พบผลลัพธ์ทั้งหมด 323 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า แม้จะมีการโอนขายหรือถูกยึด
จำเลยปลูกบ้านพิพาทในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ แม้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าจำเลยขายบ้านพิพาทให้ส.โดยมีข้อตกลงให้ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยชอบธรรม ไม่เข้าข่ายความผิดมาตรา 157 แม้มีข้อพิพาทเรื่องที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แม้โจทก์จะเคยยื่นฎีาและคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไป เพื่อรอเสนอคำรับรองให้ฎีกาของอัยการสูงสุดในกระทงความผิดที่ต้องห้ามฎีกามาก่อน และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ส่งฎีกาของโจทก์ไปให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนี้อนุญาตให้ฎีกาอีกทางหนึ่งได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเทศมนตรี และจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นปลัดเทศบาล ได้ร่วมกันประชุมคณะเทศมนตรีแล้ว มีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บรายได้ของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเทศบาล แม้แผนที่นี้จะมีการแสดงเส้นประว่าที่ดินบางส่วนของโจทก์พังลงน้ำไปแล้ว หรือไม่ถูกต้องตรงกับรูปแผนที่ระวางในโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ และไม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ลงมิติดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนของราษฎรที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้น มีความเห็นว่าอาคารของโจทก์ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และที่ดินที่ทำการก่อสร้างอาคารมปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพราะโจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในลำน้ำเจ้าพระยา จนจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 มีมติแก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 ไปแล้ว การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกคำสั่งห้ามโจทก์ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร และออกคำสั่งยกเลิกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้วให้โจทก์เสียหาย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คณะทำงานที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้นทำรายงานว่าที่ดินที่จำเลยที่ 6 อนุญาตให้โจทก์สร้างรั้วคอนกรีตนั้น โจทก์ถมดินเลยตลิ่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกรณีที่จำเลยที่ 6 ไม่มีอำนาจอนุญาตให้สร้างรั้วดังกล่าวได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อน การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งรื้อรั้วคอนกรีตตามรายงานของคณะทำงานจึงเป็นผลต่อเนื่องจากมติที่ประชุมของคณะเทศมนตรีของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นมติที่มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
เดิม ม.ซึ่งเป็นมารดาของ ป. เป็นผู้ยื่นคำขอให้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ในที่ดินของ ป. ต่อมา ม.ถึงแก่กรรมแล้ว ป. และโจทก์ซึ่งซื้อที่ดินจาก ป. ในเวลาต่อมาได้ใช้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ต่อไปโดยปริยายต่อมาโจทก์เปลี่ยนท่อน้ำประปาเข้าที่ดินของโจทก์จากเดิมขนาด 6 หุน ให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 2 นิ้ว และเปลี่ยนที่ตั้งมาตรวัดน้ำนั้นได้กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตุดการจ่ายน้ำประปาให้โจทก์ตามข้อบังคับ จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรี จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นเทศมนตรี และจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นปลัดเทศบาล ได้ร่วมกันประชุมคณะเทศมนตรีแล้ว มีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อนำไปใช้ในการจัดเก็บรายได้ของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเทศบาล แม้แผนที่นี้จะมีการแสดงเส้นประว่าที่ดินบางส่วนของโจทก์พังลงน้ำไปแล้ว หรือไม่ถูกต้องตรงกับรูปแผนที่ระวางในโฉนดที่ดินของโจทก์ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินของโจทก์ และไม่ทำให้โจทก์ต้องเสียภาษีที่ดินเพิ่มขึ้น โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ลงมิติดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีมติให้แก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คณะทำงานเพื่อดำเนินการพิจารณาข้อร้องเรียนของราษฎรที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้น มีความเห็นว่าอาคารของโจทก์ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และที่ดินที่ทำการก่อสร้างอาคารมปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน เพราะโจทก์ถมดินเลยตลิ่งลงไปในลำน้ำเจ้าพระยา จนจำเลยที่ 1 ถึงจำเลยที่ 5 มีมติแก้ไขแผนที่ภาษีและทะเบียนทรัพย์สินของจำเลยที่ 6 ไปแล้ว การที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ออกคำสั่งห้ามโจทก์ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร และออกคำสั่งยกเลิกใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคาร จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานใช้ดุลพินิจตามอำนาจหน้าที่โดยชอบ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้วให้โจทก์เสียหาย อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คณะทำงานที่จำเลยที่ 1 แต่งตั้งขึ้นทำรายงานว่าที่ดินที่จำเลยที่ 6 อนุญาตให้โจทก์สร้างรั้วคอนกรีตนั้น โจทก์ถมดินเลยตลิ่นลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นกรณีที่จำเลยที่ 6 ไม่มีอำนาจอนุญาตให้สร้างรั้วดังกล่าวได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อน การที่จำเลยที่ 2 มีคำสั่งรื้อรั้วคอนกรีตตามรายงานของคณะทำงานจึงเป็นผลต่อเนื่องจากมติที่ประชุมของคณะเทศมนตรีของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นมติที่มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย จำเลยทั้งหกจึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
เดิม ม.ซึ่งเป็นมารดาของ ป. เป็นผู้ยื่นคำขอให้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ในที่ดินของ ป. ต่อมา ม.ถึงแก่กรรมแล้ว ป. และโจทก์ซึ่งซื้อที่ดินจาก ป. ในเวลาต่อมาได้ใช้น้ำประปาของจำเลยที่ 6 ต่อไปโดยปริยายต่อมาโจทก์เปลี่ยนท่อน้ำประปาเข้าที่ดินของโจทก์จากเดิมขนาด 6 หุน ให้ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด 2 นิ้ว และเปลี่ยนที่ตั้งมาตรวัดน้ำนั้นได้กระทำไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 6 ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งตุดการจ่ายน้ำประปาให้โจทก์ตามข้อบังคับ จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5441/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ตามสัญญาหรือไม่ มีผลต่อการตัดสินคดี
คู่ความตกลงท้ากันว่า บ้านพิพาทเป็นบ้านเลขที่ 86/1 ตามฟ้องหรือไม่ หากคดีรับฟังได้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามฟ้อง หากคดีรับฟังไม่ได้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดี เมื่อตามคำฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยขายฝากบ้านเลขที่ 86/1 จำนวน 2 หลัง หลังหนึ่งอยู่ในโฉนดอีกหลังหนึ่งที่พิพาทอยู่ในที่งอกชายตลิ่ง ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามคำท้าของคู่ความนั้น จึงขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าจำเลยขายฝากบ้านพิพาทซึ่งไม่มีเลขบ้านให้โจทก์ด้วยหรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าบ้านพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 86/1แล้วพิพากษาให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทจึงไม่ตรงตามคำท้าเป็นการมิชอบ เมื่อตามหนังสือสัญญาขายฝากระบุว่าจำเลยได้ขายฝากที่ดินโฉนดเลขที่ 40238 และขายพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินมีบ้านเลขที่ 86/1 ซึ่งแสดงชัดเจนว่าขายฝากที่ดินและบ้านเลขที่86/1 ซึ่งปลูกสร้างในที่ดินที่ขายฝากเท่านั้น ฉะนั้นบ้านหลังอื่นที่มิได้ปลูกอยู่ในที่ดินที่ขายฝากจำเลยมิได้ขายฝากให้ด้วย คดีจึงรับฟังไม่ได้ว่าบ้านพิพาทเป็นบ้านเลขที่ 86/1 ตามฟ้อง โจทก์จึงต้องแพ้คดีตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินและสร้างบ้านยกเลิก ผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย กับโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวต่อไปตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายที่ดิน เมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงยกเลิกสัญญาการสร้างบ้าน และบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 391วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยจำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองต่อไป และโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทอันเป็นการงานที่จำเลยได้กระทำไปให้แก่จำเลย
จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกสัญญา สร้างบ้าน-ซื้อขายที่ดิน จำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ชดใช้ค่าปลูกสร้าง
จำเลยปลูกสร้างตึกแถวพิพาทในที่ดินโจทก์ทั้งสอง โดยอาศัยข้อสัญญาระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย กับโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างตึกแถวต่อไปตามบันทึกข้อตกลงการซื้อขายที่ดินเมื่อโจทก์ทั้งสองกับจำเลยตกลงยกเลิกสัญญาการสร้างบ้านและบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสาม มาใช้บังคับ โดยจำเลยต้องคืนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ให้แก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยไม่มีสิทธิครอบครองต่อไป และโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทอันเป็นการงานที่จำเลยได้กระทำไปให้แก่จำเลย จำเลยไม่ได้ฟ้องแย้งขอให้โจทก์ทั้งสองชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์ทั้งสองต้องชดใช้ค่าปลูกสร้างตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงินเท่าใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2920/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินจัดสรรในการใช้ทางเข้าออก และการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำ
จำเลยจัดสรรที่ดินแบ่งออกเป็นแปลงย่อยเพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลทั่วไป ต่อมาโจทก์ได้ซื้อตึกแถวสองชั้นพร้อมที่ดินจัดสรร3 แปลง ต่อจากผู้อื่นอีกทอดหนึ่ง ที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือตะวันตกและตะวันออกจดที่ดินจัดสรรแปลงอื่น ส่วนทิศใต้หน้าที่ดินของโจทก์เป็นทางกว้าง 8 เมตร ซึ่งสามารถเชื่อมไปสู่ทางสาธารณะด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของที่ดินจัดสรรได้ ต่อมาจำเลยและจำเลยร่วมได้ดัดแปลงที่ดินจัดสรรที่ติดกับที่ดินของโจทก์ทางด้านทิศตะวันออกเป็นสระว่ายน้ำ และสวนสนุก เพราะไม่มีผู้ซื้อทั้งยังได้ก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลย จนปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์ด้วย ดังนี้เฉพาะคดีในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตตลอดแนวที่ดินดังกล่าวในเขตพื้นที่ดินของจำเลยนั้น เมื่อโจทก์เบิกความเพียงว่าทำให้ตึกแถวของโจทก์อยู่ในมุมทึบมองเห็นไม่ชัดเท่านั้น แสดงว่าการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตหน้าที่ดินแปลงดังกล่าวมิได้ปิดบังหน้าที่ดินของโจทก์ หรือเป็นเหตุให้บังแสงสว่างและทางลม หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคาดคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติอันจะถือว่า โจทก์เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337โจทก์คงมีสิทธิขอให้จำเลยและจำเลยร่วมรื้อถอนได้เฉพาะในส่วนของการก่อสร้างกำแพงคอนกรีตที่ปิดกั้นหน้าที่ดินของโจทก์เท่านั้นซึ่งกรณีนี้มิใช่เรื่องที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349อันโจทก์จะต้องใช้ค่าทดแทนเพื่อผ่านทางให้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำนาญระหว่างสมรสเป็นสินสมรส ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อด้วยเงินบำนาญจึงเป็นสินสมรส
เงินบำนาญเป็นเงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ข้าราชการผู้ที่พ้นจากราชการแล้วตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นมีคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นการได้เงินมาในระหว่างสมรสย่อมถือว่าเงินบำนาญนั้นเป็นสินสมรส การที่จำเลยที่ 1 นำเงินบำนาญมาซื้อที่ดิน และต่อมาได้ปลูกสร้างบ้านซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินในระหว่างสมรสเช่นนี้ที่ดินและบ้านจึงเป็นสินสมรสตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1474(1)ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หาใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่าหลังสัญญาหมดอายุ และผลของการเจรจาทำสัญญาใหม่ที่ไม่เป็นผล
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลย-ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามป.พ.พ. มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146) กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 และมาตรา 1311
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่า ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กัน โจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญาพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกัน สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง
จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169 /1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า: สิทธิของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
โจทก์ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดลงในที่ดินที่เช่าจากจำเลยที่ 3 ก่อนที่สัญญาเช่าจะสิ้นสุดลง 3 เดือน เป็นการก่อสร้างภายในกำหนดสัญญาเช่า โจทก์มีอำนาจทำได้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ต่อจากจำเลยที่ 3 ไม่ต่อสัญญาให้โจทก์ โจทก์ต้องรื้อถอนอาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปภายในกำหนด 2 เดือน ตามสัญญาเช่าข้อ 5 ดังนั้นอาคารพาณิชย์และตลาดสดจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 เดิม (มาตรา 146)กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องบุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตหรือไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 และมาตรา 1311 หลังจากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงโจทก์ขอต่ออายุสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เจรจาเพื่อทำสัญญาเช่าใหม่กันโจทก์ได้ก่อสร้างอาคารพาณิชย์และตลาดสดต่อมาจนเสร็จโดยฝ่ายจำเลยไม่ได้ทักท้วง กลับยอมให้โจทก์ทำสัญญาให้จำเลยที่ 11 ถึงที่ 17เช่าอาคารพาณิชย์และรับค่าเช่าจากผู้เช่าแผงในตลาดสด ทั้งยังรับค่าเช่าจากโจทก์ตลอดมาจนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2527 จึงบอกเลิกสัญญา พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปเป็นการชั่วคราวในระหว่างเจรจาทำสัญญาเช่าใหม่ในลักษณะเช่นเดียวกับการเช่าบรรดาผลประโยชน์ต่าง ๆที่โจทก์ได้รับจากผู้เช่าอาคารพาณิชย์และผู้เช่าแผงในตลาดสดก่อนที่จะมีการบอกเลิกสัญญาย่อมเป็นสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดแล้วโจทก์และฝ่ายจำเลยได้เจรจากันหลายครั้งแต่ไม่อาจลงนามในสัญญากันได้ เนื่องจากมีปัญหาข้อขัดข้องหลายประการ จึงฟังได้โดยชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งหมายที่จะทำสัญญาเป็นหนังสือแต่ยังมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือต่อกันสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาที่โจทก์อ้างจึงยังไม่เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสองโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จดทะเบียนให้โจทก์เช่าที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาต่อโจทก์แล้ว โจทก์ต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างคืออาคารพาณิชย์และตลาดสดออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1โดยไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนใด ๆ ทั้งสิ้น การที่โจทก์มิได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปภายในเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาถือได้ว่าโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยละเมิดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 8ทั้งไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 11 ถึงที่ 17 จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 กล่าวอ้างว่า อาคารพาณิชย์เลขที่169/1-8 และตลาดสดเลขที่ 169 ซึ่งปลูกสร้างบนที่ดินของจำเลยที่ 1 เป็นของจำเลยและฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวโดยได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินเป็นของจำเลยที่ 1 แต่สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นของโจทก์ ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรพิพากษาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไปจากที่ดินของจำเลยที่ 1 เสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายจากการบุกรุก
โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ บ้านและที่ดินปลูกบ้าน จำเลยอาศัยในบ้านดังกล่าวและไม่ยอมออกขอบังคับให้จำเลยออกจากบ้านพิพาท เป็นการสมบูรณ์ทั้งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ เพราะเมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์ไม่ว่าส่วนไหนโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีแผนที่พิพาทประกอบอีกว่าบ้านอยู่ส่วนไหนของที่ดิน เนื่องจากแผนที่พิพาทเป็นรายละเอียดที่จะทำหรือนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยฎีกาว่า แม้การยกให้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 30 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ป. เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 94123 เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสองเดิมดังนั้นเมื่อ ป. โอนที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ส.โดยไม่ปรากฏมีเงื่อนไขว่าโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านดังกล่าวก็ต้องถือว่าได้โอนบ้านนั้นด้วย โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าการโอนนั้นให้รวมถึงบ้านด้วยแต่อย่างใด ส. จึงมีสิทธิขายฝากบ้านดังกล่าวนั้นให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวด้วย ส่วนบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ปลูกอยู่ในที่ดินของ ป.บางส่วนอีกทั้งฝ่ายจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบเลยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของ ป. และใช้สิทธินั้นปลูกบ้านทั้งสองหลังในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 เดิม นอกจากนี้ยังได้ความว่าบ้านทั้งสองหลังได้ต่อเติมอย่างถาวรจากบ้านเลขที่ 1 จึงเป็นส่วนควบกับบ้านและที่ดินของ ป. ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เมื่อ ป.ยกที่ดินให้ ส.ส. จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสองเดิมส. จึงมีสิทธิขายฝากบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ให้ไว้แก่โจทก์ได้และโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้าน 2 หลังนี้เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 1 ในชั้นอุทธรณ์ ฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 8 ถึงที่ 17 อยู่ในบ้านของตนเองโจทก์จึงไม่เสียหายเท่านั้น หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาท ต่อหลังสูงเกินไปและไม่ชอบเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ลดลงเหลือหลังละ 500 บาทต่อเดือนจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และให้บังคับเรื่องค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น