คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาจ้างแรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21-23/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่มีผลบังคับใช้ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาจ้างแรงงานโดยกำหนดว่าจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์เมื่อใดก็ได้และโจทก์จะไม่เรียกร้องอย่างใดๆเอากับจำเลยนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาซึ่งให้สิทธิจำเลยที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมซึ่งทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเท่านั้นมิได้หมายความว่าโจทก์สละสิทธิไม่เรียกร้องเงินซึ่งพึงจะได้รับตามกฎหมาย ค่าชดเชยเป็นเงินซึ่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46บังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างซึ่งประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับอย่างกฎหมายโจทก์กับจำเลยจะตกลงทำสัญญาจ้างแรงงานโดยมีข้อตกลงใดๆอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศฉบับดังกล่าวหาได้ไม่การที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันโดยกำหนดให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยย่อมเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเป็นการขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46ไม่มีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สาระสำคัญของฟ้องคือผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุฐานความผิดเป็นละเมิด ศาลต้องพิจารณาอายุความตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า "ละเมิดเรียกค่าเสียหาย"ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า "ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย" แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า "จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน"เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะของฟ้องผิดสัญญาจ้างแรงงาน แม้ระบุข้อหาละเมิด สารัตถะยังคงเป็นเรื่องผิดสัญญา อายุความใช้ตามสัญญาจ้าง
คำฟ้องโจทก์ในช่องข้อหาหรือฐานความผิดระบุว่า 'ละเมิดเรียกค่าเสียหาย'ฟ้องข้อ 3 บรรยายว่า 'ระหว่างที่จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ทำหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย' แต่ฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายว่า 'จำเลยเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2526 มีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามสัญญาจ้างแรงงาน'เมื่ออ่านฟ้องสองข้อประกอบกันแล้วย่อมเห็นได้ว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ บกพร่องต่อหน้าที่อันเกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานในการขับรถเป็นฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยทำผิดสัญญาจ้างแรงงานมิใช่ฟ้องเรื่องละเมิดแม้โจทก์จะระบุข้อหาหรือฐานความผิดคลาดเคลื่อนไปว่าเป็นละเมิดก็ไม่ทำให้สารัตถะในฟ้องซึ่งเป็นเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานกลายเป็นฟ้องเรื่องละเมิดไปได้จะใช้อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 มาปรับแก่คดีหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะลูกจ้าง: การทำงานโดยไม่ได้โอนย้ายสถานะ ไม่ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
การตกลงโอนข้าราชการหรือลูกจ้างของกระทรวงกลาโหมไปเป็นลูกจ้างของการท่าอากาศยานจำเลยที่ 1 ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างข้าราชการหรือลูกจ้างนั้น ๆ กับกระทรวงกลาโหมและจำเลยที่ 1 โดยเฉพาะ ไม่มีผลเกี่ยวกับการที่โจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 หรือไม่ส่วนการที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เมื่อโจทก์มิได้โอนไปเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำในฐานะเป็นหน้าที่ราชการของโจทก์เท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ตกลงทำการงานให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ตกลงจะจ่ายสินจ้างให้โจทก์ สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงหาได้เกิดขึ้นโดยปริยายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง สัญญาจ้างแรงงาน และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20 ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส . กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่างกรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่นมาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็นที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อย จนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิง ได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิดและผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513)
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว. ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน และอายุความการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการผิดสัญญา
ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 มาตรา 20ผู้อำนวยการองค์การโจทก์มีอำนาจและหน้าที่จัดการและดำเนินกิจการ ขององค์การโจทก์ให้เป็นไปตามนโยบายและข้อบังคับที่คณะกรรมการ กำหนด การฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้ก่อความเสียหายก็เป็นการดำเนินกิจการอย่างหนึ่ง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การที่ผู้อำนวยการองค์การโจทก์ ฟ้องคดีนี้เป็นการขัดต่อนโยบายและข้อบังคับของคณะกรรมการประการใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ส. กับ ว. ต่างเป็นพนักงานของโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ทำงานให้แก่โจทก์และโจทก์จ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่ทำงาน แม้โจทก์จะจัดตั้งขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกา โจทก์ก็เป็นเพียงองค์การรัฐวิสาหกิจ หาใช่ส่วนราชการไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสอง จึงมิใช่ความสัมพันธ์ระหว่าง กรมกระทรวงในรัฐบาลกับข้าราชการซึ่งมีขึ้นโดยกฎหมายฝ่ายปกครองแต่เป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงาน แม้โจทก์จะมีข้อบังคับ ว่าด้วยวินัยพนักงานซึ่งคณะกรรมการองค์การโจทก์วางไว้โดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง พ.ศ. 2503 เพื่อใช้บังคับแก่บรรดาพนักงานของโจทก์ ก็เป็นเพียงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับบุคคลทั้งสองจึงยังคงเป็นความสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานอยู่นั่นเอง
โจทก์มีคำสั่งมอบหมายให้ ส. กับ ว. เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ และในกรณีที่จ้างบุคคลอื่น มาทำการขนส่งแทนก็ให้อยู่ในความควบคุมตรวจตราดูแลให้เป็น ที่เรียบร้อย แต่บุคคลทั้งสองกลับละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งของโจทก์ โดยไม่ควบคุมตรวจตราดูแลการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นที่เรียบร้อยจนเป็นเหตุให้ ก. กับพวกซึ่งรับจ้างโจทก์ขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงได้ร่วมกันเอาน้ำมันเชื้อเพลิงของโจทก์ไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยผิดกฎหมาย จึงเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงาน ย่อมเป็นการไม่ชำระหนี้ แก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ถึงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลทั้งสอง อันถือได้ว่า เป็นการกระทำละเมิด แต่การไม่ชำระหนี้ของลูกจ้างตามสัญญาก็เป็นการผิดสัญญาด้วย เมื่อการกระทำของ ส. กับ ว. เป็นทั้งละเมิด และผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ทั้งสองทาง สำหรับสิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้น มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ถึงหากสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดจะขาดอายุความแล้ว ก็หามีผลกระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อันเกิดจากการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 820/2513) จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการองค์การโจทก์ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2508 โจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ ส. กับ ว.ลูกจ้างของโจทก์ ระหว่างวันที่ 16 มีนาคม 2510 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2511 จำเลยพ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การโจทก์ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2519 และ ช. ผู้อำนวยการคนใหม่ได้ทราบเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนวันเข้ารับตำแหน่ง เพราะเป็นผู้รักษาการแทนระหว่างจำเลยลาป่วยมาก่อนขณะนั้นสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจาก การผิดสัญญาจ้างแรงงานยังไม่ขาดอายุความ หากโจทก์จะฟ้อง ส. กับ ว.ให้รับผิดก็ยังมีสิทธิฟ้องได้ แต่โจทก์มิได้ฟ้องเอง การที่จำเลยมิได้ ดำเนินการฟ้องบุคคลทั้งสองภายในกำหนดอายุความ 1 ปี จึงไม่เป็นเหตุ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิด ดังโจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: ลักษณะสำคัญคือการจ่ายค่าจ้างรายวัน ไม่ผูกพันผลสำเร็จของงาน
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้นมิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้นแม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: การพิจารณาประเภทสัญญาจ้างจากลักษณะงานและวิธีการจ่ายค่าจ้าง
การที่จำเลยต้องการจะปลูกบ้านจึงติดต่อให้โจทก์ปลูกให้ตามแบบที่จำเลยต้องการ จำเลยเป็นฝ่ายจัดหาวัสดุก่อสร้างโจทก์เป็นผู้จัดหาคนงานและเครื่องมือ แต่จะให้ผู้ใดมาทำงานต้องให้จำเลยยินยอมด้วย โดยโจทก์คิดค่าจ้างสำหรับโจทก์และคนงานอื่นเป็นรายวันนั้นแม้โจทก์ได้ตกลงกับจำเลยไว้ว่าจะทำงานจนกว่าปลูกบ้านเสร็จ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าตกลงกันให้ถือเอาผลสำเร็จของงานเป็นเงื่อนไขในการจ่ายค่าจ้าง ส่วนการที่โจทก์รับค่าจ้างจากจำเลยเป็นงวดๆเพียงคนเดียว ก็เป็นเพียงการรับค่าจ้างรายวันแทนผู้ร่วมงานแต่ละคนซึ่งไม่ใช่ลูกจ้างของโจทก์เป็นคราวๆไปเท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้ควบคุมแนะนำโจทก์ในการปลูกบ้านเพราะไม่มีความรู้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การรับจ้างของโจทก์เป็นการจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ นั้น มิได้จำกัดว่าต้องเป็นคดีที่ที่พิพาทกันด้วยเรื่องค่าจ้างเท่านั้น แม้พิพาทกันด้วยเรื่องการทำงานไม่ถูกต้องตามหน้าที่ในสัญญาก็อยู่ในขอบข่ายด้วยเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้: สัญญาจ้างแรงงาน, เหตุสุดวิสัยจากภัยธรรมชาติ, ความรับผิดของผู้รับจ้าง
สัญญาจ้างเฝ้ารักษาไม้มีข้อความว่า ผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดค่าจ้างเฝ้ารักษาเป็นรายเดือนตามจำนวนปริมาตรของไม้ถ้าไม้ที่รับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตรายยอมให้ผู้จ้างปรับไหมตามชนิดและปริมาตรของไม้ที่สูญหายหรือเป็นอันตรายไป ในระหว่างที่ผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ตามสัญญา ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือบางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดก็ได้ ไม้ที่นำไปแล้วเป็นอันพ้นจากความรับผิดของผู้รับจ้างสัญญาเช่นนี้ต้องถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เพราะอำนาจการครอบครองไม้อยู่แก่ผู้จ้างผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษามิให้ไม้สูญหายหรือเป็นอันตรายไป
การที่เกิดฝนตกผิดปกติติดต่อกันหลายวันทำให้น้ำในคลองไหลเชี่ยวจนสามารถพัดพาไม้ที่ผูกรวมเป็นแพอยู่ในคลองออกไปสู่แม่น้ำตามหาไม่พบนั้น เป็นกรณีที่ไม้หลุดลอยหายไปเนื่องจากภัยธรรมชาติเหลือวิสัยที่จะป้องกันได้นับเป็นเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: สิทธิบอกเลิกสัญญาช่วงทดลองงาน, การผิดสัญญา, และค่าเสียหาย
ในข้อสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาได้ทันที โดยไม่ต้องให้เหตุผลในการบอกเลิกนั้น ต้องปรากฏว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่เหมาะสมในระหว่างการทดลองงานหกเดือนแรกของการว่าจ้างเมื่อโจทก์ยังไม่ได้เริ่มทดลองงาน จำเลยหามีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยอาศัยข้อสัญญาดังกล่าวได้ไม่
of 12