คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาเช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยยังใช้บังคับแม้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุด และการปฏิบัติตามเงื่อนไขกรมธรรม์
สัญญาประกันภัยระหว่างจำเลยกับ ว. ผู้เอาประกันภัยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกแยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับ ว. แม้สัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงเนื่องจาก ว. ผิดสัญญาและโจทก์ได้ยึดรถยนต์คืนไป ก็มีผลเฉพาะสัญญาเช่าซื้อ ส่วนสัญญาประกันภัยเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติหรือข้อกำหนดในสัญญาระบุให้สัญญาสิ้นสุดลงจึงมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงชำระหนี้ได้
โจทก์ตกลงกับวัด ท. ให้ทางวัดจัดที่จอดรถให้ โดยโจทก์ให้ค่าตอบแทนเป็นรายเดือนต่อคัน แม้โจทก์ไม่มีพนักงานของตนไปเฝ้ารักษารถ แต่ทางวัด ท. จะต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลเพื่อทราบว่ามีรถยนต์มาจอดกี่คันจะได้เก็บค่าตอบแทนถูกต้อง ถือว่าโจทก์ใช้ความระมัดระวังพอสมควรโดยไม่เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และโจทก์แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนหลังจากทราบว่ารถยนต์หายไปเพียง 1 วัน กับแจ้งให้จำเลยทราบในอีก 1 สัปดาห์ถัดมา ถือว่าได้มีการแจ้งโดยไม่ชักช้าแล้วไม่เป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การมีส่วนได้เสียในประกันภัย และข้อจำกัดการนำสืบพยาน
สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 ดังนั้น คู่ความจะขอสืบพยานบุคคลแทนเอกสารหรือนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารสัญญาเช่าซื้อมิได้ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง คดีนี้โจทก์ได้นำสืบโดยส่งต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อเป็นพยาน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การรับว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกจากโจทก์จริง ส่วนจำเลยร่วมถูกเรียกเข้ามาในคดีโดยมิได้ต่อสู้ว่าเอกสารสัญญาเช่าซื้อปลอม ไม่สมบูรณ์ฯ?แต่ประการใด จำเลยร่วมจะอ้างคำเบิกความของ พ. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 หรือพยานบุคคลอื่นมาหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อซึ่งระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อมิได้ ต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุก จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธินำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ประโยชน์และมีสิทธิที่จะได้กรรมสิทธิ์เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบ ตลอดจนต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อ ความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแก่รถยนต์ที่เช่าซื้อ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในวัตถุที่เอาประกันภัย ถึงแม้จะให้ผู้อื่นนำรถยนต์ไปใช้ หรือชำระค่าเช่าซื้อ เบี้ยประกันแทน ก็หาทำให้เสียสิทธิหรือหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาไม่ จำเลยร่วมต้องผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 และต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7713/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งผลประโยชน์จากโรงเรียนคอมพิวเตอร์ ไม่เป็นโมฆะจากการหลีกเลี่ยงภาษี หรือสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์และจำเลยได้ทำสัญญาแบ่งผลประโยชน์ระหว่างโจทก์และจำเลย โดยคิดจากจำนวนนักเรียนที่เรียนวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 700 คน ต่อ 1 ภาคการศึกษา เก็บค่าเล่าเรียนคนละ 700 บาท ต่อ 1 ภาคการศึกษา ส่งแก่โจทก์ โดยจำเลยจะได้ผลตอบแทนเป็นเงินร้อยละ 15 ของค่าเล่าเรียนที่เก็บได้ โจทก์เป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งจัดสร้างห้องเรียนคอมพิวเตอร์ให้จำเลย 1 ห้อง เมื่อครบ 4 ปีแล้ว โจทก์จะมอบคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ ห้องเรียนและหลักสูตรการเรียนการสอนให้จำเลยทั้งหมด ผลของสัญญามิได้กระทบต่อสิทธิหรือประโยชน์ของคนโดยทั่วไป สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนรูปแบบหนึ่งซึ่งใช้บังคับกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 149 และ 369 ไม่ใช่เป็นการหลีกเลี่ยงภาษีหรือเป็นสัญญาเช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายเงินผ่อน จึงเป็นธรรมและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7015/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ แล้วจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การต่อสู้ว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย แต่โจทก์ไม่ไปเก็บเงินค่าเช่าซื้อเอง จำเลยจึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ ดังนี้ ปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยที่อ้างว่า การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลย เป็นการนำสืบถึงการปฏิบัติต่อกันระหว่างคู่สัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อตาม ป.วิ.พ.มาตรา94 (ข) นั้นจึงเป็นประเด็นแห่งคดีโดยตรงและเป็นสาระแห่งคดีอันควรได้รับการวินิจฉัยการที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย จ.3 ข้อ 2 มีข้อความระบุว่าจำเลยผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ณ ที่ทำการของโจทก์ตามที่ระบุไว้ในสัญญานี้ ภายในกำหนดระยะเวลาการเช่าซื้อ และตามเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในบัญชีแสดงระยะเวลาการเช่าซื้อและการชำระเงินค่าเช่าซื้อ การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า พนักงานของโจทก์ตกลงที่จะไปเก็บค่าเช่าซื้อจากจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการทำสัญญาประกันภัยและการตีความสัญญาเช่าซื้อ โดยคำนึงถึงเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญา
ป.พ.พ. มาตรา 11, 155, 171, 368, 863ป.วิ.พ. มาตรา 55
การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาทำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 171 เป็นสำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา บริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท ย.ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจำเลยเชื่อว่า โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา จึงเข้าทำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้นเมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัย จำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสี่ยงภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย.ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริง การโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 155 วรรคหนึ่งโจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาที่แท้จริงสำคัญกว่าถ้อยคำในสัญญาประกันภัยและเช่าซื้อ การตีความต้องคำนึงถึงสถานการณ์และวัตถุประสงค์ที่แท้จริง
การตีความสัญญาเช่าซื้อและสัญญาประกันภัยไม่อาจตีความตามถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตามสัญญาดังกล่าวได้ แต่ต้องตีความการแสดงเจตนาทำสัญญานั้นโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาทุกฝ่าย ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 171 เป็นสำคัญ เมื่อเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญา บริษัทจำเลยผู้รับประกันภัยเจตนาเข้ารับเสี่ยงภัยในรถยนต์ที่เอาประกันภัยโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นรถยนต์ของบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อ จึงเป็นเรื่องที่บริษัทจำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้เช่าซื้อและมีส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัยขณะทำสัญญา จึงเข้าทำสัญญาด้วย ทั้งโจทก์เองก็คงเชื่อเช่นนั้น เมื่อโจทก์ผู้เช่าซื้อประสงค์จะผูกพันตามสัญญาประกันภัยจำเลยเองก็เจตนาจะเข้ารับเสี่ยงภัยตามสัญญาประกันภัย และบริษัทผู้ให้เช่าซื้อก็ประสงค์จะได้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยในฐานะเป็นผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์แห่งสัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมมุ่งประสงค์ไปที่การประกันภัยรถยนต์คันที่โจทก์เป็นผู้เช่าซื้อตลอดระยะเวลาที่เช่าซื้อเป็นสำคัญยิ่งกว่าวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยที่พิมพ์เป็นตัวอักษรไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยฉบับพิพาท
แม้หนังสือสัญญาเช่าซื้อจะระบุวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าซื้อหลังวันเริ่มต้นแห่งสัญญาประกันภัยเป็นเวลา 9 วัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เหลื่อมกันเพียงเล็กน้อย การตีความวันทำสัญญาประกันภัยดังกล่าวย่อมต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญายิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรดังกล่าวมาแล้ว จึงต้องตีความว่า สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์กับจำเลยได้กระทำขึ้น ณ วันแรกที่โจทก์มีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันที่โจทก์เอาประกันภัยไว้แก่จำเลย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการตีความสัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยตามมาตรา 11 ที่ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นด้วย กรณีถือได้ว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยขณะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าบริษัท ย. ผู้ให้เช่าซื้อได้แสดงเจตนาเข้ารับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยดังกล่าว โจทก์ผู้เอาประกันภัยจึงยังคงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยจากจำเลยผู้รับประกันภัยเมื่อเกิดวินาศภัยขึ้นตามสัญญา โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
โจทก์ทำสัญญาโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้ภริยาโจทก์ไปเพราะต้องการบัตรติดรถยนต์สำหรับใช้ทางลัดผ่านเข้าออกกองทัพอากาศเท่านั้น และหลังจากที่โอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าว โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันที่เอาประกันภัยและเป็นผู้ชำระค่าเช่าซื้อตลอดมา เมื่อโจทก์กับภริยาโจทก์มิได้มีเจตนาโอนสิทธิการเช่าซื้อกันจริงการโอนเป็นเพียงเจตนาลวง สัญญาโอนสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่ต้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังคงมีฐานะเป็นผู้เช่าซื้อที่แท้จริงตลอดมาและยังคงมีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยนั้นอยู่เช่นเดิม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาประกันภัยได้
การโอนสิทธิการเช่าซื้อไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อให้บุคคลอื่นตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
(วรรคหนึ่งและวรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5510/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อที่ดิน: การกำหนดค่ารายปีภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องพิจารณาจากสิทธิซื้อขายที่รวมอยู่ในสัญญา
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างบริษัท ร. กับโจทก์กำหนดว่า ในระหว่างอายุสัญญาเช่าถ้าผู้เช่า (โจทก์) มีความประสงค์จะซื้อทรัพย์สินที่เช่า ผู้ให้เช่ายินยอมขายทรัพย์สินที่ให้เช่าให้ผู้เช่าหรือบุคคลที่ผู้เช่าระบุเป็นผู้ซื้อในราคาตามวิธีคำนวณที่กำหนดไว้ต่อท้ายสัญญานั้นเป็นคำมั่นในการซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 454 วรรคแรก ซึ่งผู้ให้เช่าได้กำหนดเวลาให้ผู้เช่าบอกกล่าวความจำนงในการซื้อไว้เป็นการแน่นอนแล้ว ผู้ให้เช่าจึงถอนคำมั่นก่อนเวลาที่ระบุไว้ไม่ได้ ทั้งได้กำหนดราคาซื้อขายที่ดินไว้แน่นอนตามอัตราการเพิ่มมูลค่าของราคาที่ดินนั้นแต่ละปีจากราคาที่ดินที่ผู้ให้เช่าซื้อมา เมื่ออัตราค่าเช่าที่ดินกำหนดไว้ปีละ 9,176,620 บาท หากเช่าครบกำหนด 60 ปี จะเป็นจำนวนเงินถึง 550,597,200 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินสูงมาก อาจเท่าหรือสูงกว่าราคาที่ดินที่เช่า สัญญาเช่าดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาเช่าตามปกติธรรมดาเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นสัญญาเช่าที่รวมถึงสิทธิที่จะซื้อที่ดินที่เช่าไว้ด้วย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยนำค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดค่ารายปีของที่ดินต่อเนื่องและโรงเรือนของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การเลิกสัญญาและการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อค้างชำระ แม้มีการปฏิเสธเช็ค
สัญญาเช่าซื้อ ข้อ 7 มีความว่า "ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อไม่ชำระให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันโดยไม่ต้องบอกกล่าว" ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองสั่งจ่ายเช็คชำระค่าเช่าซื้อไว้ล่วงหน้า 8 ฉบับลงวันที่ 7 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 7 ตุลาคม 2538 เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทุกฉบับโจทก์มิได้มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลย แสดงว่าโจทก์ยังไม่มีเจตนาเลิกสัญญากับจำเลยและโดยสภาพข้อสัญญาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ผู้ให้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ยึดรถคืนในวันที่16 กันยายน 2538 อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่ามีการเลิกสัญญา เช็คจำนวน 7 ฉบับที่สั่งจ่ายถึงวันที่ยึดรถ จึงเป็นค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจำเลยทั้งสองจึงต้องชำระหนี้ตามเช็ค7 ฉบับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญา, การปฏิเสธการจ่ายเช็ค, และหน้าที่ชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อภายในกำหนดตามสัญญา และได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือทวงถามแล้ว ผู้เช่าซื้อยังเพิกเฉย ให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเป็นอันยกเลิกเพิกถอนไป ปรากฏว่าแม้เช็คที่จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินทุกงวดอันถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ก็มิได้มีหนังสือทวงถามให้นำเงินที่ค้างมาชำระ ยังคงปล่อยให้จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่าซื้อต่อไป แสดงว่าโจทก์ยังคงให้โอกาสจำเลยปฏิบัติตามสัญญา สัญญาข้อนี้จึงเป็นการกำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว หาได้มีผลเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาของผู้เช่าซื้อด้วยไม่ เพราะจำเลยผู้เช่าซื้อสามารถเลิกสัญญาได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนที่ดินแก่โจทก์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 573 กำหนดให้เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ ดังนั้น จำเลยคงต้องรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ตามเช็คพิพาทในมูลหนี้ค่าเช่าซื้อที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3642/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภูมิลำเนาหลายแห่ง และอายุความสัญญาเช่าซื้อ
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 นั้น แสดงให้เห็นว่า บุคคลธรรมดาอาจมีภูมิลำเนาได้หลายแห่ง นอกจากสถานที่อยู่จะเป็นภูมิลำเนาแล้ว ที่ทำการงานเป็นปกติก็เป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งด้วย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 เป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสตูล จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกระบี่ มีที่ทำการสาขาพรรคอยู่ที่ สองจังหวัด จึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปได้ว่าสถานที่ทั้งสองแห่งเป็นที่ทำการสำหรับติดต่อกับจำเลยทั้งสองในการปฏิบัติหน้าที่ทางการเมือง และรับทราบปัญหาต่าง ๆ จากราษฎรในฐานะที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้แทนของประชาชน อีกทั้งสำนักงานสาขาดังกล่าวยังเป็นสถานที่ใช้ติดต่อประสานงานทางการเมืองระหว่างพรรคกับจำเลยและสมาชิกของพรรคด้วย ดังนั้นที่ทำการสาขาพรรค จังหวัดสตูล และจังหวัดกระบี่จึงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสอง อีกแห่งหนึ่ง
ตามคำฟ้องโจทก์เป็นกรณีขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่กรณีหนึ่ง และเรียกค่าเสียหายจากการที่โจทก์ขาดประโยชน์ที่เอารถยนต์ไปให้ผู้อื่นเช่าอีกกรณีหนึ่งนั้น มิใช่เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใน ค่าเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เช่าซื้อชำรุดเสียหายอันเป็นกรณีที่จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 563 ซึ่งกำหนดอายุความ 6 เดือนมาใช้บังคับ แต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุความเรื่องนี้ไว้โดยตรง จึงอยู่ในอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ฉะนั้นฟ้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 49