คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิในทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินหลังการเสียชีวิต: ทายาทมีสิทธิโอนทรัพย์สินที่ได้รับมรดกก่อนสัญญาประนีประนอมกับผู้อื่น
ทายาทของเจ้าของเรือนทำสัญญาขายฝากเรือนให้โจทก์. แล้วเปลี่ยนเป็นขายขาด. แล้วทำสัญญาประนีประนอมแบ่งเรือนให้จำเลยซึ่งได้ครอบครองเรือนอยู่. โจทก์ฟ้องทายาท. ศาลบังคับให้ทายาทโอนเรือนให้โจทก์ตามสัญญาเสร็จไปแล้ว.จำเลยจะขัดขวางขืนครอบครองเรือนอยู่ต่อไปไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2496

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึด: ผู้ขัดทรัพย์ไม่มีสิทธิรับคืนหลังศาลตัดสินว่าไม่ใช่ของตน
ผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของตน คดีถึงที่สุดศาลได้ชี้ขาดว่าทรัพย์ที่ยึดมิใช่เป็นของผู้ร้อง แต่เป็นของลูกหนี้ ดังนี้ ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในทรัพย์ที่ยึดนั้น ฉะนั้น ผู้ร้องจะร้องขอชำระเงินให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อขอให้ศาลส่งคืนทรัพย์ที่ยึดให้แก่ผู้ร้องขัดทรัพย์อีกนั้น ย่อมมิใช่เป็นการเสนอคดีต่อศาลตามความหมายของ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 55 ศาลย่อมไม่รับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของคนไทย: พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจขัดขวางการจดทะเบียนโดยไม่ชอบ
ไม่มีบทกฎหมายในที่ใดว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิที่ดินจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ตามอำเภอใจ พ.ร.บ.ว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2486 ซึ่งแก้ไข พ.ศ.2492 ก็ได้แต่เพียงบัญญัติให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้ม่ข้อควาามใดที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขาย หรือหน่วงเหนียวขัดขวางหารขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบายัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 26 ระบุไว้อีกว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน ฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย" ฉะนั้นการที่ราษฎรคนไทยขอให้นายอำเภอในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้ตน แต่นายอำเภออ้างว่าผู้ร้องมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จึงต้องทำการสอบสวน และส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินก่อนตามที่กระทรวงมหาดไทย วางระเบียบไว้ โดยที่ปรากฎอยู่ตามคำพิพากษาของศาลแล้วว่า ผู้นั้นเป็นคนสัญชาติไทย นั้น ย่อมเป็นข้ออ้างที่ปราศจากมูลที่จะหน่วงเหนียวขัดขวางการรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลย การกระทำนายอำเภอจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นการกระทำละเมิดและจะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำก็หาให้พ้นจากความรับผิดไม่ และระเบียบของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหากจะมีจริงก็มิใช่กฎหมาย และไม่มีกฎหมายอันใด ให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นจะใช้บังคับแก่ประชาชน จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินและการจดทะเบียนที่ดิน: พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจขัดขวางการจดทะเบียนโดยไม่ชอบ
ไม่มีบทกฎหมายในที่ใดว่า คนไทยจะถือกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนก่อน หรือว่าจะมีกฎหมายให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนให้หน่วงเหนี่ยวขัดขวางการรับจดทะเบียนไว้ได้ตามอำเภอใจพระราชบัญญัติว่าด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2486 ซึ่งแก้ไข พ.ศ.2492 ก็ได้แต่เพียงบัญญัติให้บุคคลตามตำแหน่งหน้าที่ระบุไว้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ขึ้นตามประมวลกฎหมายเท่านั้น หาได้มีข้อความใดที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอนุญาตการซื้อขาย หรือหน่วงเหนี่ยวขัดขวางการขอจดทะเบียนนิติกรรมของราษฎรไว้ได้ไม่ ตรงกันข้ามกลับมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 26 ระบุไว้อีกว่า "บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สินฯลฯ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย" ฉะนั้นการที่ราษฎรคนไทยขอให้นายอำเภอในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ดำเนินการเพื่อทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินให้ตน แต่นายอำเภออ้างว่าผู้ร้องมีบิดาเป็นคนต่างด้าว จึงต้องทำการสอบสวน และส่งเรื่องไปให้กรมที่ดินก่อนตามที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้ โดยที่ปรากฏอยู่ตามคำพิพากษาของศาลแล้วว่า ผู้นั้นเป็นคนสัญชาติไทย นั้น ย่อมเป็นข้ออ้างที่ปราศจากมูลที่จะหน่วงเหนี่ยวขัดขวางการรับจดทะเบียนนิติกรรมเสียเลยการกระทำของนายอำเภอจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายย่อมเป็นการกระทำละเมิด และจะอ้างว่า มีบุคคลอื่นใช้ให้ทำก็หาทำให้พ้นจากความรับผิดไม่ และระเบียบของกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวหากจะมีจริงก็มิใช่กฎหมาย และไม่มีกฎหมายอันใด ให้อำนาจให้ออกระเบียบเช่นนั้นได้ ฉะนั้นจะใช้บังคับแก่ประชาชน จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่เขานั้น ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกและการฟ้องแย้งสิทธิในทรัพย์สิน ศาลพิพากษาตามส่วนแบ่งที่ปรากฏ แม้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมิได้ร้องขอ
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินและเรือนจากจำเลยโดยอ้างว่ามารดายกให้โจทก์แต่ผู้เดียว แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่โจทก์และจำเลย ดังนี้ ศาลก็อาจพิพากษาให้โจทก์รับส่วนแบ่งไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ส่วนข้อที่ผู้มีส่วนควรได้มรดกอาจจะมีอยู่นั้นก็เป็นเรื่องของผู้นั้นจะต้องร้องขอเข้ามาเองหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622 เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้พระภิกษุเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมแต่ถ้าพระภิกษุถูกฟ้องเป็นจำเลยแล้วศาลก็พิพากษาให้พระภิกษุได้รับส่วนแบ่งมรดกด้วย ก็ไม่เป็นการขัดกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1622

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1302/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ภรรยาน้อยและการอ้างสิทธิในทรัพย์สินเดิมของภริยาหลวง
โจทก์ฟ้องอ้างว่ามารดาโจทก์มีสินเดิมและสินสมรสกับบิดาโจทก์ มารดาโจทก์ถึงแก่กรรม จึงตกทอดเป็นมรดกได้แก่โจทก์กับน้องและบิดาต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรมอีก จำเลยเป็นภรรยาน้อยบิดาโจทก์ ไม่มีสินเดิมได้นำสำเนาพินัยกรรมปลอมไปอ้างขอรับมรดกของบิดาโจทก์ โจทก์จึงขอให้ศาลทำลายพินัยกรรมปลอมนั้น ถ้าเป็นพินัยกรรมจริง บิดาโจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะเอาส่วนสินเดิมและสินสมรสของมารดกโจทก์ไปทำได้ จึงขอให้ศาลบังคับให้จำเลยเอาทรัพย์ตามบัญชีท้ายฟ้องขายทอดตลาดแบ่งกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าพินัยกรรมที่ได้เถียงเป็นพินัยกรรมจริงแล้ว และข้อที่โจทก์ว่าบิดาโจทก์เอาสินบริคณห์ระหว่างมารดาโจทก์กับบิดาโจทก์มาทำพินัยกรรมยกให้จำเลยเป็นการไม่ชอบนั้น ก็ได้ความว่าบิดาโจทก์แต่งงานอยู่กินกับจำเลยมาร่วม 20 ปีเศษ เกิดบุตรด้วยกันหลายคน ส่วนมารดาโจทก์อยู่เมืองจีน มิได้มาอยู่ร่วมด้วยเลย และโจทก์สิบไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ได้นำทรัพย์ของมารดาโจทก์มาเป็นทุน อันเป็นทางให้เกิดสมรสอย่างใด ไม่มีเหตุพอที่จะให้รับฟังได้ ว่าทรัพย์สิ่งใดบ้างเป็นส่วนของมารดาโจทก์ ฉะนั้นเมื่อบิดาโจทก์ได้ทำพินัยกรรมให้จำเลย ก็ไม่มีทางจะแบ่งให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับจำนอง: สิทธิในทรัพย์สินยังไม่หลุดจนกว่าจะผิดนัด
เจ้าหนี้ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ จำเลยทำยอมชำระหนี้โดยดี ในระหว่างนั้นผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองเอากับจำเลยบ้าง จำเลยทำยอมต่อศาลว่ายอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยให้ภายในกำหนด ถ้าไม่ชำระภายในกำหนดยอมให้ที่นา 2 แปลงที่จำนองไว้ หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนอง ดังนี้ตามสัญญาประนีประนอมดังกล่าวยังหามีผลให้นา 2 แปลงหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้รับจำนองทันทีไม่ หากแต่มีเงื่อนไขยอมให้หลุดเป็นสิทธิเมื่อไม่ใช้หนี้ภายในกำหนด ฉะนั้นถ้าเจ้าหนี้เงินกู้นำยึดนา 2 แปลงนี้ เพื่อขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ของตนก่อนกำหนดในสัญญาประนีประนอมยอมความ ระหว่างผู้รับจำนองและจำเลยแล้ว ผู้รับจำนองก็จะมาร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่นา 2 แปลงนั้นไม่ได้ เพราะขณะนำยึดนา 2 แปลงนั้นยังเป็นของจำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 57/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิในทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทน แม้จะลงทะเบียนสำมะโนครัวเป็นผู้อาศัย ก็ถือเป็นการเช่า
แบ่งเคหะให้บุคคลอื่นเช่าอยู่ในตอนหลัง ทำการค้าขายโดยเสียเงินให้เป็นรายเดือน ดังนี้ แม้จะลงทะเบียนสำมะโนครัวไว้ว่าเป็นการอาศัย ก็ต้องถือว่าเป็นการเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องห้ามบุคคลที่สาม แม้ไม่จดทะเบียนสมรส หากมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
โจทก์ฟ้องว่านาพิพาทเป็นของโจทก์ครอบครองมาจำเลยไปขอจดทะเบียนออกโฉนดว่าเป็นที่ของผู้อื่น ขอให้ห้ามจำเลยต่อสู้ว่าเป็นนาของภริยาจำเลยครอบครองมาไม่ใช่นาของโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฎว่าจำเลยกับภริยาสมรสกันโดยมิได้จดทะเบียนจำเลยก็อาจอ้างอำนาจของคนที่ 3 เป็นข้อต่อสู้ของโจทก์ได้ เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้สมข้อต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นเป็นของภริยาจำเลย ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะห้ามจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1278/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องห้ามปรามเมื่อจำเลยอ้างสิทธิในฐานะผู้รับโอนจากบุคคลอื่น แม้ไม่มีการจดทะเบียนสมรส
โจทก์ฟ้องว่า นาพิพาทเป็นของโจทก์ ครอบครองมาจำเลยไปขอจดทะเบียน ออกโฉนดว่าเป็นที่ของผู้อื่น ขอให้ห้าม จำเลยต่อสู้ว่าเป็นนาของภริยาจำเลยครอบครองมาไม่ใช่นาของโจทก์ ดังนี้แม้จะปรากฏว่าจำเลยกับภริยาสมรสกันโดยมิได้จดทะเบียน จำเลยก็อาจอ้างอำนาจของคนที่ 3 เป็นข้อต่อสู้ของโจทก์ได้เพราะถ้าข้อเท็จจริงฟังได้สมข้อต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของภริยาจำเลย ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจที่จะห้ามจำเลยได้
of 11