พบผลลัพธ์ทั้งหมด 460 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้ทางและการละเมิดสิทธิในที่ดิน การติดตั้งประตูและการใช้ทางส่วนบุคคล
จำเลยที่ 2 เป็นภริยาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 2 และที่ 3เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวเลขที่ 20, 22 และ 24 โดยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งด้านหน้าติดถนนซอยเจริญนคร 33 ส่วนด้านหลังติดถนนซอยเจริญนคร 35 ที่ดินโฉนดเลขที่ 2021 และโฉนดเลขที่ 2022 อยู่ติดต่อกันและเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ใช้ที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวทำเป็นถนนซอยเจริญนคร 35ที่พิพาท และทางทิศตะวันตกของที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวติดต่อกับที่ดินโฉนดเลขที่ 783ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 การที่จำเลยที่ 3 ผู้เจาะกำแพงซึ่งใช้เป็นผนังด้านหลังของตึกแถวเลขที่ 20 แล้วทำเป็นประตูพิพาทซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3แม้ประตูพิพาทเวลาปิดเปิดใช้วิธีเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่รุกล้ำออกไปในถนนซอยเจริญนคร 35 ของโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ไม่มีสิทธิใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ดังนั้นการผ่านประตูพิพาทเพื่อใช้ถนนพิพาทของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะเจ้าของตึกแถวเลขที่ 20 ใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 โดยใช้เดินออกจากบ้านเลขที่ 4ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 783 ไปยังตึกแถวเลขที่ 20 โดยผ่านทางประตูพิพาทนั้นเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงชอบที่จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวได้ จะเพียงแต่กล่าวอ้างมาในคำแก้ฎีกาว่าไม่เป็นการละเมิดหาได้ไม่
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรื้อประตูด้านหลังตึกแถวเลขที่ 20 ที่จำเลยทำขึ้นในตึกแถวของจำเลย แล้วให้ก่ออิฐฉาบปูนเป็นผนังทึบด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยเอง ซึ่งคำขอดังกล่าวเป็นคำขอประธานส่วนที่โจทก์มีคำขอเรียกค่าเสียหายมาด้วยนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ คดีของโจทก์จึงเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
ตึกแถวเลขที่ 20 และกำแพงด้านหลังเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 3 เอง และประตูพิพาทก็ใช้วิธีปิดเปิดโดยเปิดเข้าหาตัวบ้านซึ่งไม่มีการรุกล้ำออกไปดังนั้นจำเลยที่ 3 ชอบที่จะทำประตูพิพาทได้ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แต่ประการใด
ฎีกาโจทก์ที่ว่า การที่จำเลยที่ 3 ทำประตูด้านหลังตึกแถวก็เพื่อจงใจจะใช้ถนนซอยเจริญนคร 35 ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเดือดร้อนเกินสมควรแก่เหตุ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1337 จำเลยที่ 3 จึงไม่มีสิทธิทำประตูดังกล่าวนั้นเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องรวม 3 ข้อ คือข้อ (1) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรื้อประตูพิพาทออกและก่ออิฐเป็นผนังทึบ ข้อ (2)ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 3,000 บาท นับแต่วันที่ 1เมษายน 2533 จนกว่าจะรื้อและปิดประตูพิพาท และข้อ (3) ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 100,000 บาท แก่โจทก์ หากจำเลยทั้งสามไม่สามารถรื้อและปิดประตูพิพาทตามคำขอข้อ (1) ได้ ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยแล้วว่าไม่สามารถจะบังคับให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (1) ได้ เพราะตึกแถวและประตูพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เอง ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3ชอบที่จะทำได้ และศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้พิพากษาให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติตามคำขอข้อ (3) ของโจทก์ เพราะคำขอบังคับตามข้อ (2) และข้อ (3) เป็นคำขอต่อเนื่องกัน อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อดังกล่าวโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนสิทธิในที่ดินที่คลาดเคลื่อนเป็นเหตุให้สิทธิในทรัพย์สินลดลง ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์
การที่เจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนในการซื้อขายว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 ยังคงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่อีกโดยไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย เพราะทำให้กรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสองในโฉนดที่ดินดังกล่าวลดลงไปจากความเป็นจริงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ดำเนินการแก้ไขการจดทะเบียนนิติกรรมที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี ในเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดในการส่งมอบทรัพย์ที่ขาดตกบกพร่อง
โจทก์ฟ้องขอให้ดำเนินการแก้ไขการจดทะเบียนนิติกรรมที่คลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่ใช่อายุความ 1 ปี ในเรื่องฟ้องให้จำเลยรับผิดในการส่งมอบทรัพย์ที่ขาดตกบกพร่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของรวม การใช้สิทธิในที่ดินร่วม และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
ส. พี่สามีโจทก์และจำเลยเป็นผู้สร้างระเบียงพิพาทในขณะที่โฉนดที่ดินเลขที่74801ยังมิได้แบ่งแยกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่131180ของโจทก์และ131181ของจำเลยโดยส.มีความประสงค์จะใช้ระเบียงพิพาทชั้นบนเป็นที่นั่งเล่นและชั้นล่างเป็นที่จอดรถการสร้างระเบียงพิพาทมิใช่เจตนารมณ์ของสามีโจทก์ส่วนการสร้างประตูพิพาทแม้สามีโจทก์และจำเลยร่วมกันทำขึ้นแต่เมื่อที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่3481ส่วนของสามีโจทก์โอนมาเป็นของโจทก์และโจทก์เห็นว่าการมีประตูพิพาทก่อให้เกิดความเดือดร้อนและไม่สะดวกแก่โจทก์ในการใช้ที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่74801เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะโจทก์ย่อมขอให้รื้อถอนประตูพิพาทได้ไม่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยจะเป็นสิทธิใช้ที่ดินดังกล่าวในฐานะเป็นเจ้าของรวมโดยให้ระเบียงประตูพิพาทยังคงอยู่ต่อไปเพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่การใช้นั้นจะต้องไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวด้วยเมื่อระเบียงและประตูพิพาททำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนไม่สะดวกในการใช้ที่ดินเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะเมื่อโจทก์ประสงค์จะต่อเติมบ้านแต่ไม่สามารถขนวัสดุและอุปกรณ์ลอดใต้ระเบียงเข้าไปได้ทั้งยังเป็นอุปสรรคต่อการขายที่ดินและบ้านของโจทก์เพราะทำให้ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อการมีระเบียงและประตูพิพาทในที่ดินซึ่งโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมจึงเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งหาใช่เป็นการขัดต่อสิทธิของจำเลยไม่ ภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงหนึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินแปลงอื่นเท่านั้นเมื่อที่ดินที่จำเลยขอให้จดทะเบียนภารจำยอมเป็นที่ดินจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยการที่จำเลยใช้ที่ดินส่วนหนึ่งเป็นระเบียงและประตูพิพาทเพื่อประโยชน์ของจำเลยเป็นเรื่องจำเลยใช้ทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมแม้จะฟังว่าจำเลยใช้มานาน20ปีก็ไม่ก่อให้เกิดภารจำยอมเหนือที่ดินที่จำเลยเป็นเจ้าของรวม ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินต้องเป็นบุคคลอื่นหาใช่เจ้าของที่ดินไม่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินจึงไม่อาจเป็นผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินดังกล่าวได้นอกจากนี้สิทธิเหนือพื้นดินซึ่งเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์จะได้มาก็แต่โดยนิติกรรมเท่านั้นไม่อาจได้มาโดยอายุความและการได้มาโดยนิติกรรมนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคหนึ่งจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นไม่บริบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1362ที่บัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่งๆจำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่นๆตามส่วนของตนในการออกค่าจัดการค่าภาษีอากรและค่ารักษากับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วยนั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินที่เป็นของโจทก์และจำเลยคือที่ดินมิใช่ระเบียงพิพาทโจทก์จึงไม่ต้องช่วยจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนระเบียงพิพาท ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหายจำเลยอุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในส่วนนี้เพราะจำเลยไม่นำค่าขึ้นศาลในอนาคตมาชำระภายในกำหนดจำเลยไม่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งดังกล่าวดังนี้แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาตามฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับค่าเสียหายศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เพราะมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าโจทก์เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้กรรมสิทธิ์รวมโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมมิได้เห็นชอบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358วรรคท้ายและขัดต่อมาตรา1361กับที่อ้างว่าระเบียงและประตูพิพาทที่สร้างรุกล้ำที่ดินอันเป็นเจ้าของรวมควรปรับบทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1312โดยให้จำเลยเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแต่ต้องเสียเงินให้แก่โจทก์เป็นค่าใช้ที่ดินนั้นเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การและฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีเหตุโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผู้ฟ้องต้องมีสิทธิในที่ดิน
การที่จะสั่งเพิกถอน แก้ไข หรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส. กับพวกรวม 4 คนยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่า ค. กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะ ไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ค. กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน พิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ส. กับพวกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครอง ดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 81 ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่ 2867 ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิและผลกระทบต่อการฟ้องเพิกถอนใบจองเมื่อมีการโอนที่ดินไปแล้ว
จำเลยรับว่าใบจองตามที่ถูกโจทก์ฟ้อง จำเลยออกทับหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ ซึ่งจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) แล้ว และก่อนฟ้องจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้ว ส่วนโจทก์แถลงรับว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.2 ใบจองเดิมของจำเลยได้โอนขายให้ ก.ไปแล้วจริง ดังนี้ หากที่ดินพิพาทตามฟ้องโจทก์กับที่ดินตามใบจองของจำเลยเป็นคนละแปลงกัน จำเลยก็ไม่ได้ออกใบจองทับที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือได้รับความเสียหายใด ๆ จากการที่จำเลยออกใบจองและโจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยไปยื่นคำร้องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองตามใบจองได้ ที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยและเห็นว่าเมื่อจำเลยได้จดทะเบียนโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ดังกล่าวให้แก่ ก.ไปแล้ว ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังได้ตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม จำเลยก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจใด ๆ ที่จะไปยื่นเรื่องขอเพิกถอนสิทธิครอบครองใบจอง (น.ส.2) ตามคำขอท้ายฟ้องได้ และพิพากษายกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์: การบุกรุกครอบครองและสิทธิในที่ดิน แม้ยังไม่ขึ้นทะเบียน
ที่ดินแปลงใหญ่เนื้อที่ประมาณ900ไร่มีสภาพเป็นทำเลเลี้ยงสัตว์สงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกันของราษฎรหลายหมู่บ้านจึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)แม้จะยังไม่ขึ้นทะเบียนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ตามดังนี้จำเลยทั้งเจ็ดจะเข้าไปครอบครองมานานเท่าใดจำเลยทั้งเจ็ดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลมิอาจวินิจฉัยสิทธิในที่ดินอื่นนอกเหนือจากประเด็นพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอมจำเลยให้การว่ามิใช่ทางภารจำยอมจึงพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยการที่จำเลยนำชี้ในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงเป็นของตนและจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวเป็นของจำเลยร่วมก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีจำเลยและจำเลยร่วมต้องไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกรอบสีเขียวต่อไปการที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลภายนอกผู้มีสิทธิดีกว่าในการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน และคำพิพากษาขับไล่ที่ชอบด้วยกฎหมาย
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อ พ.เป็นเจ้าของร่วมกับฟ.มารดาจำเลย พ.เป็นมารดาของท.บิดาโจทก์พ.และท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อ พ. ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของ พ.และท.เมื่อพ. ถึงแก่ความตาย ป. บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนางฟ. แล้ว ป. ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจาก ส.แล้วโอนขายให้แก่ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่า พ.ยกที่ดินส่วนของพ. ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่ พ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้ โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของ พ. ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของ พ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง(2)เมื่อ พ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลย ดังนั้นที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่า พ. เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ. ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ พ. ให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้าน เมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกัน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของผู้จัดการมรดกในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินที่ถูกอ้างโดยการครอบครองปรปักษ์และการบังคับคดีขับไล่
เดิมที่ดินโฉนดพิพาทมีชื่อพ. เป็นเจ้าของร่วมกับฟ.มารดาจำเลยพ. เป็นมารดาของท. บิดาโจทก์พ. และท.ถึงแก่ความตายแต่โฉนดพิพาทยังมีชื่อพ. ถือกรรมสิทธิ์รวมอยู่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกของพ.และท. เมื่อพ. ถึงแก่ความตายป. บิดาจำเลยรับโอนมรดกที่ดินส่วนของนางฟ. แล้วป. ขายฝากที่ดินเฉพาะส่วนของตนจนหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของส. ต่อมาจำเลยซื้อที่ดินเฉพาะส่วนดังกล่าวคืนจากส.แล้วโอนขายให้แก่ศ. หลังจากนั้นจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างว่าพ. ยกที่ดินส่วนของพ. ให้จำเลยและจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยที่พ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนี้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทคนหนึ่งของพ. ซึ่งมิใช่คู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทส่วนของพ.โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคสอง(2)เมื่อพ. ไม่ได้ยกที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยดังนั้นที่ดินพิพาทจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ผูกพันโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่าพ. เจ้ามรดกไม่ได้ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้จำเลยพร้อมกับมีคำขอท้ายคำฟ้องขอให้พิพากษาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แสดงกรรมสิทธิ์ของจำเลยในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของพ. ไม่ผูกพันโจทก์จึงเท่ากับขอให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของพ. ให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนคำขอท้ายฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารพร้อมกับให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวโดยจำเลยไม่ได้คัดค้านเมื่อคำฟ้องเดิมและคำร้องขอเพิ่มเติมคำฟ้องภายหลังนั้นเกี่ยวข้องกันศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษาให้ขับไล่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินระหว่างคู่สัญญาประนีประนอมกับบุคคลภายนอกที่อายัดไว้ก่อน
คำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยยอมชำระเงินให้แก่โจทก์ หากไม่ชำระจำเลยยอมโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์นั้น ไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินว่าเป็นของโจทก์ เมื่อ ว.ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและได้ขออายัดที่ดินพิพาทไว้ก่อนที่โจทก์และจำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน สิทธิของโจทก์กับของ ว.ใครจะดีกว่ากันจึงยังไม่แน่นอน หากศาลมีคำสั่งตามคำขอของโจทก์ผลแห่งการบังคับคดีย่อมไปกระทบกระเทือนสิทธิของ ว.ซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วยอันเป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงขอบังคับคดีให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ยังไม่ได้