พบผลลัพธ์ทั้งหมด 238 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องใหม่นอกเหนือจากที่เคยต่อสู้ในศาลชั้นต้น และความรับผิดร่วมกันในหนี้จากการประกอบธุรกิจสามีภริยา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แท้จริงแล้วน้องชายโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน การที่น้องชายโจทก์โอนหนี้ให้แก่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้เป็นการโอนหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 ลงชื่อในสัญญารับสภาพหนี้ด้วยความหวาดกลัว แต่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ว่าสัญญารับสภาพหนี้เป็นเอกสารปลอมที่โจทก์ทำขึ้นเอง ลายมือชื่อก็ไม่ใช่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 มีมูลหนี้ต่อโจทก์ไม่ถึงตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง ดังนั้นข้อที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นฎีกาดังกล่าวเป็นข้อที่นอกเหนือจากที่จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)
พฤติการณ์ที่ร้านค้าของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันชื่อเหมือนกับชื่อหมู่บ้านที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างมาให้จำเลยทั้งสองเคยไปดูแลการทำงานของช่างก่อสร้างในหมู่บ้านดังกล่าวและบ้านของจำเลยทั้งสองถูกใช้เป็นสำนักงาน โดยมีเสมียนเข้าไปทำงานในบ้านของจำเลยทั้งสองจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาชำระหนี้และบันทึกข้อความในฐานะภริยาผู้ให้ความยินยอมแสดงให้เห็นได้ว่ากิจการ ก่อสร้างหมู่บ้านดังกล่าวเป็นการงานที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยาทำด้วยกัน ดังนั้นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ต้องเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับจำเลยที่ 1 ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้มีคู่สมรสอื่น ย่อมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายจากการอยู่กินฉันสามีภริยา และการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจไปกับจำเลย และจำเลยมีเจตนาที่จะอยู่กินฉันสามีภริยา
ก่อนเกิดเหตุจำเลยมีภริยาอยู่แล้ว และยังไม่ได้เลิกกับภริยาเมื่อพาผู้เสียหายไปร่วมประเวณีโดย ไม่มีเจตนาที่จะอยู่กินเลี้ยงดูผู้เสียหายฉัน สามีภริยาแล้ว ต่อมารู้ตัวว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงให้มารดาและพวกพาไปขอขมาและนำเงินไปชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ร่วมเพื่อมิให้ดำเนิน คดีแก่จำเลยอีกต่อไปดังนั้น แม้จะฟังว่าผู้เสียหายสมัครใจไปกับจำเลย และได้ร่วมประเวณีกับจำเลยก็ตาม การกระทำของจำเลยถือ ได้ ว่าเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่ง เป็นผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับแล้ว แม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้ บังคับ ก็ยังต้อง นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาใช้ บังคับ เมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดย การยกให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรส ซึ่ง ไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วย จึงต้อง เป็นไปตาม บทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ตอน ท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรส ที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดา โจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วย ย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึง สิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัว ของผู้กระทำโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัว หรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะ ที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตาม นัยมาตรา 1490 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าว และมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสและการบังคับคดีหนี้ที่เกิดจากการกระทำละเมิด
ที่ดินที่จำเลยได้รับมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ร้องจะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ยังต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับเมื่อจำเลยฝ่ายเดียวได้ที่ดินดังกล่าวมาระหว่างสมรสโดยการยกให้โดยเสน่หาจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1471(3) สำหรับที่ดินที่จำเลยได้รับมาระหว่างสมรสซึ่งไม่ปรากฏว่าบิดายกให้จำเลยแต่ผู้เดียวหรือให้ผู้ร้องด้วยจึงต้องเป็นไปตามบทสันนิษฐานของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474ตอนท้ายที่ให้ถือว่าเป็นสินสมรสที่ดินดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1474(1) การร่วมกันกระทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมธรรมดาโจทก์มิได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยด้วยย่อมจะบังคับคดีให้กระทบกระทั่งถึงสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่เหนือสินสมรสมิได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา287ทั้งการทำละเมิดของจำเลยก็เป็นการเฉพาะตัวของผู้กระทำโดยตรงไม่เกี่ยวข้องกับกิจการอันจำเป็นในครอบครัวหรือเกี่ยวข้องกับสินสมรสหรือเกิดจากการงานที่ผู้ร้องกับจำเลยทำด้วยกันในฐานะที่เป็นสามีภริยากันจึงไม่เป็นหนี้ร่วมตามนัยมาตรา1490แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ผู้ร้องไม่ต้องผูกพันในมูลหนี้ดังกล่าวและมีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาไปเพื่ออนาจาร ข่มขืน และชิงทรัพย์: การพิจารณาเจตนาในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา
จำเลยกับผู้เสียหายเคยอยู่กินฉันสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาได้แยกกันอยู่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยหย่าขาดกับผู้เสียหายตามกฎหมายอิสลามการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเราจึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเข้าใจว่ามีสิทธิกระทำได้กับภริยาซึ่งมีบุตรด้วยกัน อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะ ย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดยมีเจตนาร้าย จึงไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขังและข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหายซึ่งสวมใส่ไป โดยบอกกับผู้เสียหายว่าถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวผู้เสียหายอาจมีเงินหลบหนีได้ แสดงว่าการที่จำเลยเอาทรัพย์ดังกล่าวไป จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตไม่จึงไม่เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการกู้เพื่อไถ่จำนองสินสมรสเป็นหนี้ร่วมสามีภริยา สิทธิการกันส่วนจึงไม่เกิด
จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรสหนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1490(2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตนในที่ดินและบ้านดังกล่าวซึ่งถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สัตยาบันหนี้ร่วมของสามีภริยาที่แยกกันอยู่ และผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องกับจำเลยแยกกันอยู่และไม่เกี่ยวข้องกัน การที่ผู้ร้องมิได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจำเลยถูกฟ้อง มิได้แสดงว่าผู้ร้องให้สัตยาบันหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4).(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2159/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินจากการทำมาหาได้ร่วมกันของสามีภริยา แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ศาลถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ พ.ศ. 2485มีบุตรด้วยกัน 7 คน ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทด้วยเงินของผู้ร้องขณะที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ยังคงอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ดังนี้ถือได้ว่าร่วมกันซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์ที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มาจากการทำมาหาได้ร่วมกันผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาท.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)