับเงินล่วงหน้าดังกล่าวก็อยู่ในความหมายของเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างงานโครงการบ้านแมกไม้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 ค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า ซึ่งหมายความถึงเงินทดรองที่จำเลยที่ 1 รับไปจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว และกรณีนี้มิใช่เป็นเรื่องการนำสืบแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามมิให้โจทก์นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลแรงงาน & ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวนอย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจหยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อนที่จำเลยที่ 1เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้าม และสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคต
ข้อความที่จำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ไว้ในสำนวน อย่างชัดแจ้งตามคำให้การพยานจำเลย ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจ หยิบยกข้อความดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นการวินิจฉัย ไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยเมื่อล้วนเป็นกรณีที่ขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานรับฟังมา ย่อมเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ไว้ต่อโจทก์ซึ่งระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2ขอค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการเข้าทำงานกับโจทก์ ถ้าจำเลยที่ 1 กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วจำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิด ชดใช้แทนแก่โจทก์จนครบ แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจะได้กระทำกันก่อน ที่จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ก็ตาม แต่ก็เป็นการประกันความรับผิดในหนี้ในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งหนี้นั้นอาจเกิดขึ้นจริง หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681 วรรคสอง เมื่อต่อมาหนี้นั้นได้เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลง ค้ำประกันไว้ จำเลยที่ 2 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการและการยอมรับของจำเลยเพื่อเปรียบเทียบลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกัน
เมื่อเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการที่โจทก์อ้างส่งต่อศาล จำเลยไม่คัดค้าน อีกทั้งจำเลยยังได้เบิกความยอมรับถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ดังนี้ศาลย่อมรับฟังลายมือชื่อของจำเลยในเอกสารดังกล่าวเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับลายมือชื่อของผู้ค้ำประกันที่พิพาทได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกรรมการและผลกระทบต่อสัญญาค้ำประกัน: การยกเลิกสัญญาค้ำประกันโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออก และให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าวไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการจำเลยที่ 1ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิมลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพันตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้นสัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้ว จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าวจึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดผลผูกพันตามสัญญาค้ำประกันหลังเปลี่ยนแปลงกรรมการและทำสัญญาใหม่ ย่อมทำให้จำเลยที่ 4 หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาฉบับพิพาทค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาจำเลยที่ 4 ได้ขายหุ้นทั้งหมดและลาออกจากการเป็นกรรมการ ซึ่งที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติให้จำเลยที่ 4 ลาออกและให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นกรรมการแทน โดยมีการนำมติดังกล่าว ไปจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้ว นับแต่นั้นจำเลยที่ 4 จึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงกรรมการ จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทราบแล้ว การที่ต่อมาโจทก์ให้จำเลย ที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ใหม่ภายหลังจากโจทก์ ทราบเรื่องที่จำเลยที่ 4 ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของ จำเลยที่ 1 และจำนวนผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันฉบับเดิม ลดน้อยลงโดยโจทก์ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เพิ่มวงเงินที่ ค้ำประกันสูงขึ้นอีกหนึ่งเท่าตัวในหนังสือค้ำประกันฉบับใหม่ ประกอบกับหนังสือค้ำประกันดังกล่าวมิได้ระบุว่าเป็นการค้ำประกัน จำเลยที่ 1 เพิ่มเติมจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม เห็นได้ชัดว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่ 4 ต้องผูกพัน ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทต่อไปอีก ดังนั้น สัญญาค้ำประกันเดิมจึงเป็นอันดับยกเลิกเพิกถอนไปในตัวโดยปริยาย โดยโจทก์ไม่จำต้องทำหนังสือเพิกถอนสัญญาค้ำประกันในส่วนของจำเลยที่ 4 อีก หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สัญญาค้ำประกันเดิมเพิกถอนแล้วจำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 4 ทำบันทึกข้อตกลงถึงโจทก์ เสนอขอชำระหนี้จำนวน 400,000 บาท เพื่อให้โจทก์ปลดเปลื้องภาระผูกพันของจำเลยที่ 4 ในสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาท เพราะเข้าใจว่ากรรมการบริหารใหม่ ของจำเลยที่ 1 มิได้ปลดภาระผูกพันให้แก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 4 ไม่มีหน้าที่ต้องชำระ การทำบันทึกดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกัน: สิทธิเรียกหนี้เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัด และการหักเงินจากผู้ค้ำประกัน
สัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ต่อจำเลยซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ำประกันอย่างลูกหนี้ร่วมได้กำหนดเวลาชำระราคาค่าเช่าซื้อเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกวันสุดท้ายของเดือน รวม 18 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนใด อันเป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้ว เมื่อ ส.ผู้เช่าซื้อไม่ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อตามกำหนดเวลาดังกล่าวจึงได้ชื่อว่าตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย จำเลยชอบที่จะเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ได้นับแต่ส.ผิดนัด แม้ตามสัญญาค้ำประกัน สัญญาเช่าซื้อระบุว่า หาก ส.ยังมีเงินพึงได้จากจำเลย จำเลยต้องหักเงินค่าเช่าซื้อจากรายได้ของ ส. หากไม่สามารถหักได้ส.มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าเช่าซื้อไปชำระ ถ้าไม่ชำระจึงจะได้ชื่อว่า ส.ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวเป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการชำระหนี้ระหว่าง ส.และจำเลยเท่านั้น เมื่อกำหนดเวลาชำระหนี้คงเป็นไปตามสัญญาเช่าซื้อ ซึ่ง ส.จะต้องชำระหนี้ตามกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อ ส.ไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาส.ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัด และตามสัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ถ้า ส.ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาข้อใดข้อหนึ่งผู้ค้ำประกันยอมชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ โดยยอมให้หักจากเงินรายได้ทุกประเภทของโจทก์ที่จะพึงได้รับจากจำเลยเป็นรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนในอัตราและจำนวนเดือนแทนผู้เช่าซื้อได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบล่วงหน้า ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิหักเงินเดือนของโจทก์ชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่ ส.ค้างชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันร่วม: ความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม, อัตราดอกเบี้ย, และการบังคับคดี
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กัน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นการทำตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 108ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาททั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้ายประมวลรัษฎากร ก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้นข้อ 17(ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไปกำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อสัญญาค้ำประกันดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1อย่างลูกหนี้ร่วม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเว้นแต่เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบ โจทก์ประกอบธุรกิจธนาคารมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมายซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 ดอกเบี้ยระหว่างจำเลยผิดนัดอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกัน อันจะมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8498/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นจากการเจรจาหลังแจ้งความฉ้อโกง ไม่ถือเป็นการข่มขู่
เดิมจำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยที่ 1 ให้โจทก์โจทก์ได้วางเงินมัดจำและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมาเป็นของโจทก์ แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถจดทะเบียนโอนขายที่ดินให้โจทก์ได้ โจทก์จึงไปแจ้งความกล่าวหาจำเลยทั้งสองว่าร่วมกันฉ้อโกง แล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไปเจรจากันที่สถานีตำรวจ โดยจำเลยที่ 1ได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ การที่โจทก์และเจ้าพนักงานตำรวจให้จำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกัน หากไม่ทำก็จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตเพราะตนมีสิทธิในมูลหนี้นั้น อันถือได้ว่าเป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 สัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทไม่ตกเป็นโมฆะ