พบผลลัพธ์ทั้งหมด 254 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝาก: การเสนอค่าไถ่, เอกสารสำเนา, และการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทน
จำเลยให้การว่า เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องเสนอค่าสินไถ่เป็นเงินสด โจทก์มิได้ขอปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือข้อตกลงตามสัญญาขายฝากคำให้การดังกล่าวมิได้มีข้อความใดกล่าวถึงเลยว่าฟ้องโจทก์ไม่สมบูรณ์ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัย โจทก์อ้างว่าต้นฉบับเช็คอยู่ที่ธนาคาร ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโจทก์ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเรียกเอกสารจากธนาคารแต่ธนาคารได้มอบสำเนาเช็คให้แก่โจทก์นำมาส่งต่อศาลชั้นต้น โดยไม่มีผู้รับรองสำเนาถูกต้อง โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอส่งสำเนาเช็คต่อศาล ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้รวม สำเนาก่อนวันสืบพยานโจทก์ 1 เดือนและเมื่อโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวกับพยานโจทก์หลายปากเบิกความถึงเอกสารดังกล่าวจำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนี้ปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน หรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนาอกสารนั้นถูกต้องตรงกับต้นฉบับแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ภายใน 1 เดือนโดยไม่บังคับให้โจทก์ชำระเงินค่าไถ่ และหากไม่อาจจัดการโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ได้ก็ให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์แทนเป็นเงิน 550,000 บาทโดยไม่ได้หักค่าสินไถ่จำนวน 365,000 บาท ออกก่อนไม่ชอบด้วยการชำระหนี้ตามสัญญาต่างตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 369 ปัญหาที่ว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้อุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3055/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการปลูกสร้างอาคารและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: สิทธิในอาคารยังเป็นของผู้ปลูกสร้างจนกว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินของผู้ร้องรวม 4 คูหา เมื่อปลูกสร้างเสร็จแล้วผู้ร้องจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้จำเลยที่ 1 รวม 3 โฉนดและจำเลยที่ 1 จะยกอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้วให้ผู้ร้องจำนวน 1 คูหานั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน มีผลทำให้จำเลยที่ 1มีสิทธิปลูกสร้างอาคารพิพาทลงในที่ดินของผู้ร้อง โดยไม่ถือว่าอาคารพิพาทเป็นส่วนควบของที่ดินของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารไม่เสร็จและไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้ผู้ร้อง ทั้งผู้ร้องก็ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกแล้วจำนวน 3 โฉนดให้จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 อาคารพิพาทจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง แต่ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1 ผู้ปลูกสร้าง ส่วนที่ผู้ร้องได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทต่อจนเสร็จบริบูรณ์ สมประโยชน์ของจำเลยที่ 1 เพียงใด เป็นเรื่องผู้ร้องไปว่ากล่าวตามสิทธิต่อไป ไม่อาจมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์อาคารพิพาทจากการยึดในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งสัญญาเช่าตลอดชีพไม่ผูกพันผู้รับโอนที่ดินที่ไม่ยินยอม
จำเลยฟ้องแย้งว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจาก ด.เจ้าของที่พิพาทเดิมโดยมีข้อตกลงว่า ด. จะให้จำเลยเช่าที่พิพาททำการค้าตลอดชีวิตของจำเลยโดยจำเลยต้องจัดหาดินมาถมที่พิพาท และให้จำเลยปลูกบ้านในที่พิพาท 1 หลัง โดยให้บ้านดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ด. เมื่อจำเลยถึงแก่กรรม ซึ่งจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นแล้ว ข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ ด. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ต้องยินยอมให้จำเลยเช่าที่พิพาทต่อไปจนตลอดชีวิตของจำเลยตามสัญญาต่างตอบแทนนั้น การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยออกไปจากที่ดินโดยไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ทำให้จำเลยเสียหายที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการถมดินและปลูกบ้านในที่พิพาทไปเป็นเงินเกินกว่า 3,000,000 บาท ขอให้โจทก์ทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้จำเลยเป็นเงิน 2,000,000 บาท เป็นฟ้องแย้งในทำนองว่าหากจำเลยต้องออกจากที่พิพาทแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองต่อเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่าไม่มีสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผูกพันโจทก์ทั้งสองและจำเลยและศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทแล้ว เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข กล่าวคือจะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคสุดท้าย ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา สัญญาเช่าที่พิพาทระหว่างจำเลยและ ด. เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าธรรมดา ที่ก่อให้เกิดเพียงบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือจำเลยและ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันผู้รับโอนซึ่งมิได้รู้เห็นและยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นด้วยไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด.มิได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับด. ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข & สัญญาต่างตอบแทนไม่มีผลผูกพันผู้รับโอนที่ไม่ยินยอม
จำเลยฟ้องแย้งในทำนองว่า หากจำเลยต้องออกจากที่พิพาทที่เช่าแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่พิพาทเดิมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองต่อเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสัญญาต่างตอบแทน และศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทแล้ว เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขกล่าวคือจะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคสุดท้าย ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือจากการเช่าเป็นบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือจำเลยและ ด. เท่านั้น หามีผลผูกพันผู้รับโอนซึ่งมิได้รู้เห็นและยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นด้วยไม่เมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับ ด. สัญญาต่างตอบแทนดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจึงชอบแล้ว จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้ง และให้งดสืบพยาน จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า: การนำสืบพยานบุคคลหักล้างเอกสารสัญญาเช่า
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อแสดงว่าสัญญาที่จำเลยมีต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การนำสืบของจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า และสิทธิเช่าเมื่อมีการเวนคืนเพื่อประโยชน์สาธารณะ
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแสดงว่าสัญญาเช่าตึกพิพาทที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องให้ใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ซ่อมแซม รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตที่มีการประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วเท่านั้นมิใช่ให้รื้อถอนทันที แม้ตึกพิพาทจะอยู่ในเขตเพลิงใหม้ซึ่งแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้กำหนดให้มีการตัดถนนใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อตึกพิพาทแต่เมื่อสิทธิในการเช่าตึกพิพาทของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงกับโจทก์ยังมีอยู่และตึกพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้การที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการมิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนพิเศษกว่าเช่า ย่อมมีผลเหนือกว่าสัญญาเช่าฉบับหลัง แม้เกิดเหตุเพลิงไหม้ก็ไม่ถือเป็นการบอกเลิกสัญญา
โจทก์ให้จำเลยรื้อห้องแถวเดิมออกแล้วสร้างอาคารตึกแถวขึ้นใหม่โดยจำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายแล้วยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และโจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาโดยถือเอาอายุฝ่ายผู้เช่าเป็นหลัก เป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ต่อมาภายหลังโจทก์เรียกจำเลยมาทำสัญญาเช่าอาคารตึกแถวดังกล่าวมีกำหนด 1 ปี โดยมิได้มีเจตนาบังคับกันจริงจัง สัญญาเช่าฉบับหลังจึงไม่มีผลลบล้างสัญญาต่างตอบแทนที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขับไล่จำเลยตามสัญญาเช่าฉบับหลัง จำเลยนำสืบว่าสัญญาที่แท้จริงระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ไม่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า (ฉบับหลัง)ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 แม้ว่าบริเวณใกล้เคียงอาคารตึกแถวที่พิพาทจะถูกเพลิงไหม้และทางราชการประกาศเป็นเขตเพลิงไหม้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 เพื่อทำการปรับปรุงที่ดินให้เป็นถนน ซึ่งรวมอาคารตึกแถวพิพาทเข้าในเขตเพลิงไหม้ดังกล่าวด้วย แต่เมื่ออาคารตึกแถวพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนข้อที่อ้างว่าโจทก์ในฐานะเจ้าของตึกแถวพิพาทถูกบังคับให้รื้อถอนอาคารตึกแถวพิพาทตามประกาศของทางราชการซึ่งออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 นั้นโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยไม่ได้เพราะการที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการ มิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะดำเนินการ ซึ่งตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ก็ได้บัญญัติไว้แล้วว่ากรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า vs. สัญญาต่างตอบแทนพิเศษ: สิทธิในการเช่าเมื่อมีเหตุเวนคืน และผลของการประกาศใช้แผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้
จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแสดงว่าสัญญาเช่าตึกพิพาทที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์ที่แท้จริงเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94พระราชบัญญัติญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องให้ใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้เป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามก่อสร้างดัดแปลงซ่อมแซมรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารในเขตที่มีการประกาศใช้บังคับแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้แล้วเท่านั้นมิใช่ให้รื้อถอนทันทีแม้ตึกพิพาทจะอยู่ในเขตเพลิงใหม้ซึ่งแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้กำหนดให้มีการตัดถนนใหม่ซึ่งจำเป็นต้องซื้อตึกพิพาทแต่เมื่อสิทธิในการเช่าตึกพิพาทของจำเลยตามสัญญาที่ตกลงกับโจทก์ยังมีอยู่และตึกพิพาทยังไม่ถูกทำลายหรือสูญหายโจทก์จะยกเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นเป็นเหตุบอกเลิกสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ได้การที่ทางราชการต้องการใช้ที่ดินแห่งใดเพื่อประโยชน์ของทางราชการมิใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะเป็นผู้ดำเนินการเพราะตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา61ได้บัญญัติไว้แล้วว่าในกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใดเพื่อใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในแผนผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ให้ดำเนินการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นโดยให้นำกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 75ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์ แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด ในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องขออนุมัติ และสัญญาต่างตอบแทนไม่ต้องจดทะเบียน
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 7 และมาตรา 39 กำหนดให้เทศบาลตำบลเมืองพลโจทก์เป็นทบวงการเมือง มีคณะเทศมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และนายกเทศมนตรีมีฐานะเป็นผู้แทนของโจทก์ตามที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 ที่จะแสดงให้ปรากฏซึ่งความประสงค์ของโจทก์ที่เป็นนิติบุคคล การฟ้องคดีนั้นเป็นการบริหารกิจการของเทศบาลอย่างหนึ่งซึ่งไม่มีบทบัญญัติใน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ในที่ใดว่าจะต้องมีการขออนุมัติผู้ใดก่อน นายกเทศมนตรีจึงมีอำนาจเป็นผู้แทนโจทก์ที่จะฟ้องคดีจำเลยได้ ในเมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลย โจทก์จำเลยได้มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันให้จำเลยสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของโจทก์โดยให้โรงภาพยนตร์ตกเป็นของโจทก์แต่จำเลยมีสิทธิเช่ามีกำหนด 20 ปี การที่มีข้อตกลงเป็นการตอบแทนกันดังกล่าวเป็นเรื่องของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาข้อสัญญาต่างตอบแทนกันเช่นนี้ไม่มีบทกฎหมายกำหนดไว้ให้ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่คู่กรณีจึงต้องผูกพันกันตามสัญญาที่มีลักษณะต่างตอบแทน เมื่อระยะเวลาที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องมานั้นอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยยังมีสิทธิใช้ประโยชน์ในโรงภาพยนตร์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามสัญญา การที่ข้อตกลงในสัญญาจะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรืออย่างไรนั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงไปให้ข้อตกลงที่มีอยู่ต่อกันขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใดในเมื่อจำเลยไม่ชำระตามข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยชำระได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงชื่อที่จะเรียกว่าเป็นค่าเช่าหรือค่าตอบแทนตามสัญญา