คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิประโยชน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 119 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนการจ้างไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง แม้สิทธิประโยชน์ไม่ต่อเนื่อง
การโอนการประปาบางบัวทองซึ่งเป็นกิจการของจำเลยให้กับการประปานครหลวงเป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีการโอนดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างจำเลยกับการประปานครหลวงว่าพนักงานที่โอนไปจะได้รับสิทธิต่างๆที่มีอยู่เช่นเดิมและให้มีอายุการปฏิบัติงานติดต่อกันการที่โจทก์แสดงความจำนงขอโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงและจำเลยได้มีคำสั่งให้โจทก์ออกจากงานเพื่อโอนไปปฏิบัติงานกับการประปานครหลวงนั้นพฤติการณ์เป็นเรื่องโอนการจ้างโดยเปลี่ยนตัวนายจ้างจากการประปาส่วนภูมิภาคเป็นการประปานครหลวงถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ46แม้ต่อมาภายหลังการประปานครหลวงจะไม่นับอายุการปฏิบัติงานต่อเนื่องให้โจทก์ก็ไม่อาจทำให้การโอนการจ้างดังกล่าวกลับมีผลเป็นการเลิกจ้างไม่โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 315/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและสิทธิประโยชน์: การพิจารณาความผิดทางวินัยและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เงินบำเหน็จ ค่าชดเชย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นเงินคนละประเภทและกำหนดขึ้นโดยกฎหมายต่างกัน การวินิจฉัยเงินประเภทหนึ่งหามีผลกระทบถึงเงินอีกประเภทหนึ่งไม่ เพราะหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง กับการจ่ายค่าชดเชยหรือสินจ้างดังกล่าวตามกฎหมาย. อาจกำหนดแตกต่างกันได้ การกระทำของลูกจ้างกรณีเดียวกันจึงอาจเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง และในคราวเดียวกันอาจไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก็ได้.ซึ่งจะทำให้สิทธิที่จะได้รับเงินดังกล่าวแตกต่างกันได้ฉะนั้นเมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแต่เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าการที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเพราะเหตุที่ถูกควบคุมตัวนั้นไม่ใช่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร.โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าเป็นความผิดตามระเบียบข้อบังคับจำเลยซึ่งจำเลยมีสิทธิปฏิเสธไม่จ่ายเงินบำเหน็จและจะเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตา583 หรือไม่แล้วจึงเป็นการวินิจฉัยไม่ครบถ้วนทุกประเด็นตามข้อต่อสู้ของจำเลย จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงเหล่านี้ต่อไป.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2766/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงานต่างด้าว การเลิกจ้าง และสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย
บริษัทนอกจากมีสำนักงานแห่งใหญ่แล้ว ย่อมจะมีสาขาสำนักงานอื่นอีกได้สาขาสำนักงานแห่งใดก็คือส่วนหนึ่งของบริษัทนั่นเอง สำนักงานแห่งใหญ่และสาขาสำนักงานมีฐานะตามกฎหมายเป็นนิติบุคคลเดียวกันแต่ภูมิลำเนาอาจมีได้หลายแห่งสุดแต่กิจการอันทำนั้นจะทำ ณ ที่ใดตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้วัตถุประสงค์ของสำนักงานใหญ่เป็นประการใด ต้องถือว่าสาขาสำนักงานมีวัตถุประสงค์เป็นเช่นนั้นด้วย ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 มีเจตนารมณ์ที่จะกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อรักษาดุลอำนาจทางการค้าและเศรษฐกิจของประเทศและเพื่อให้การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นส่วนรวม จึงต้องให้คนต่างด้าวไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน จึงจะประกอบธุรกิจได้การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจกับการมีวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับหรือเอกสารจัดตั้งเป็นกรณีที่แตกต่างกัน จะถือเอาใบอนุญาตประกอบธุรกิจที่ออกตามประกาศดังกล่าวเป็นวัตถุประสงค์ของจำเลย ซึ่งเป็นสาขาสำนักงานของบริษัทต่างด้าวไม่ได้สาขาของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมอบอำนาจให้สำนักงานจัดหางานในประเทศไทยทำสัญญาจ้างโจทก์ แล้วส่งโจทก์ไปทำงานในประเทศดังกล่าวถือว่าโจทก์เป็นลูกจ้างประจำของบริษัทจำเลย ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวโจทก์ฟ้องจำเลยในประเทศไทยได้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่มีอำนาจและไม่เคยทำสัญญาจ้าง โจทก์ในประเทศไทยครั้นศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยว่าจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จ.7 ในประเทศไทยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าระยะเวลาว่าจ้างตามเอกสารหมาย จ.7 สุดสิ้นลง แล้วและโจทก์ทำสัญญาใหม่กับสาขาสำนักงานในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียตามเอกสารหมาย ล.1 เช่นนี้หาได้ไม่เพราะไม่เป็นประเด็นในคำให้การและเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง และต้องถือว่าไม่มีสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย ล.1
โจทก์มีสิทธิหยุดงานได้ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม 2527 โจทก์ขอลากิจต่ออีกสามสัปดาห์โดยยื่นใบลาวันที่ 12 พฤษภาคม 2527 ซึ่งยังอยู่ภายในกำหนดเวลาสาขาสำนักงาน ของบริษัทจำเลยในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับแห่งลิเบียมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทันทีในวันดังกล่าวโจทก์ยังมิได้ละทิ้งหน้าที่เพราะโจทก์ยังมีสิทธิหยุดงานได้อีก 1 วันและการที่สาขาสำนักงานในประเทศไทยได้แจ้งให้โจทก์ทราบทางโทรเลขเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2527 นับแต่สิ้นสุดวันลา หากโจทก์ละทิ้งหน้าที่โจทก์ก็ละทิ้งเพียง 2 วันเท่านั้นจำเลยเลิกจ้างโจทก์ก่อนโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วัน ก่อนโจทก์กระทำความผิดต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
แม้การกำหนดหน้าที่นำสืบก่อนหลังของศาลแรงงานกลางจะไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้สืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว หาควรย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางสืบพยานหลักฐานใหม่อีกไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้
โจทก์ได้ยื่นบัญชีพยานอ้างตนเองเป็นพยานโดยปกติโจทก์ก็ต้องเข้าเบิกความตามที่ระบุอ้าง หากจำเลยประสงค์จะซักถามต้องการทราบข้อเท็จจริงอันใดจากตัวโจทก์ต้องการให้โจทก์อธิบายข้อเท็จจริงใด ๆ หรือให้ดูให้อธิบายข้อความในเอกสารใดก็ย่อมกระทำได้ในชั้นซักค้านอยู่แล้วการที่ศาลแรงงานกลางไม่เรียกโจทก์เข้าสืบในฐานะพยาน จำเลยผู้มีหน้าที่นำสืบก่อนโดยเห็นว่าไม่จำเป็นจึงไม่เป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอยู่ในความอุปการะของผู้อื่นเพื่อสิทธิประโยชน์ทางบำเหน็จบำนาญ พิจารณาจากพฤติการณ์และฐานะทางเศรษฐกิจ
บ. ผู้ตายซึ่งเป็นปู่ของโจทก์ได้เลี้ยงดูช่วยเหลือเกื้อกูลโจทก์มาตั้งแต่โจทก์อายุ 7 เดือน จน บ. ถึงแก่กรรม บ. มีอำนาจส่งโจทก์ไปอยู่กับผู้อื่น ณ ที่ใดก็ได้ ยามใดมีโอกาสเลี้ยงดูโจทก์ด้วยตนเองก็รับโจทก์มาอยู่ด้วย ไม่เคยส่งโจทก์ไปอยู่กับบิดาโจทก์ถือได้ว่าโจทก์อยู่ในอุปการะของ บ. ตลอดมา โดยโจทก์จำเป็นต้องมีผู้อุปการะเพราะบิดาโจทก์ฐานะไม่ดี มารดาก็ทอดทิ้งมิได้เหลียวแล ความตายของ บ. ทำให้โจทก์เดือดร้อนเพราะขาดอุปการะโจทก์จึงเป็นผู้อยู่ในอุปการะของ บ. ผู้ตายตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ มาตรา 4 และมีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ตกทอดตาม มาตรา 44 โดยอนุโลม
โจทก์ขอรับเงินสงเคราะห์ตกทอด จำเลยปฏิเสธการจ่าย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่จำเลยปฏิเสธการจ่าย ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1002/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำหรือไม่: คดีละเมิดกับการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ตามสัญญาจ้าง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งขอให้บังคับจำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและให้ใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ถูกจำเลยไล่ออกจากงานอันเป็นหนี้เกิดแต่มูลละเมิด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เงินที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อนมิใช่เงินประเภทเดียวกับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ คดีทั้งสองจึงมิได้มีประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คนต่างด้าวได้ที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมาย ยังมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตามเงื่อนไขที่กำหนด
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวศาลพิพากษาตามยอม แม้โจทก์จะถือหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้ และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 94 ก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 อยู่คำพิพากษาตามยอมจึงหาฝ่าฝืนหรือขัดต่อมาตรา 86 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2821/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตข้อตกลงสภาพการจ้าง: ลูกจ้างใหม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากข้อตกลงเดิม แม้ไม่ได้ลงนาม
บทบัญญัติมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มิได้บังคับเด็ดขาดว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้มีผลผูกพันแต่เฉพาะลูกจ้างที่ลงลายมือชื่อในข้อเรียกร้องหรือมีส่วนในการเลือกผู้แทนเข้าร่วมเจรจาเท่านั้นดังนั้น เมื่อนายจ้างมีเจตนาให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับพิพาทมีผลผูกพันลูกจ้างเป็นการทั่วไป ลูกจ้างผู้ที่เข้ามาทำงานในภายหลังจากมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับดังกล่าวก็มีสิทธิได้รับประโยชน์จากข้อตกลงนั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินกองทุนสงเคราะห์กับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อบังคับภายในองค์กรไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายแรงงานได้
เงินที่การประปานครหลวงจ่ายจากกองทุนสงเคราะห์ตามข้อบังคับซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติการประปานครหลวงฯ มิใช่ค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯแม้ตามข้อบังคับนั้นให้ถือว่าเงินกองทุนสงเคราะห์เป็นค่าชดเชยก็ไม่ชอบ ไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3627/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะงานต่อเนื่องและสิทธิประโยชน์เทียบเท่าลูกจ้างประจำ ถือเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
แม้โจทก์จะเป็นลูกจ้างพิเศษหรือคนงานจร ทำงานแทนคนงานประจำ แต่เมื่อได้ความว่า ลูกจ้างพิเศษต้องมาทำงานทุกวันสัปดาห์ละ 6 วัน หยุดวันอาทิตย์เช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ บางวันก็ต้องทำงานล่วงเวลา ประกอบกับเวลาทำงานก็ต้องลงชื่อในสมุดลงเวลาทำงานทุกคน เมื่อมาทำงานได้รับเลี้ยงอาหารกลางวัน และมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลของจำเลยเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำดังนี้ วัตถุประสงค์ที่จ้างก็เพื่อจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะงานเป็นงานประจำนั่นเอง โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3539/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อบังคับบริษัทเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง ถือเป็นสัญญา ไม่ใช่เงื่อนไขบังคับก่อน
ข้อบังคับองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ว่าด้วยการสงเคราะห์พนักงาน พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการสงเคราะห์พนักงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาอย่างหนึ่งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและมีผลใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยไม่จำต้องอาศัยเงื่อนไขใด ลูกจ้างจะมีสิทธิเมื่อเลิกจ้างอย่างใด ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบังคับดังกล่าว
of 12