พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีของสามีในทรัพย์สินของภริยา: สินบริคณห์และการมอบอำนาจ
ทรัพย์สินของภริยาซึ่งไม่ปรากฏว่าเป็นสินส่วนตัว ย่อมสันนิษฐานว่าเป็นสินบริคณห์สามีจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมอยู่ด้วย สามีมีสิทธิฟ้องคดีกล่าวหาว่าผู้อื่นทำให้ทรัพย์สินนั้นๆ เสียหายได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ และมอบอำนาจให้ภริยาโจทก์ฟ้องคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้เคยขอเฉลี่ยทรัพย์แล้ว ไม่ตัดสิทธิในการขอแบ่งสินบริคณห์เพิ่มเติม
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสิบริคณห์ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือการขอให้ได้รับชำระหนี้ โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือการขอให้ได้รับชำระหนี้ โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 924/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอแบ่งสินบริคณห์ แม้ได้มีการเฉลี่ยทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ยังคงมีสิทธิขอแบ่งสินบริคณห์เพื่อชำระหนี้ได้
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า ทรัพย์ที่ยึดเป็นสินบริคณห์ขอให้แยกสินบริคณห์ซึ่งถูกศาลยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแยกเป็นส่วนของสามี ดังนี้ ไม่ใช่เป็นการร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หากแต่เป็นการขอแบ่งแยกสินบริคณห์ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2503)
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
การขอเฉลี่ยทรัพย์ คือ การขอให้ได้รับชำระหนี้โดยส่วนเฉลี่ยกับเจ้าหนี้ผู้ทำการยึดทรัพย์จากทรัพย์ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ยึดไว้ ส่วนการขอแบ่งแยกสินบริคณห์คือ การขอเอาส่วนอันเป็นส่วนของลูกหนี้ผู้ร้องออกมา
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยและได้เฉลี่ยแล้ว แม้เจ้าหนี้นั้นจะไม่ได้กล่าวไว้ในชั้นขอเฉลี่ยว่า เป็นสินบริคณห์ ก็มิได้ทำให้สิทธิของเจ้าหนี้ในการที่จะขอแบ่งสินบริคณห์มาชำระหนี้หายไป เจ้าหนี้ย่อมที่จะยื่นคำร้องขอแบ่งสินบริคณห์ของลูกหนี้ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความยินยอมสามีขายสินบริคณห์: ไม่ต้องทำหนังสือหากได้รับเงินค่าขายแล้ว
การที่ภริยาทำสัญญาจะขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินบริคณห์ให้โจทก์ โดยภริยาได้รับเงินราคาที่ดินบางส่วนแล้ว และโดยสามีรู้เห็นยินยอมแล้วนั้น เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรค 2 ซึ่งไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือก็ใช้ได้ ฉะนั้น ความยินยอมของสามีจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 1476 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับภริยาโอนขายที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1360/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสินบริคณห์โดยความยินยอมของสามี: สัญญาไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
การที่ภริยาทำสัญญาจะขายที่ดินมีโฉนดอันเป็นสินบริคณห์ให้โจทก์โดยภริยาได้รับเงินราคาที่ดินบางส่วนแล้วและโดยสามีรู้เห็นยินยอมแล้วนั้น เป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งไม่ต้องทำสัญญาเป็นหนังสือก็ใช้ได้ ฉะนั้นความยินยอมของสามีจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือตามมาตรา 1476 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับภริยาโอนขายที่ดินให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างนิติกรรมโมฆียะเฉพาะสามีเมื่อภรรยามีส่วนร่วมในสินบริคณห์
กฎหมายไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีไม่ให้ทำนิติกรรม, เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมเป็นโมฆียะก็เฉพาะที่จะผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีมีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วย ป.พ.พ.มาตรา 137 วรรค 2 จึงบัญญัติให้สามีมีสิทธิบอกล้างได้ และเป็นสิทธิเฉพาะสามีที่จะบอกล้างคนเดียวเท่านั้น เพราะหญิงมีสามีไม่ใช่ผู้ไร้ความสามารถดังที่บัญญัติไว้ใน ม.137 วรรคต้น ตัวหญิงเองจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมในนิติกรรมเกี่ยวกับสินบริคณห์: สามีมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว
กฎหมายไม่ได้ห้ามหญิงมีสามีไม่ให้ทำนิติกรรมเหตุที่กฎหมายบัญญัติให้นิติกรรมเป็นโมฆียะก็เฉพาะที่จะผูกพันสินบริคณห์ ซึ่งสามีมีส่วนได้เสียร่วมอยู่ด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 วรรคสอง จึงบัญญัติให้สามีมีสิทธิบอกล้างได้และเป็นสิทธิเฉพาะสามีที่จะบอกล้างคนเดียวเท่านั้น เพราะหญิงมีสามีไม่ใช่ผู้ไร้ความสามารถดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 137 วรรคต้น ตัวหญิงเองจึงไม่มีสิทธิบอกล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ส่วนตัวจากการกู้เงินของภริยา: ไม่ผูกพันสินบริคณห์
หญิงมีสามีกู้เงิน ย่อมผูกพันหญิงเป็นส่วนตัว ไม่ใช่ผูกพันสินบริคณห์โดยเฉพาะ เมื่อหญิงถูกฟ้อง หญิงจะยกข้อต่อสู้ว่าสามีบอกล้างแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1394/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์ โมฆียะ การครอบครองทำประโยชน์ และความรับผิดทางละเมิด
ภริยาโจทก์นำที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ระหว่างโจทก์กับภริยาไปแลกเปลี่ยนกับที่นาของจำเลย นิติกรรมแลกเปลี่ยนนี้เป็นแต่เพียงโมฆียะ ซึ่งถ้าโจทก์ผู้เป็นสามีไม่บอกล้าง นิติกรรมนี้ย่อมสมบูรณ์ตามกฏหมาย การที่จำเลยเข้าครอบครองทำนาพิพาทย่อมไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือภริยาโจทก์แต่ประการใด จนกว่าโจทก์จะบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวและศาลชี้ขาดว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมแล้ว
ม. 420 บัญญัติถึงว่า ผู้ละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแต่เมื่อฟังว่าจำเลยมิได้ละเมิดต่อโจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์
ม. 420 บัญญัติถึงว่า ผู้ละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นแต่เมื่อฟังว่าจำเลยมิได้ละเมิดต่อโจทก์ จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อโจทก์