พบผลลัพธ์ทั้งหมด 207 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อไม่มีการเบิก/นำเงินเข้า และดอกเบี้ยทบต้นมีข้อจำกัดตามสัญญาและอายุความ
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลา ไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง
ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกา แต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกา แต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปี ดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด/ไม่ต่ออายุ สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัด
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกาแต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปีดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง 5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3658/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดเริ่มนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา หากเลย 10 ปี ฟ้องไม่ได้
หลังจากวันที่ 25 มิถุนายน 2526 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่ต่อออกไปแล้ว ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงิน เข้าบัญชีและโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีได้อีก ตาม บัญชีกระแสรายวันคงมีแต่การคำนวณดอกเบี้ยรายเดือนต่อมา แสดงว่ามิได้มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกเลย ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง นับแต่วันที่ตกลงกำหนดไว้ในสัญญาตามที่โจทก์กับจำเลยได้แสดงเจตนากันไว้เช่นนั้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและคำขอต่ออายุสัญญา หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้เสียก่อนไม่เพราะได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว อายุความคดีนี้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2516 อันเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิ เรียกร้องเป็นต้นไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีในวันที่ 21 เมษายน 2529 ซึ่ง เกินกว่า 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ เมื่อหนี้ต้นเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็น หนี้ ประธาน ขาดอายุความเสียแล้ว ดอกเบี้ยอันเป็นหนี้อุปกรณ์ย่อม ขาดอายุความ ไป ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินและลานจอดรถยนต์: การสิ้นสุดสัญญาและการคิดดอกเบี้ย
สัญญาเช่าที่ดินที่กำหนดให้ผู้เช่าสร้างลานจอดรถยนต์ แล้ว มอบ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่านั้น เป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่ง กว่า การ เช่าธรรมดา แม้ที่ดินตามสัญญาเช่าดังกล่าวจะเป็นที่ดิน ส่วนหนึ่ง ของ สัญญาเช่าอีกฉบับหนึ่งซึ่งระบุให้ผู้เช่ามีหน้าที่ต้อง สร้างอาคารพาณิชย์แล้ว จดทะเบียนยกกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าอาคารพาณิชย์มีกำหนด 25 ปี นับแต่ วันก่อสร้างเสร็จก็ตาม ก็ไม่เกี่ยว กับการเช่าที่ดินเพื่อทำลานจอดรถยนต์ จำเลยจะมีสิทธิเช่าที่ดินอันเป็นลานจอด รถยนต์ ได้ นานเพียงใดต้องดูระยะเวลาแห่งการเช่านั้นเป็นเกณฑ์ ท้ายหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ที่มีมาถึงจำเลยมีข้อความว่า ถ้าจำเลยประสงค์จะเช่าต่อให้ติดต่อแผนกที่ดินและโรงเรือนของโจทก์ เป็นเพียงคำแนะนำของโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่คำเสนอให้เช่า ของโจทก์ แม้จำเลยจะได้สนองตอบรับการเช่าก็ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยได้ต่อสัญญาเช่ากันอีก ปัญหาเรื่องอายุความในทางแพ่งเป็นข้อที่ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เงินที่จำเลยนำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์เป็นค่าเช่ารายเดือน มิใช่วางเป็นค่าเสียหาย โจทก์ไปขอรับเงินเป็นค่าเสียหาย แต่พนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานวางทรัพย์ไม่ยอมจ่ายให้ โจทก์จึง มีสิทธิ เรียกดอกเบี้ยจากจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2428/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ผลของการสิ้นสุดสัญญาและการหักเงินจากบัญชีประกัน
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นข้อตกลงของคู่สัญญาที่จะให้มีสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของลูกหนี้ในธนาคารขึ้นอีกชั้นหนึ่ง เมื่อมีการปฏิบัติตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว การชำระหนี้ย่อมจะต้องปฏิบัติตามวิธีการของสัญญาบัญชีเดินสะพัดคือให้กระทำเมื่อมีการหักทอนบัญชีกัน และเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือแล้วนั้น ฉะนั้นเมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากคู่สัญญายังคงให้บัญชีเดินสะพัดเดินอยู่ต่อไปก็เห็นได้ว่าคู่สัญญายังไม่ถือว่ามีการผิดนัดจนกว่าจะได้มีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระเงินคงเหลือนั้นแล้ว แต่ถ้าหากบัญชีเดินสะพัดไม่เดินต่อไป แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญา
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
หลังจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก แสดงว่าคู่สัญญาให้ถือว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในสัญญาแล้ว
เงินฝากประจำที่จำเลยและ ช.นำมาเป็นประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลย มีข้อตกลงกับโจทก์ว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์หักเงินในบัญชีเงินฝากประจำดังกล่าวชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เช่นนี้ เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงแล้ว จำเลยไม่ชำระหนี้ย่อมเป็นการผิดนัดผิดสัญญา โจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยและ ช.ชำระหนี้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2427/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ดอกเบี้ยทบต้น, การหักชำระหนี้จากเงินฝาก, เจตนาใช้สิทธิ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกครบกำหนดแล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงต่ออายุสัญญาออกไปอีก 1 ปี หลังจากครบกำหนดที่ต่ออายุสัญญาคงมีแต่การคิดดอกเบี้ยทบต้นเข้ากับต้นเงินเป็นประจำเดือนตลอดมา ไม่ปรากฏว่ามีการเดินสะพัดในบัญชีอันจะแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก และจำเลยผิดนัดไม่นำเงินส่วนที่เหลือหลังจากหักทอนบัญชีแล้วมาชำระ ทั้งโจทก์เพิกเฉยไม่นำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชีเดินสะพัดของจำเลยเสียเมื่อครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่จำเลยได้ตกลงยินยอมไว้ตั้งแต่ตอนแรกที่ทำสัญญาคงปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาจนเกือบ 2 ปี โจทก์จึงนำเงินฝากประจำของจำเลยเข้าหักทอนบัญชี พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดต่ออายุสัญญาตามที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าว นับแต่นั้นเป็นต้นไปโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีก คงคิดได้อย่างไม่ทบต้นเท่านั้น ทั้งโจทก์ชอบที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงโดยหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในวันที่สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงและเป็นวันที่จำเลยผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ เมื่อได้ความว่าในวันที่สัญญาสิ้นสุดลงดังกล่าวโจทก์ได้นำเงินฝากประจำของจำเลยบางส่วนมาหักใช้หนี้โจทก์ อันเป็นการแสดงเจตนาใช้สิทธิตามที่ได้ตกลงกันไว้เพื่อระงับหนี้ที่มีอยู่แล้ว หนี้ที่เหลือโจทก์ก็ชอบที่จะนำเงินฝากประจำของจำเลยที่เหลือทั้งหมดมาหักใช้หนี้ หากมีหนี้คงเหลืออยู่อีกเท่าใด โจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในส่วนนั้นจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนดตามสัญญา แม้จะยังมิได้บอกเลิก
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือน ตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง.
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง.
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, การสิ้นสุดสัญญา, การละเมิด, การยินยอม, หนังสือบอกกล่าว
สัญญาที่สามีของจำเลยทำกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่จำต้องตอบแทนสิ่งใดให้แก่สามีของจำเลย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัว ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทต้องผูกพันในเรื่องการเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้กับสามีจำเลย เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงบังคับกันได้เพียง3 ปี
ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่เช่ามาจากเจ้าของเดิมแล้วให้จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยก็นำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่เดือนธันวาคม 2526 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์ไปรับค่าเช่าถึงเดือนธันวาคม 2527 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา พฤติการณ์ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไปโดยไม่ทักท้วงไม่ได้ และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่หลังจากครบกำหนดสัญญาเพียง 2 เดือนไปถึงจำเลยแจ้งให้ทราบว่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปพร้อมกับชำระค่าเสียหายให้ โดยส่งให้จำเลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปที่ตึกแถวพิพาทแต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยทราบข้อความในหนังสือดังกล่าวแล้วการที่จำเลยอยู่ในตึกแถวที่เช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเท่ากับเป็นการละเมิด หาใช่เป็นการอยู่โดยคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาไม่เช่นกัน โจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยอีก
ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่เช่ามาจากเจ้าของเดิมแล้วให้จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยก็นำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่เดือนธันวาคม 2526 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์ไปรับค่าเช่าถึงเดือนธันวาคม 2527 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา พฤติการณ์ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไปโดยไม่ทักท้วงไม่ได้ และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่หลังจากครบกำหนดสัญญาเพียง 2 เดือนไปถึงจำเลยแจ้งให้ทราบว่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปพร้อมกับชำระค่าเสียหายให้ โดยส่งให้จำเลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปที่ตึกแถวพิพาทแต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยทราบข้อความในหนังสือดังกล่าวแล้วการที่จำเลยอยู่ในตึกแถวที่เช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเท่ากับเป็นการละเมิด หาใช่เป็นการอยู่โดยคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาไม่เช่นกัน โจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5928/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์, การสิ้นสุดสัญญา, การยินยอมโดยปริยาย, การละเมิด, สิทธิหน้าที่ของผู้รับโอน
สัญญาที่สามีของจำเลยทำกับเจ้าของตึกแถวพิพาทเดิม เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่า โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่จำต้องตอบแทนสิ่งใดให้แก่สามีของจำเลย แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัว ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทต้องผูกพันในเรื่องการเช่าที่เจ้าของเดิมทำไว้กับสามีจำเลย เมื่อสัญญาเช่าดังกล่าวไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงบังคับกันได้เพียง3 ปี ก่อนครบกำหนดสัญญา โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าได้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่เช่ามาจากเจ้าของเดิมแล้วให้จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์ จำเลยก็นำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลางตั้งแต่เดือนธันวาคม 2526 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2528 โจทก์ไปรับค่าเช่าถึงเดือนธันวาคม 2527 อันเป็นวันสิ้นสุดสัญญา พฤติการณ์ถือว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไปโดยไม่ทักท้วงไม่ได้ และโจทก์ให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่หลังจากครบกำหนดสัญญาเพียง 2 เดือนไปถึงจำเลยแจ้งให้ทราบว่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ต่อไป ให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปพร้อมกับชำระค่าเสียหายให้ โดยส่งให้จำเลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปที่ตึกแถวพิพาทแต่จำเลยไม่ยอมรับ ถือว่าจำเลยทราบข้อความในหนังสือดังกล่าวแล้วการที่จำเลยอยู่ในตึกแถวที่เช่าภายหลังครบกำหนดสัญญาเช่าเท่ากับเป็นการละเมิด หาใช่เป็นการอยู่โดยคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาไม่เช่นกัน โจทก์ไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวถึงจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วงเงินจำนองครอบคลุมดอกเบี้ยหรือไม่? สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด?
วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้น หาได้รวมถึงหนี้ดอกเบี้ยด้วยไม่ ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป