คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับในสัญญาประกันภัยเนื่องจากจำเลยพยายามติดตามตัวผู้ต้องหา แม้จะล่าช้า
หลังจากผิดสัญญาประกัน จำเลยนายประกันได้พยายามสืบหาผู้ต้องหาและได้จ้างผู้อื่นช่วยสืบหาจนได้ตัวผู้ต้องหาส่งให้แก่โจทก์ดำเนินคดี แม้จะใช้เวลาเกือบ 2 ปี ความเสียหายของโจทก์ก็มีน้อยกว่าที่โจทก์ดำเนินการเอง สมควรลดค่าปรับให้แก่จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในสัญญาประกันตัวและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาลล่าง
โจทก์กล่าวมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาให้ไว้แก่โจทก์ ถ้าไม่ส่งตัวผู้ต้องหาตามกำหนดยินยอมให้ปรับเป็นเงิน 200,000 บาท และเพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติตามสัญญาจำเลยที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนนำโฉนดที่ดินมามอบไว้แก่โจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันรับผิด ถือได้ว่าเป็นการฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญาประกันกับโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ โดยต่อสู้คดีเพียงว่าไม่ได้ผิดนัดและโจทก์ไม่เสียหายจึงไม่มีอำนาจปรับจำเลยเท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีความผูกพันต่อโจทก์นั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น นอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา เมื่อมีการผิดสัญญาประกัน จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญาประกันในนามของตนเอง แต่ทำแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการ จึงไม่ต้องรับผิดนั้นเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ค่าปรับจำนวน 200,000 บาท ซึ่งกำหนดให้จำเลยต้องเสียให้แก่โจทก์ตามสัญญาประกัน เป็นเบี้ยปรับอย่างหนึ่งที่ศาลมีอำนาจลดลงได้ ถ้าเห็นว่าสูงเกินไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดค่าปรับตามกฎหมาย
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว ไม่อุทธรณ์ฎีกาได้
กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาแล้วฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประการใด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในคดีผิดสัญญาประกันตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่
ผู้ประกันยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2533 ภายหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532ใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาของผู้ประกันต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวอันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกา บัญญัติให้ผู้ประกันมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด กรณีของผู้ประกันเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยแล้วย่อมเป็นที่สุดศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5935/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังแก้ป.วิ.อ.มาตรา 119 กรณีผิดสัญญาประกันตัว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมโดยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4 บัญญัติให้คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลเป็นที่สุด เมื่อผู้ประกันยื่นฎีกาหลังจากกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้ว กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันและสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา: ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยถึงที่สุดแล้ว
กรณีผู้ประกันผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 105/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานสอบสวนฟ้องคดี และผลของการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดเรื่องอากรแสตมป์ในการทำสัญญาประกัน
ขณะฟ้องพันตำรวจโท อ.เป็นสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของตนได้ ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติไว้ พันตำรวจโท อ.จึงเป็นพนักงานสอบสวนตามความหมายของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (6) ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสี่ บัญญัติว่า "ในเขตท้องที่ใดมีพนักงานสอบสวนหลายคนการดำเนินการสอบสวนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น..."ดังนั้น พันตำรวจโท อ.ในฐานะสารวัตรใหญ่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งอันถือได้ว่าเป็นพนักงานสอบสวนผู้เป็นหัวหน้าในท้องที่นั้น ย่อมมีอำนาจในการสอบสวน ให้ประกัน และฟ้องคดีในนามโจทก์ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเกี่ยวกับสัญญาประกันที่ผู้ประกันทำไว้ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งได้ ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับใดระบุอำนาจและหน้าที่ไว้ว่าพนักงานสอบสวนผู้สอบสวนคดีเท่านั้นที่มีอำนาจฟ้องคดีได้
เอกสารมีใจความว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินรวม 3 ฉบับ ไปประกัน ม.ผู้ต้องหาในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้งแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการ ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นใบมอบอำนาจตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในลักษณะแห่งตราสาร ข้อ 7 (ก) ต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาท และขีดฆ่าแล้วจึงจะสมบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่เอกสารดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ไว้ 10 บาท โดยไม่ขีดฆ่า ย่อมถือว่ายังไม่ปิดอากรแสตมป์สมบูรณ์ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 จะใช้เป็นพยานหลักฐานฟังว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ไม่ได้
สัญญาประกันต้องลงลายมือชื่อผู้ประกันหรือผู้เป็นหลักประกันในสัญญา กับต้องมีข้อความตาม (1) (2) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112 จึงเป็นกิจการอันกฎหมายบังคับไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798 วรรคแรก ดังนั้น การนำสืบในประเด็นดังกล่าวถือได้ว่ากฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อใบมอบอำนาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาประกัน ม.ไปจากโจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6239/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับสัญญาประกันต่อศาล: คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล เมื่อศาลมีคำสั่งประการใดแล้วผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้และ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด จะฎีกาต่อมาอีกไม่ได้
of 23