พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3330/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกและการแบ่งมรดกโดยทายาทแทนที่ สิทธิฟ้องร้องแบ่งมรดก
การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอจัดการมรดกเกี่ยวกับที่ดินพิพาทสองแปลงตามที่โจทก์ขอแบ่ง แสดงว่าที่ดินทั้งสองแปลงเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของ ผ. ซึ่งอยู่ระหว่างจัดการมรดกถึงแม้ว่าจำเลยจะครอบครองที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ ผ. ตายแต่ผู้เดียวดังที่จำเลยให้การก็เป็นการครอบครองทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกที่ยังไม่ได้แบ่งปันกันและต่อมาจำเลยก็ได้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้นที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะทายาทและในฐานะผู้จัดการมรดกถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย จำเลยจะยกอายุความหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้ไม่ได้ โจทก์ซึ่งมีสิทธิรับมรดกแทนที่ของทายาทของ ผ. เจ้ามรดกย่อมมีอำนาจฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยาน จำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นและมิได้ยกปัญหานี้เป็นข้ออุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่โดยให้ฟังพยานโจทก์จำเลยก่อนนั้นไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2831/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายแรงงานย้อนหลังไม่ได้ แม้มีการร้องเรียนหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2522เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกปลดออกจากงานเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2521 อันเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ใช้บังคับ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 มาใช้บังคับแก่กรณีการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมของโจทก์ได้ แม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าการเลิกจ้างโจทก์ควรจะต้องนับตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2522 อันเป็นวันที่ประธานกรรมการบริษัทไอบีเอ็ม ในสหรัฐอเมริกาแจ้งผลการพิจารณาขอความเป็นธรรมให้โจทก์ทราบก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่าโจทก์ได้อาศัยระเบียบข้อบังคับในการทำงานข้อใดที่ให้สิทธิแก่โจทก์ทำการร้องเรียนขอความเป็นธรรมตามธรรมดาอันจะทำให้เห็นว่า คำสั่งปลดโจทก์ออกจากงานของจำเลยยังไม่มีผลในวันที่ 7 ธันวาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อสำคัญที่โจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้อง เมื่อโจทก์มิได้กล่าวไว้ก็ไม่มีเหตุที่จะแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีสิทธิที่จะขอให้ศาลแรงงานกลางนำมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ภายหลังคำสั่งปลดออกจากงานมาปรับกับกรณีของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารยทรัพย์: เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาฐานทำให้เสียทรัพย์
เจ้าของสามยทรัพย์ ไม่ใช่เจ้าของรวมในภารยทรัพย์ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา ขอให้ลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์แก่ผู้ที่ทำลายหรือทำให้ภารยทรัพย์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226-3227/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อสู้หลังทะเลาะวิวาท การกระทำโดยสมัครใจ และการไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 พูดจาโต้เถียงกันภายในร้านแล้วออกมาที่แคร่ไม้ไผ่หน้าร้าน จำเลยที่ 2 ชักปืนออกมาจ้องปากกระบอกชี้ไปทางจำเลยที่ 1 และพูดว่ามึงแน่ไหม เป็นการท้าทายจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 พูดว่าไม่สู้ และมีผู้ห้ามปรามจนจำเลยที่ 2 เก็บปืนแล้วก็ตาม แต่กิริยาอาการที่จำเลยที่ 2 ชักปืนออกมาเป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 ยังตั้งใจที่จะวิวาทกับจำเลยที่ 1 ต่อไปอีก การเก็บปืนของจำเลยที่ 2 ไม่ทำให้การทะเลาะวิวาทกับจำเลยที่ 1 ขาดตอนไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 1 วิ่งออกไปจากที่ที่ยืนอยู่และยิงมาที่จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็ยิงโต้ตอบไปทางจำเลยที่ 1 เช่นกัน พฤติการณ์ดังกล่าวตั้งแต่เริ่มแรกแสดงว่าจำเลยที่ 2 สมัครใจที่จะต่อสู้กับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จะอ้างว่ากระทำไปโดยป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ และจำเลยที่ 2 ก็มิใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกา แม้จะมีการอ้างถึงบุคคลภายนอก
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต แต่จำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการเช่าหลังฟ้องคดี: ศาลไม่รับพิจารณาในการวินิจฉัยสิทธิฟ้องร้อง การเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่
ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซึ่งผู้ให้เช่าลงลายมือชื่อไว้ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้ว จะนำมาใช้วินิจฉัยสิทธิในการฟ้องร้องของโจทก์ไม่ได้ เมื่อการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 911/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีแพ่งของผู้แทนจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า การพิสูจน์ผู้เสียหายที่แท้จริง และอายุความ
โจทก์เป็นเพียงผู้แทนให้จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า บี.เอ็ม.ดับบลิว ของบริษัท ม. โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะใช้สิทธิฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องจากความผิดทางอาญา ดังนั้นโจทก์จะอาศัยสิทธิตามกำหนดอายุความตามมาตรา 168 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 51 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (คืออายุความ 10 ปี) มาเป็นกำหนดาอายุความไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องขับไล่: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการครอบครองและการมีสิทธิฟ้องร้องภายใน 1 ปี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทโดยการครอบครองทำประโยชน์มาประมาณ 30 ปี แผนที่ท้ายฟ้องโจทก์ได้ระบุอาณาเขตของที่ดินโจทก์ว่าอยู่ติดกับที่ดินของใครไว้โดยรอบของที่ดินแล้ว จำเลยก็ให้การว่าซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ มิได้หลงต่อสู้หรือไม่เข้าใจฟ้องอย่างใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม
ที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยเพิ่งคัดค้านมิให้บุตรโจทก์ปลูกเรือนในที่พิพาท อันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองเอาที่พิพาทเป็นของตนยังไม่ถึง 1 ปี โจทก์ฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองได้ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
ที่พิพาทเป็นของโจทก์ จำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ จำเลยเพิ่งคัดค้านมิให้บุตรโจทก์ปลูกเรือนในที่พิพาท อันเป็นการเปลี่ยนลักษณะแห่งการครอบครองเอาที่พิพาทเป็นของตนยังไม่ถึง 1 ปี โจทก์ฟ้องเพื่อเอาคืนการครอบครองได้ไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 49/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้คัดค้านถึงแก่กรรมก่อนศาลตัดสินคดีแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทจึงไม่มีสิทธิฎีกา
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก เมื่อผู้ร้องคัดค้านถึงแก่กรรม ทายาทจะขอรับมรดกความแทนที่ไม่ได้ ทายาทดังกล่าวจึงเป็นบุคคลภายนอกคดีและไม่อยู่ในฐานะที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีภาษีอากร: การฟ้องจำเลยที่เป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องเจ้าพนักงานประเมินหรือกรมสรรพากร
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(1)(ข) บัญญัติว่า ในการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนสรรพากรเขตหรือผู้แทนและอัยการจังหวัดหรือผู้แทน และประมวลรัษฎากรมาตรา 30(2)บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลได้อีก เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยต่อศาลหรือฟ้องสรรพากรจังหวัดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมิน หรือฟ้องกรมสรรพากรเป็นจำเลยได้อีกด้วย แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องสรรพากรจังหวัดหรือกรมสรรพากรเป็นจำเลยด้วย ศาลก็พิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้หาขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ไม่