คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สินจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 101 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3058-3059/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากขาดทุนและการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้าง ความถูกต้องของเอกสาร และกำหนดจ่ายสินจ้าง
จำเลยประสบภาวะการขาดทุนจึงเลิกจ้างโจทก์กับพวกซึ่งมีหน้าที่เป็นยาม โดยมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งหรือเจาะจงเลิกจ้างเฉพาะโจทก์กับพวก แม้จำเลยจะมิได้ยุบเลิกกิจการยามเสียทั้งแผนก ก็จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหาได้ไม่
เมื่อจำเลยส่งสำเนาเอกสารต่อศาล โจทก์มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารเหล่านั้นประการใด ถือได้ว่าโจทก์ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้วศาลรับฟังเอกสารนั้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยจ่ายสินจ้างทุกวันสิ้นเดือน ซึ่งจำเลยก็ให้การดังโจทก์ฟ้อง การที่ศาลแรงงาน ฯ ฟังข้อเท็จจริงว่ากำหนดจ่ายสินจ้างทุกวันที่ 15 และทุกวันก่อนวันสิ้นเดือน จึงเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกประเด็น หาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างช่วงและผู้รับจ้างในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง
จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ทำสัญญาจ้างกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องเป็นผู้จัดหาลูกจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามที่จำเลยที่ 2 จะสั่งให้ปฏิบัติจำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 มิใช่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้นตามความ ในข้อ 7 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 7 ในอันที่จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่จำเลยที่ 1 จ้าง มาแต่ประการใด สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เพียงมีข้อความว่า ถ้าจำเลยที่ 2 เลิกจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อใดโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เลิกจ้างได้เงื่อนไขของสัญญานี้อาศัยเหตุการณ์ตามสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีไม่แน่นอนจึงจะถือว่าสัญญาจ้างโจทก์เป็นการจ้างมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนจำเลยที่ 1 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์เมื่อเลิกจ้างหาได้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าว่าบริษัทผู้รับจ้างรายใหม่ได้เข้ามาดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จะได้โอนพนักงานและกิจการให้บริษัทใหม่ดังนี้ เป็นการโอนการจ้าง มิใช่การเลิกจ้างจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าทำงานนอกเวลาและค่าวันหยุดพักผ่อน: สินจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 575 มีอายุความ 2 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนการทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทนแก่ลูกจ้างกรณีที่ลูกจ้างมิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าวจึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่
การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1525/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานวันหยุด/พักผ่อนเป็นสินจ้าง อายุความ 2 ปี ไม่ใช่ 10 ปี
ค่าทำงานในวันหยุดและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแม้จะไม่ใช่ค่าจ้างตามความหมายของคำว่า 'ค่าจ้าง' ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2เพราะไม่ใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานปกติของวันทำงาน หรือจ่ายให้ในวันหยุดซึ่ง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน การทำงานนอกเวลาปกติ และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายตอบแทน แก่ลูกจ้าง กรณีที่ลูกจ้าง มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิ เงินทั้งสองประเภทนี้ นายจ้างผูกพันต้องจ่ายแก่ลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นสินจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 อายุความแห่ง สิทธิเรียกร้อง เอาสินจ้างหรือเงินจ้างดังกล่าว จึงอยู่ภายใต้บังคับ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(9) ซึ่งมีกำหนด 2 ปี หาใช่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 ไม่ การที่จำเลยผิดนัดไม่จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์นั้นเป็น เพราะจำเลยเห็นว่าตนไม่มีหน้าที่ต้องจ่าย ถือไม่ได้ ว่าจำเลยจงใจผิดนัดในการจ่ายเงินให้แก่โจทก์โดยปราศจาก เหตุอันสมควร จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงิน เพิ่มร้อยละสิบห้า ของเงินที่ค้างชำระทุกระยะเจ็ดวันให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: วันเริ่มและสิ้นสุดตามกำหนดจ่ายค่าจ้าง
นายจ้างได้กำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งคือวันที่ 9 และวันที่ 24 ของทุก ๆ เดือน นายจ้างบอกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2525 การเลิกจ้างย่อมมีผลในวันที่ 24 มกราคม 2526 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างในคราวถัดไป นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2525 ซึ่งเป็นวันบอกกล่าว จึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าถึงวันที่ 23 มกราคม 2526

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะส่วนตัวมิใช่ค่าจ้าง: ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชย/สินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าพาหนะที่มิได้เหมาจ่ายเป็นจำนวนแน่นอน มิใช่ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2จึงไม่ต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1891/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าพาหนะที่ไม่ใช่ค่าจ้างเหมาจ่าย ไม่ต้องนำมารวมคำนวณค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าพาหนะที่มิได้เหมาจ่ายเป็นจำนวนแน่นอน มิใช่ค่าจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 2 จึงไม่ต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณเป็นค่าชดเชยหรือ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างแรงงาน: จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแม้ไม่มีงานทำ เหตุเพลิงไหม้ไม่ใช่เหตุขัดขวางการชำระหนี้
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยโจทก์ต้องทำงานให้แก่จำเลยและจำเลยต้องชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ แม้จำเลยอาจไม่มอบงานหรือสั่งให้โจทก์ทำงาน จำเลยก็ต้องจ่ายสินจ้างให้ตลอดเวลาที่จ้างกันจนกว่าจะมีการเลิกสัญญาจ้าง การที่จำเลยหยุดกิจการเพื่อซ่อมแซมโรงงานที่ถูกเพลิงไหม้มิได้เป็นเหตุขัดขวางอย่างใดที่จะทำให้ถึงแก่จำเลยจ่ายสินจ้างไม่ได้ เพราะยังไม่พ้นวิสัยที่จำเลยจะชำระหนี้จ่ายสินจ้างให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106-1107/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นสิทธิของลูกจ้าง ไม่ใช่สินสมรส สามีไม่จำเป็นต้องยินยอม
สิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิทั้งสองประเภทจึงเป็นสิทธิของลูกจ้าง สิทธิดังกล่าวมิใช่สินสมรส ฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเพื่อจัดการสินสมรสหรือฟ้องเกี่ยวแก่สินสมรส โจทก์มีอำนาจฟ้องตามลำพังตน ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106-1107/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นสิทธิส่วนบุคคลของลูกจ้าง ไม่ใช่สินสมรส สามีไม่จำเป็นต้องยินยอม
สิทธิเรียกร้องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิทั้งสองประเภทจึงเป็นสิทธิของลูกจ้างสิทธิดังกล่าวมิใช่สินสมรสฟ้องของโจทก์จึงมิใช่ฟ้องเพื่อจัดการสินสมรสหรือฟ้องเกี่ยวแก่สินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องตามลำพังตน ไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากสามี
of 11