พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15984/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าใหม่หลังข้อตกลงเดิมไม่เป็นผล และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต รวมถึงอำนาจฟ้องแย้ง
คดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปจดทะเบียนหย่ากันและต่างฝ่ายจะถอนฟ้องและถอนฟ้องแย้งซึ่งกันและกัน โดยศาลชั้นต้นจดข้อตกลงดังกล่าวไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาแล้ว และโจทก์จำเลยที่ 1 ได้ถอนฟ้องแล้วตามข้อตกลง แต่ต่อมาโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนหย่า ภายหลังกลับมาฟ้องหย่าเป็นคดีนี้ ไม่ถือว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เพราะมีเหตุใหม่และเป็นคนละประเด็นกับคดีเดิม ปัญหาว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องและเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ก็มีสิทธิยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และ 249 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นบันทึกข้อเท็จจริงหรือการกระทำใดๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการนั่งพิจารณาไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 48 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นบันทึกว่าโจทก์ตกลงหย่ากับจำเลยที่ 1 จึงถือไม่ได้ว่า รายงานกระบวนพิจารณาเป็นหนังสือหย่าโดยความยินยอม และผู้พิพากษาหรือผู้พิพากษาสมทบที่ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา ก็เป็นลงลายมือชื่อตามที่กฎหมายบัญญัติ ถือไม่ได้ว่าเป็นการลงลายมือชื่อในฐานะพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2546/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของตัวแทนลูกจ้าง-กรรมการสหภาพแรงงาน กรณีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนฝ่ายลูกจ้างภายหลังเป็นประธานและกรรมการสหภาพแรงงานที่ร่วมยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างมาโดยตลอด โจทก์ย่อมทราบแล้วว่าถ้าฝ่ายนายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า นายจ้างต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง โจทก์ควรแจ้งการเรียกประชุมเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่นายจ้างมิได้กระทำให้ถูกต้องตามกฎหมายให้ฝ่ายนายจ้างทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ปล่อยเวลาให้ผ่านไปจนโจทก์ลาออกแล้วอาศัยสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายเป็นช่องทางให้โจทก์ได้รับประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่นายจ้างจะพึงได้รับเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการอ้างสถานะกรรมการลูกจ้างเพื่อต่อสู้คดีเลิกจ้าง
การห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือการกระทำใดๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้าง ไม่สามารถทำงานต่ออยู่ไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดผลประโยชน์ของนายจ้าง ซึ่งอาจทำให้นายจ้างไม่พอใจ และกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เพื่อให้ตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุสมควรที่จะกระทำดังกล่าวหรือไม่
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
โจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและพักงานโจทก์ โดยในขณะนั้นโจทย์ยังมิได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้างซึ่งกฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองกรรมการลูกจ้างแต่ประการใด อีกทั้งการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะโดยทราบดีว่าโจทก์ถูกพักงานและถูกตั้งกรรมการสอบสวนอยู่ พฤติการณ์ดังกล่าวส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของกรรมการลูกจ้าง และอำนาจฟ้องที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อย
ศาลแรงงานกลางพิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้วเห็นว่าสหภาพแรงงาน อ. จัดประชุมแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง โดยขณะที่จัดให้มีการประชุมนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงานดังกล่าวทราบดีอยู่แล้วว่าโจทก์และ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน โจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงานยังแต่งตั้งโจทก์และ ย. เป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งที่ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง การประชุมของสหภาพแรงงานดังกล่าวจัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2547 เวลาประมาณเที่ยงคืน ที่หน้าบ้านพักของ ธ. ไม่จัดให้เป็นกิจจะลักษณะ พฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรม ขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โจทก์อาศัยเหตุดังกล่าวเป็นมูลฟ้องร้องจำเลย จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเป็นการวินิจฉัยไปถึงอำนาจฟ้องของโจทก์อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลแรงงานกลางก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ที่ว่า ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน เป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองกรรมการลูกจ้างในบางกรณีอาจเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่อาจพอใจและกลั่นแกล้งกรรมการลูกจ้างได้ การที่นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้ จึงจำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเพื่อให้ศาลแรงงานตรวจสอบเสียก่อนว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรที่จะกระทำการดังกล่าวนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์กับ ย. มีเหตุทะเลาะวิวาทกันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนและระหว่างสอบสวนโจทก์ถูกพักงาน โดยขณะนั้นโจทก์ยังมิได้รับการแต่งตั้งในเป็นกรรมการลูกจ้าง ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในขณะที่ยังไม่ทราบว่าโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้าง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมิได้เป็นเพราะจำเลยไม่พอใจการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในฐานะที่เป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่พอใจเนื่องจากโจทก์ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในขณะจัดให้มีการประชุมเพื่อแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างนั้น ธ. ในฐานะประธานสหภาพแรงงาน อ. ก็ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยแต่งตั้งกรรมการเพื่อสอบสวนและโจทก์ถูกพักงานระหว่างสอบสวน แต่สหภาพแรงงาน อ. ก็ยังแต่งตั้งโจทก์กับ ย. เป็นกรรมการลูกจ้างทั้งที่ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าโจทก์กับ ย. จะถูกจำเลยเลิกจ้าง โดยการประชุมก็จัดขึ้นอย่างเร่งด่วนและมิได้จัดขึ้นอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เมื่อพฤติการณ์ทั้งหลายส่อให้เห็นถึงความไม่สุจริตในการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอย่างผิดทำนองคลองธรรมและขัดต่อวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ซึ่งโจทก์ก็อาศัยเหตุนี้มาเป็นมูลฟ้องร้องจำเลยอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นนี้ โจทก์จึงไม่อาจอาศัยเหตุแห่งการเป็นกรรมการลูกจ้างมาขอความคุ้มครองจากศาลแรงงานกลางเพื่อให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างกับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15187/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจล่วงหน้าและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเพิกถอนจำนอง
การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจล่วงหน้าไว้โดยมิได้มีการกรอกข้อความรายละเอียดลงไป แสดงว่าโจทก์รู้ดีและยอมรับอยู่แล้วว่าผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทจะสามารถนำหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์ลงลายมือชื่อไว้ไปกระทำการโอนขายต่อหรือจำนองหรือกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายหลังที่พ้นกำหนดข้อห้ามโอน 5 ปีนับแต่ออกเอกสาร น.ส.3 ก. แล้ว เมื่อจำเลยรับจำนองที่ดินโดยสุจริตจากผู้ที่ซื้อที่ดินพิพาทไปตามวิธีปฏิบัติดังกล่าว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ขอเพิกถอนนิติกรรมจำนองเพื่อให้โจทก์มิต้องชำระหนี้ ถือได้ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๕ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 376/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องขอคืนของกลางแล้วยื่นใหม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้คืนรถยนต์ของกลาง และยื่นบัญชีระบุพยานเป็นพยานบุคคลสามปาก โดยเป็นพยานนำสองปาก และเป็นพยานนำหรือหมายอีกหนึ่งปาก เมื่อถึงวันนัดไต่สวนคำร้อง ผู้ร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเพียงว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจช่วงผู้ร้องไม่สามารถมาศาลได้ เนื่องจากติดธุระ โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอคืนของกลางทันทีว่า เนื่องจากผู้ร้องไม่มีพยานมาศาล ผู้ร้องมีความประสงค์จะขอถอนคำร้องขอคืนของกลาง และจะนำคำร้องขอคืนของกลางมายื่นต่อศาลใหม่ภายในอายุความ พฤติการณ์ของผู้ร้อง จึงทำให้คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ให้เลื่อนคดีไม่เป็นผล และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อเอาเปรียบในเชิงคดี อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลชั้นต้นชอบที่จะยกคำร้องเสีย และเมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบให้เห็นว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกริบ มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด จึงไม่อาจสั่งคืนรถยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8402/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ฟ้องคดีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์อันไม่ชอบ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ผู้ซึ่งรับทำการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ที่ดินกระทำโดยทุจริตในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยไม่ชอบ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ตามกฎหมายได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบสี่ให้ร่วมกันรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วม และให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมทั้งสองศาลเป็นพับ แต่มิได้พิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่อุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งยี่สิบสี่ให้ร่วมกันรับผิดชำระค่าสินไหมทดแทนในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยร่วม และให้ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมทั้งสองศาลเป็นพับ แต่มิได้พิพากษาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่อุทธรณ์ เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8347-8401/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของโจทก์ที่รู้เห็นการออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับผิดเป็นการส่วนตัวในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์ฎีกาแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินกระทำการประมาทเลินเล่อ โดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 รับผิดเป็นการส่วนตัวในผลแห่งละเมิด กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำละเมิดหรือไม่
โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ซึ่งรับทำการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ให้โจทก์ สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 เจ้าหน้าที่ที่ดินกระทำโดยทุจริตในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท ซึ่งเมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบเก้า
โจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนรู้เห็นกับจำเลยที่ 5 ถึงที่ 7 ซึ่งรับทำการจัดซื้อที่ดินผืนใหญ่ให้โจทก์ สนับสนุนให้จำเลยที่ 3 เจ้าหน้าที่ที่ดินกระทำโดยทุจริตในการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แปลงพิพาท ซึ่งเมื่อโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ชอบ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ได้ ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่สิบเก้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตฟ้องคดีภาษีอากรจากกระทำการทุจริต การฟ้องคดีไม่มีอำนาจ
การที่โจทก์ถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่กลับมาฟ้องคดีโดยกล่าวอ้างข้อเท็จจริงจากการกระทำอันไม่สุจริตของตนว่า เงินฝากในบัญชีไม่ใช่เงินได้ของโจทก์ แต่เป็นเงินที่บริษัท ด. จ่ายเป็นค่าสินบนให้แก่พนักงานของรัฐ บริษัท ด. เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไม่สามารถถอนเงินจากบัญชีไปให้นักการเมืองได้โดยตรง จึงทำสัญญาจ้างบริษัท ย. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการเพื่ออำพรางการจ่ายเงินดังกล่าวและโจทก์ยอมนำเงินตามเช็คของบริษัท ย. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินที่บริษัท ด. จ่ายให้เข้าบัญชีเงินฝากของตนโดยได้รับค่าตอบแทน เพื่อให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการฟ้องเรียกเช็คพิพาท ผู้ทรงเช็คต้องสุจริตจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่กลับรับสมอ้างเป็นเจ้าหนี้เงินกู้ของ ป. และนำเช็คพิพาทจาก ก. ภริยาโจทก์ มาฟ้องจำเลยทั้งสอง การกระทำของโจทก์จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริต ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง