พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ส่งผลต่อการฟ้องบังคับคดี แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตม์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาล-อุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตม์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาล-อุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5664/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยไม่ได้ยกข้อต่อสู้
ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน คำว่า "คดีแพ่ง" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึงคดีแพ่งทั่วไปไม่เฉพาะแต่คดีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเอกสารหมาย จ.1 ระบุว่ากู้เงินกันจำนวน 32,072 บาท เมื่อปิดอากรแสตมป์ไม่ครบถ้วน ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือมาแสดงต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653วรรคแรก จึงฟ้องร้องบังคับคดีจำเลยทั้งสองไม่ได้ แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาเช่ารถยนต์ที่แท้จริงคือสัญญาเงินกู้
ก่อนรถยนต์และสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทจะโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ในปี 2527 จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์และเจ้าของสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทมาก่อน แต่ต่อมาจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียนรถแทนด้วยการทำสัญญาเช่าจากโจทก์แทนสัญญากู้ยืมเงินกันจริง กรณีจึงต้องบังคับกันตามสัญญากู้ยืมที่อำพรางกันไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่มีการขีดฆ่าแสตมป์ แม้ปิดแสตมป์ครบถ้วน ก็ใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าจำเลยขาดนัดไม่ได้ ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากรว่า จะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแม้จะปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีการขีดฆ่าแสตมป์ ซึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา118 แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลรัษฎากรว่า จะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่กฎหมายกำหนดและขีดฆ่าแสตมป์แล้ว เมื่อปรากฏว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินแม้จะปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีการขีดฆ่าแสตมป์ ซึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา118 แห่งประมวลรัษฎากรห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง โจทก์จึงไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมมาฟ้องร้องบังคับจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1014/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร ทำให้ไม่มีผลผูกพันทางแพ่ง
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่า จำเลยขาดนัดไม่ได้ จะต้องพิจารณาให้ได้ความว่าข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายด้วย การกู้ยืมเงินเกินกว่าห้าสิบบาท ต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมและหนังสือสัญญากู้ยืมจะต้องปิดแสตมป์ตามอัตราที่ประมวลรัษฎากรกำหนดและขีดฆ่าแล้วหากไม่มีการขีดฆ่าแสตมป์ ถือว่าไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ซึ่งห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง ผู้กู้จึงไม่ต้องรับผิดและผู้ค้ำประกันก็ไม่ต้องรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ โดยไม่มีพยานตั้งแต่แรกทำสัญญา ไม่ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้น ไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ไม่จำเป็นต้องมีพยานลงชื่อในขณะทำสัญญา ไม่กระทบความสมบูรณ์ของสัญญา
จำเลยกู้เงินจากโจทก์จำนวน 120,000 บาท โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือไว้ แล้วต่อมาจำเลยได้ทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ขณะที่จำเลยเขียนสัญญากู้เงินและลงชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญานั้นไม่มีบุคคลอื่นลงชื่อเป็นพยานในสัญญา โดยพยานดังกล่าวได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญากู้เงินในภายหลัง ก็ไม่มีผลทำให้หนังสือสัญญากู้เงินเสื่อมเสียไป เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือนั้นจะต้องมีลายมือชื่อของพยานด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่ไม่สมบูรณ์และข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วน การพิจารณาเจตนาที่แท้จริงของสัญญา
จำเลยชอบที่จะนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า สัญญากู้ไม่มีผลผูกพันเพราะโจทก์จำเลยทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ ที่นำไปช่วยลงทุนค้าขายน้ำแข็งก้อนกับจำเลยได้ไม่เป็นการสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างเมื่อได้นำสัญญากู้มาแสดงแล้วว่ายังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาอยู่อีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญากู้ยืมไม่สมบูรณ์นั่นเอง และเมื่อทางพิจารณารับฟังได้ว่าโจทก์จำเลยเข้าหุ้นกันเปิดกิจการค้าน้ำแข็งก้อน สัญญากู้เป็นเพียงหลักฐานคุ้มครองเงินของโจทก์ที่นำไปร่วมลงทุนค้าน้ำแข็งก้อนกับจำเลยเท่านั้น กรณีก็มิใช่เป็นการกู้ยืมดังฟ้องโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะยอมรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องไม่เคลือบคลุม - สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี - ดอกเบี้ยเพิ่ม - สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยถือเอาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 13777 ของจำเลยที่มีไว้กับโจทก์เพื่อเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,256,239.21 บาท จำเลยได้จำนองที่ดินและเครื่องจักรเป็นประดับหนี้ดังกล่าว หนี้ถึงกำหนดแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้หากไม่ชำระให้ครบ ให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินยังไม่ชำระหนี้ก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์จนครบ คำฟ้องดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำของบีงคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้าหาครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้
่
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้
่